บ้านปู เพาเวอร์เผยผลประกอบการปี 2563 ย้ำความสำเร็จด้วยกำลังผลิตเพิ่ม 427 เมกะวัตต์ มุ่งขยายพอร์ตอย่างสมดุลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

  • กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากการจ่ายไฟต่อเนื่องของโรงไฟฟ้าเอชพีซีและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 
  • แผนธุรกิจ 5 ปี เน้นเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า มุ่งลงทุนโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วและขยายพอร์ตพลังงานสะอาดรองรับเทรนด์แห่งโลกอนาคต 
  • กำลังผลิตปัจจุบันรวม 2,856 MWe พร้อมขยายสู่เป้า 5,300 MWe ในปี 2568 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกา ด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ 

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการดำเนินงานอย่างมีเสถียรภาพของโรงไฟฟ้าเอชพีซีและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power: CHP) ในจีน และผลจากการดำเนินมาตรการลดต้นทุนในทุกส่วนของการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ พร้อมขยายกำลังผลิตจาก 2,856 เมกะวัตต์เทียบเท่าในปัจจุปัน สู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่าภายในปี 2568 ด้วย ยุทธศาสตร์หลักและแผนธุรกิจ ปี

ในปี 2563 บ้านปู เพาเวอร์ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตเพิ่มอีก 427 เมกะวัตต์ ซึ่งจะรับรู้รายได้เต็มปีในปีนี้ จากทั้งการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki) การเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานลมเอลวินหมุยยิน (El Wind Mui Dinh) ในเวียดนามที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว และการก่อสร้างแล้วเสร็จของโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (Shanxi Lu Guang: SLGในจีน กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 396 เมกะวัตต์ โดยในปัจจุบัน SLG อยู่ในระหว่างการทดสอบความพร้อมเพื่อเตรียมการจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ โดยหน่วยผลิตที่ ได้เริ่มจ่ายไอน้ำให้ชุมชนเมืองฉางจื้อ (Changzhi) ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้าฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเตรียมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าในปี 2564 ตามแผน ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคนเซนนุมะ (Kesennuma) และชิราคาวะ (Shirakawa) ในญี่ปุ่น กำลังผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมหวินเจา (Vinh Chau) ระยะที่ 1 ในเวียดนาม กำลังผลิต 30 เมกะวัตต์ 

เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังผลิต 5,300 เมกะวัตต์ในอีก ปีข้างหน้า บ้านปู เพาเวอร์จะเดินหน้าด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1) ผนึกพลังร่วมภายในกลุ่มบ้านปู ใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางธุรกิจของบ้านปู (Banpu Ecosystemในการเข้าถึงเทคโนโลยี ฐานลูกค้าและคู่ค้า และแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านพลังงานอย่างไร้รอยต่อ เช่น การต่อยอดธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Energy Trading) และธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานในประเทศที่มีศักยภาพ 2) มุ่งแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูง โดยเน้นการลงทุนในโครงการที่ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วที่สามารถสร้างกระแสเงินสดทันที กับการลงทุนในโครงการที่ใกล้จะแล้วเสร็จ (Brownfield) และ 3) ผลักดันการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงานผ่านการลงทุนในบ้านปู เน็กซ์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ และนำนวัตกรรมมาต่อยอดพัฒนากระบวนการผลิตไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ต่อไป 

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “5 ปีต่อจากนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบริหารต้นทุนของโรงไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเดินเครื่องจ่ายไฟได้ตามเป้าหมาย พร้อมเดินตามกลยุทธ์ Greener & Smarter เน้นการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วและโครงการที่ใกล้จะแล้วเสร็จ (Brownfield) ที่มีการใช้เทคโนโลยี High Efficiency, Low Emissions (HELE) เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปในประเทศที่กลุ่มบ้านปูดำเนินธุรกิจอยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาการลงทุนในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) รวมไปถึงการหาพันธมิตรร่วมลงทุนซึ่งสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดของโรงไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในครึ่งแรกของปีนี้ นอกจากนี้ บ้านปู เพาเวอร์ ยังมุ่งสร้างการเติบโตในพอร์ตพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานผ่านบ้านปู เน็กซ์  เตรียมเพิ่มกำลังผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 100 เมกะวัตต์ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขยายกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนถึง 800 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 โดยมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการ (Due Diligence) อย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งบ้านปู เพาเวอร์ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอยู่แล้ว รวมถึงมองหาโอกาสเพิ่มเติมในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงและเป็นแหล่งดำเนินธุรกิจพลังงานของกลุ่มบ้านปู เช่น สหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทั้งหมดนี้ เพื่อให้บ้านปู เพาเวอร์สามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง

“การที่หุ้น BPP ได้เข้าคำนวนในดัชนี MSCI GLOBAL SMALL CAP INDEX เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งและการเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง นอกจากนี้ อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net Debt to Equity: Net D/E) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ที่ 0.07 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเติบโตและความพร้อมสำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในอนาคต บ้านปู เพาเวอร์จะยกระดับและพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าด้วยจุดยืนการเป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน(We ARE Power for the Sustainable World) พร้อมผลักดันการเติบโตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าในบริบทที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพิ่มมูลค่าและสร้างผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างมั่นคง”  นายกิรณ กล่าวปิดท้าย

สำหรับปี 2563 บ้านปู เพาเวอร์มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 3,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปีก่อนหน้า และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 5,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ จาก ปีก่อนหน้า นอกจากนี้ บริษัทฯ กำหนดการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2563 งวดวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ในอัตราหุ้นละ 0.65 บาท คิดเป็นอัตราการจ่ายปันผลทั้งปีที่ร้อยละ 54 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน สะท้อนความสามารถในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ ณ วันที่ มีนาคม 2564

 

โรงไฟฟ้าและ

โครงการโรงไฟฟ้า

โครงการที่เปิดดำเนินการ
เชิงพาณิชย์ รวมถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟ

 

โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

จำนวน (แห่ง/โครงการ) 

30

25

5

กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน (เมกะวัตต์) 

2,856

2,750

106