SEAC ชู “Outward Mindset” วิธีคิดที่ทำให้ “คุณ” และ “องค์กร” ปลดล็อคเร่งสร้างความสำเร็จ ฝ่าฟันวิกฤตและเข้าใจกันมากขึ้น

  • แนวคิดที่เข้ามาช่วยให้ SEAC ฝ่าฟันวิกฤต และกลับมองว่ายิ่งมีวิกฤต ยิ่งทำให้แข็งแกร่งได้ คือ Outward Mindset ที่ช่วยทำให้พนักงานในองค์กรทุกคนร่วมกันผนึกกำลัง ร่วมกันทำงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมองเห็นเป้าหมายเดียวกันคือเป้าหมายขององค์กร ช่วยกันปลดล็อคศักยภาพที่มีอยู่และเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการได้อย่างยั่งยืน
  • Outward Mindset เป็นหลักสูตรที่มีต้นกำเนิดจาก ดร. เทอรี่ วอร์เนอร์ (Dr. Terry C. Warner) ผู้ก่อตั้งสถาบัน Arbinger Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วที่ SEAC เป็นเพียงองค์กรเดียวในประเทศไทยที่ได้ลิขสิทธิ์ นำหลักสูตร Outward Mindset เข้ามาสอนอย่างเป็นทางการ  ซึ่งหลักสูตรนี้ได้รับการเผยแพร่มาแล้วกว่า 20 ประเทศทั่วโลกและเป็นแนวคิดที่หลากหลายองค์กรทั่วโลกได้ให้ความสนใจ และนำมาใช้ อาทิ Apple, IBM, Google, Harley-Davidson Motor Company, Nestle, Intel, Nokia, Panasonic, Nike, Unilever, Microsoft, FedEx, Boeing และ Shell เป็นต้น
  • Food Passion และ AP Thailand คือสองกรณีศึกษาตัวอย่างสำหรับองค์กรไทยที่ได้ประยุกต์ใช้ Outward Mindset อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในเหตุการณ์ปกติ และช่วงวิกฤต

องค์ดาไลลามะ เคยกล่าวไว้ว่า “The more compassionate our mind, the more we’ll be able to lead our lives” หรือการมองตัวเรา มองคนอื่น จะนำความสมานฉันท์และทำให้ตัวเราสามารถใช้ชีวิต ไลฟสไตล์ และทำงานได้อย่างเป็นสุข นั้นคือ คีย์เวิร์ดแห่งความสุข หรือ “Mindset – มายด์เซต”

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “สำหรับช่วงวิกฤตที่ผ่านมา หลากหลายองค์กรต้องโอบกอดสภาวะความไม่แน่นอนเอาไว้ และไม่รู้ว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เมื่อไร SEAC ในฐานะผู้นำด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรามีพันธกิจ EMPOWER LIVES THROUGH LEARNING เร่งสร้างทักษะผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ ย้ำเสมอว่า ธุรกิจจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มที่ “คน” เพราะคนคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องลงให้ลึกถึงราก โดยการสร้างมุมมองความคิดแบบร่วมกันทำงาน แบบ Collaboration มองเห็นเป้าหมายเดียวกันคือเป้าหมายขององค์กร หรือที่เราเรียกว่า มุมมองแบบ Outward Mindset หนึ่งในซิกเนเจอร์คอร์สของ SEAC ที่ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือประสายรอยร้าว ให้องค์กรสามารถฝ่าฟันวิกฤต และกลับมามองว่าวิกฤตยิ่งสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น สิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนัก คือ เราต้องลดช่องว่างของความไม่เข้าใจ (Empathy Gap) คนในองค์กรต้อง กล้าคิด ไม่กลัวโดนกล่าวโทษกล้าลองอะไรใหม่ กล้าผิดพลาด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแบบองค์รวม แม้การเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่สุดท้ายเราก็ได้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”

Empathy Gap ช่องว่างของความไม่เข้าใจ

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง “คน” ทั้งในสังคมและองค์กรล้วนเกิดจาก Empathy Gap ช่องว่างที่ทำให้คนเรายากที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยเหตุผลที่ว่า เราไม่เห็นด้วยหรือรู้สึกเช่นเดียวกันกับเขาเพราะไม่เคยมีประสบการณ์แบบเดียวกันกับเขามาก่อน จึงทำให้เราจินตนาการไม่ออกว่าทำไมเขาต้องทำหรือรู้สึกแบบนั้น แล้วถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไร แน่นอนว่า แม้แต่คนที่ฉลาด รอบคอบ ซื่อสัตย์ บางครั้งก็ตัดสินใจผิดพลาดได้ เมื่ออยู่ในสภาวะอารมณ์ ที่ไม่ปกติ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ เราต้องมีความคิดที่ว่า จริงๆ แล้วเราไม่สามารถบังคับหรือเปลี่ยนใครได้ สิ่งที่เราเปลี่ยนได้คือมุมมองและวิธีคิดของเราเท่านั้น หรือที่เราเรียกว่า มุมมอง “Outward Mindset – เอาท์เวิร์ด มายด์เซต” กับการเปลี่ยนวิธีมอง มองในมุมของคนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา และเห็นเรื่องราวต่างไป

กรณีศึกษา Outward Mindset จากบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด

จากครอบครัวเล็กๆ สู่อาณาจักรที่รวบรวมคนกว่า 4,000 ชีวิต ต้องพูดเลยว่ามันไม่ง่ายเมื่อการดำเนินธุรกิจต้องมาสะดุด หากมองย้อนกลับไป ฟู้ดแพชชั่น คือหนึ่งในองค์กรที่มีเป้าหมายต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีผลบวกกับชีวิตคนในวงกว้าง และแนวทางการบริหารธุรกิจด้วยแนวคิด องค์กรแห่งความสุขที่ให้ความสำคัญกับคน ผ่านการรณรงค์แนวคิด Outward Mindset มาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าช่วงวิกฤตที่ผ่านมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสำหรับฟู้ดแพชชั่น  หากแต่หัวใจหลักที่ บริษัทฯ ทำและยึดคือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือหันหน้าเข้ามาคุยกันให้มากขึ้น โดยฟู้ดแพชชั่น มีการรวมทีมทำงานแบบ SCRUM เพื่อคิดกลยุทธ์การตลาดถึง 16 โปรเจคใน 2 เดือน จากแผนเดิมที่จะทำโปรเจคเหล่านี้ใน 2 ปี โดยมีสิ่งที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้การทำงานแบบนี้สำเร็จคือ Outward Mindset เพื่อสร้าง Strong Collective Teamwork เพราะพื้นฐานของการสร้างทีมเวิร์คที่แข็งแรงคือการมี Mindset ที่ถูกต้อง ไม่โยนปัญหาหรือชี้นิ้วใส่กัน สงสัยอะไรหรือ อยากเสนออะไรให้ยกมือถาม ทำให้ลดความไม่เข้าใจ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เปิดโอกาสให้ลูกน้องเป็นคนตัดสินใจได้ทันที กล้าคิด กล้าลงมือ ทำให้เกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น มุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ขององค์กรคือการเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ

กรณีศึกษา Outward Mindset จากเอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน)

AP ทำธุรกิจมาแล้วกว่า 29 ปี ซึ่งนับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมานับครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งวิกฤตดอตคอม วิกฤตซับไพรม์ รวมถึงวิกฤต COVID ปีนี้ แม้จะต้องยอมรับว่าวิกฤตเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบไม่มากก็น้อย ต่อทุกภาคธุรกิจ แต่การที่ AP THAILAND หนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับต้นๆ ของประเทศสามารถปรับตัวและเตรียมตั้งรับกับวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จนส่งให้วันนี้เติบโตได้อย่างโดดเด่นนั้น ส่วนสำคัญมาจากการนำแนวคิด Outward Mindset มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจาก CEO และผู้บริหารระดับสูง  ก่อนที่จะกระจายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานกว่า 2,000 คน ซึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญคือการเปลี่ยน Mindset และเข้าใจ Behavior ของคน เมื่อเราไม่ได้มองจากแค่ตัวเอง แต่มองจากมุมมองของคนคนนั้นที่เราทำงานด้วยจริงๆ ค้นหาและทำความเข้าใจ ว่าจุดมุ่งหมายของเขาคืออะไร ปัญหาและอุปสรรคที่เค้ากำลังเผชิญคืออะไร และเมื่อเราเปลี่ยนมุมมองความคิด และเข้าใจกันและกันมากขึ้น ก็ทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในที่สุด ควบคู่ไปกับการที่ AP ให้อิสระในการดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่สอนให้ทุกคนเป็น Independent Responsible Leaders โดยมีเป้าหมายองค์กร EMPOWER LIVING เป็นเหมือนเข็มทิศให้พนักงานทุกคนใช้เป็นหลักยึดในการดำเนินงาน Outward Mindset ไม่ได้ทำให้พนักงานทำงานดีขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ช่วยทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น และสามารถช่วยให้การทรานฟอร์มองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด

“ในภาพองค์กร หลายๆ ครั้งเราพยายามมุ่งไปหาผลลัพธ์ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว และเมื่อเราแก้ไขปัญหาผิดจุดอาจทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ช้า หรืออาจจะไปได้ไม่ถึง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางครั้งคนที่ลงมือขับเคลื่อน มุ่งหน้าทำอะไรบางอย่างเพื่อไปหาเป้าหมายนั้นไม่ได้มีใจอยากทำ เสมือนว่าเป็นการทำ เพราะต้องทำหรือโดนบังคับ SEAC เล็งเห็นว่าการเสริมทักษะ Essential Skills จะเป็นตัวเสริมความแข็งแกร่ง ขององค์กรในทุกๆ มิติ เพราะการขับเคลื่อนองค์กรไม่สามารถใช้เพียงแค่ทักษะเชิงเทคนิคได้ แต่ต้องเสริมด้วย เรื่องของมายด์เซตหรือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ หากมีมายด์เซทที่ถูกต้อง จะทำให้คนปรับมุมมองเปลี่ยนวิธีการคิดทำให้เขาเข้าใจว่าบทบาทหน้าที่ของเขามีความสำคัญอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อทั้งตนเองและคนรอบข้าง และพร้อมมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเพราะมีใจอยากทำ และ Outward Mindset คือหลักสูตรที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยปลดล็อคปมความขัดแย้ง เร่งสร้างความสำเร็จ ฝ่าฟันวิกฤตและสร้างความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน” นางอริญญา กล่าวสรุป

SEAC เตรียมเปิดตัว The Most Important Move Campaign เพื่อเชิญคุณเข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งคนที่จะมีโอกาสได้ค้นหาและสัมผัสพลังของหลักสูตร Outward Mindset จากที่มีผู้เข้าร่วมเรียน และรับประสบการณ์แล้ว หลายหมื่นชีวิตในเมืองไทย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้ที่ https://www.facebook.com/seasiacenter