นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดตั้งแต่ ปี 2563 จนถึงปัจจุบันนำมาซึ่งวิถีชีวิตปกติใหม่ที่อยู่บนความไม่แน่นอน ส่งผลทำให้ “คน” และ “องค์กร” ต้องตื่นรู้และปรับตัว พร้อมยกระดับขีดความสามารถให้พร้อมรับมือกับผลกระทบดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา”
“6 ปีที่ผ่านมา เมื่อเอไอเอสประกาศวิสัยทัศน์สู่การเป็น Digital Life Service Provider สิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดคือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นปลูกจิตสำนึกถึงการนำนวัตกรรมมาใช้ทั้งในแง่ของการปรับรูปแบบการทำงานและวิธีคิดของพนักงาน รวมถึงการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดซึ่งกันและกันผ่าน Digital Platform ก่อให้เกิดขีดความสามารถรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองโลกในยุค Digitalization นำไปสู่ผลงานที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในท้ายที่สุด”
โดยนางสาวกานติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตัวอย่างผลงานจากวิสัยทัศน์ดังกล่าว อาทิ การบริหารจัดการองค์ความรู้ หรือ Knowledge Management ผ่าน Digital Platform ในชื่อ LearnDi ที่เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้และขับเคลื่อน Innovation Culture ภายในองค์กร, การเปิดเวทีให้พนักงานได้นำเสนอ New Business ที่ใช้เทคโนโลยีมาแก้ Pain point ในลักษณะของ Internal Start Up ในชื่อ โครงการ InnoJUMP ซึ่งสามารถนำไอเดียไปสู่การสร้างธุรกิจได้จริง อาทิ โครงการรถโรงเรียนอัจฉริยะ – School Van Clever, โครงการ Academy For Thais ภารกิจคิดเผื่อเพื่อคนไทย ที่ส่งต่อแนวคิดและองค์ความรู้ไปสู่คนไทยให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจากกระแส Digital Transformation ผ่านเวทีสัมนาและ Digital Platform รวมถึง “โครงการเรียนรู้จากเคยล้ม” ที่ส่งเสริมให้พนักงานใช้บทเรียนจากความผิดพลาดเป็นการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้นอกจากจะทำให้เกิด Economic Value แล้ว ยังก่อให้เกิดการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะของ Innovation Organization อย่างชัดเจนอีกด้วย”
จึงเป็นที่มาของการได้รับรางวัลอันทรงเกียรติระดับชาติและระดับโลก “Thailand Mike Award 2020” และ “Global Mike Award 2020” ของเอไอเอส ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทยที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นบทพิสูจน์ว่าเอไอเอสเป็นองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และไม่หยุดยั้งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามายกระดับการบริหารจัดการองค์กร พร้อมสร้างคุณค่าในด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับรางวัล MIKE Award มีเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน 2 หมวด 8 มิติย่อย ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนี้
หมวดที่ 1 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้านความยั่งยืน อาทิ องค์กรต้องพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี องค์กรต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง องค์กรมีความพร้อมที่จะพัฒนาสินค้าและบริการอยู่เสมอ รวมทั้งพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีความคิดสร้างสรรค์
หมวดที่ 2 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้านนวัตกรรม ประกอบด้วย ต้องพัฒนาสินค้าและบริการ หรือสร้างธุรกิจใหม่อยู่เสมอ มีผลประกอบการ รายได้ และยอดขายดี สามารถชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าได้ มีรางวัลแห่งความภูมิใจและประกาศเกียรติคุณการันตี เป็นต้น
สำหรับกรรมการตัดสิน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 กลุ่ม ได้แก่
- ผู้บริหารขององค์กรที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในรายชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่งทั่วโลกจากนิตยสารฟอร์จูน 500 (Fortune 500)
- ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM การเรียนรู้ ทุนทางปัญญา องค์กรแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม ทั่วทุกมุมโลก
“ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวเอไอเอสที่องค์กรระดับโลกให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการบริหารจัดการองค์ความรู้ โดยที่ผ่านมา นอกจากการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรแล้ว เอไอเอสยังเน้นการส่งต่อองค์ความรู้และขีดความสามารถให้แก่คนไทยควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “ภารกิจคิดเผื่อ” เพราะเชื่อว่า องค์ความรู้ เป็นอาวุธสำคัญที่จะยกระดับและขีดความสามารถของคนไทยให้พร้อมต่อการนำพาประเทศเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป”