โครงการยู-โซลาร์ของยูโอบีช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วอาเซียน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ถึง 1.3 ล้านต้น

โครงการยู-โซลาร์ของยูโอบี[1] ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์[2] ทั่วภูมิภาคอาเซียนเกือบ 160 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 77,200 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e)[3] หลังเปิดตัวโครงการไปได้เพียงปีเศษๆ เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนนี้เทียบเท่าการปลูกต้นไม้เกือบ 1.3 ล้านต้นในระยะเวลากว่า 10 ปี หรือลดการใช้รถยนต์ลงเกือบ 17,000 คันต่อปี[4]

โครงการยู-โซลาร์ คือแพลตฟอร์มที่สนับสนุนระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของเอเชีย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการนี้เปิดตัวแล้วในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยนำเสนอโซลูชันทางการเงินครบวงจรแก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อาทิ การบริหารเงินสด สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ และโซลูชันทางการเงินตามสัญญาซึ่งครอบคลุมในทุกเรื่องสำหรับผู้รับเหมางานวิศวกรรม จัดหา ก่อสร้าง และทดสอบ (EPCC)

นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบียังเสนอบริการผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยร้อยละศูนย์แก่เจ้าของบ้านที่เปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่านความร่วมมือกับผู้ให้บริการพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ในปี 2563 ธนาคารยูโอบีจับมือพันธมิตรด้าน EPCC อีก 3 แห่งเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรในโครงการยู-โซลาร์ ได้แก่ บริษัท PT Selaras Daya Utama ในอินโดนีเซีย บริษัท Pekat Solar Sdn Bhd ในมาเลเซีย และบริษัท BECIS-Symbior ในประเทศไทย รวมมีบริษัทเข้าร่วมโครงการแล้ว 14 แห่งทั่วภูมิภาค5 ซึ่งช่วยให้ธนาคารส่งต่อประโยชน์ของโครงการยู-โซลาร์แก่บริษัทและผู้บริโภคทั่วภูมิภาคอาเซียนได้มากขึ้น

นายเฟรดเดอริก ชิน รองประธาน กลุ่มธุรกิจ wholesale banking ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “การระบาดของโควิดทั่วโลกครั้งนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเราทุกคน ไม่ว่าจะในระดับประเทศ บริษัท ชุมชน หรือตัวบุคคล ที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่ธนาคารยูโอบีเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินในภูมิภาคนี้ เราตระหนักดีถึงบทบาทของเราที่มีต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เราจึงสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยผลักดันให้ภูมิภาคก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำยิ่งขึ้น โดยผ่านโครงการยู-โซลาร์ ธนาคารยูโอบี พร้อมพันธมิตรและลูกค้า ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ยั่งยื่นเพื่อภูมิภาคอาเซียนที่ดียิ่งขึ้น”

โครงการยู-โซลาร์เป็นส่วนหนึ่งของกรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะของยูโอบี6 (UOB Smart City Sustainable Finance Framework)  ซึ่งเป็นเกณฑ์การให้เงินทุนของธนาคารเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนทั่วภูมิภาค

โครงการยู-โซลาร์มีส่วนช่วยส่งเสริมวาระพลังงานทางเลือกของประเทศไทย

ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนเงินทุนผ่านโครงการยู-โซลาร์ แก่โครงการยักษ์ใหญ่สี่โครงการ ซึ่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ 74.5 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ณ สิ้นปี 2563 เทียบเท่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 33,755 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในภูมิภาคของโครงการยู-โซลาร์

หนึ่งในสินเชื่อที่อนุมัติผ่านโครงการนี้ คือ การอนุมัติสินเชื่อที่สูงเป็นประวัติการณ์จำนวน 1.26 พันล้านบาทเมื่อเดือนธันวาคม 2563 .ให้แก่บริษัท  BECIS-Symbior หนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในเอเชีย เพื่อดำเนินโครงการแผงโซลาร์เซลล์ โครงการนี้ถือเป็นสินเชื่อโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมมูลค่าสูงสุดในภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรมในประเทศไทย และได้รับรางวัล Best Green Loan ในประเทศไทย ในสาขา Sustainable Finance จาก The Asset Triple A Country Awards 2020

บริษัท BECIS-Symbior ยังเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรในโครงการยู-โซลาร์ที่ให้การส่งเสริมการเปลี่ยนมาสู่พลังงานแสงอาทิตย์ โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้โซลูชันพลังงานสะอาด และนำเสนอแพลตฟอร์มด้านบริการพลังงานแบบ energy-as-a-service (EaaS) ราคาประหยัดแก่ลูกค้ากลุ่มพาณิชย์และอุตสาหกรรม

นายฟลอเรียน เบนน์โฮลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ BECIS-Symbior กล่าวว่า “BECIS-Symbior ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยู-โซลาร์ ในฐานะพันธมิตรที่มีพันธกิจเดียวกันกับธนาคารยูโอบีในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน BECIS-Symbior ร่วมมือกับธนาคารยูโอบี เพื่อสนับสนุนลูกค้าและส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาค  ช่วยให้ลูกค้าลดพิมพ์เขียวสิ่งแวดล้อม และยังทำกำไรได้ ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมของยูโอบี”

นายแอนดี้ เฉี่ย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจ wholesale banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เสริมว่า “รัฐบาลไทยออกมาตรการในระดับนโยบายเพื่อสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความพยายามด้านความยั่งยืนของประเทศ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ความตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเชื่อว่าโครงการยู-โซลาร์จะช่วยพัฒนาพลังงานทางเลือก ตามแผนระยะยาวของประเทศ ซึ่งตั้งเป้าที่ร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2579”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการยู-โซลาร์ได้ที่ www.UOBgroup.com/U-Solar

[1] ข่าวประชาสัมพันธ์ของธนาคารยูโอบี: “UOB launches U-Solar, Asia’s first solar industry ecosystem to power the development and adoption of renewable energy”, 22 ตุลาคม 2562

[2] ที่มา: ข้อมูลของธนาคารยูโอบี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563

[3] ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) คือหน่วยมาตรฐานในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

[4] ตามการคำนวณโดยใช้ United States Environmental Protection Agency’s Greenhouse Gas Equivalencies Calculator

5พันธมิตรอื่นในโครงการยู-โซลาร์ ได้แก่ บริษัท TML Energy (อินโดนีเซีย) บริษัท Ditrolic Solar บริษัท ERS Energy บริษัท PlusSolar และบริษัท Solarvest (มาเลเซีย) บริษัท SolarGy บริษัท SolarPVExchange และบริษัท Sunseap Group (สิงคโปร์) และบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด และบริษัท เค.จี. โซล่า จำกัด (ประเทศไทย)