ภายในงาน Mobile World Congress (MWC 2021) ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่
คณะกรรมการต่างได้ให้ความเห็นถึงสถานการณ์ที่ไม่ปกติของปี พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นผลมาจากโรคระบาดโควิด-19 รวมไปถึงการที่เทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามาช่วยรับมือและฟื้นฟูวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งระบบสาธารณสุขอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี 5G นั้นมีบทบาทต่อการรับมือกับวิกฤตินี้อย่างมาก รวมไปถึงความสามารถในการช่วยจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อ ส่งผลให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ และภาคอุตสาหกรรมกลับมาเดินหน้าการผลิตได้อีกครั้ง โรงพยาบาล China-Japan Friendship Hospital นั้นถือเป็นโรงพยาบาลแรก ๆ ที่ทดลองนำเครือข่าย 5G มาใช้งาน และเป็นแห่งแรกที่สามารถรับสัญญาณ 5G จากเครือข่ายต่าง ๆ เช่น China Telecom, China Mobile และ China Unicom ภายในอาคารได้ ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการเดินหน้าประยุกต์ใช้ระบบบริการโทรเวชกรรมที่ใช้เทคโนโลยี 5G
โรงพยาบาล China-Japan Friendship Hospital ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G มาพัฒนาการให้บริการผู้ป่วย และทำให้แพทย์ห้องฉุกเฉิน และโรงพยาบาลอื่น ๆ สามารถตรวจผู้ป่วยจากทางไกลได้ เข้าถึงเครือข่ายโรงพยาบาลทั่วประเทศจีนมากกว่า 5,000 แห่ง หลายโรงพยาบาลมีการนำระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกลผ่านเทคโนโลยี 5G นี้ไปใช้ เพื่อการตรวจทางไกล การตรวจแบบ CT Scans การตรวจอัลตราซาวด์ประเภท Type-B รวมถึงช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันระบบสาธารณสุขอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี 5G นี้ ได้รับการพัฒนาร่วมกับหัวเว่ย และถือเป็น ส่วนสำคัญในการต่อสู้กับโรคระบาดนี้
“เทคโนโลยี 5G ช่วยผลักดันและเสริมศักยภาพระบบสาธารณสุขอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็ว ด้วยแอปพลิเคชัน AI ที่ใช้ 5G เป็นรากฐาน โดยระบบสาธารณสุขอัจฉริยะนี้ช่วยให้เราต่อสู้กับการแพร่ระบาดได้ด้วยการรักษาพยาบาลทางไกลที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังมีบทบาทสำคัญสำหรับการจัดการปัญหาด้านการแจกจ่ายทรัพยากรการแพทย์ที่ยังไม่สมดุล พร้อมปรับปรุงความแม่นยำของการวินิจัย และเสริมประสิทธิภาพด้านการสาธารณสุข” นายลู่ ชิงจวิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแห่งโรงพยาบาล China – Japan Friendship Hospital และผู้อำนวยการศูนย์การรักษาพยาบาลทางไกลและระบบสาธารณสุขอัจฉริยะแห่งชาติกล่าว
นายมาร์วิน เฉิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ Huawei DIS กล่าวว่า “เทคโนโลยี 5G จะได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในภาคสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลกว่า 700 แห่งในประเทศจีนเริ่มนำเทคโนโลยี 5G มาใช้และดำเนินโครงการนำร่องต่าง ๆ หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์แล้ว นอกจากนี้ การติดตั้งโมดูล 5G เข้ากับอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งการผสานโมดูล 5G เหล่านั้นเข้ากับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ทำให้เกิดการให้บริการ 5G หลากรูปแบบในโรงพยาบาลหลายแห่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชัน 5G ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมสาธารณสุขเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน 5G ที่ช่วยรับมือกับการแพร่ระบาดและสร้างคุณค่าจากเทคโนโลยี 5G ต่อไป”
งานมอบรางวัล Global Mobile ประจำปี หรือ GLOMO จัดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย แบ่งออกเป็นหลายหมวด ทั้งหมวดเทคโนโลยีไร้สาย (Mobile Technology), หมวดการเชื่อมต่อผู้บริโภค (Connected Consumer), หมวด Industry X และหมวด Tech4Good โดยมีคณะกรรมการอิสระกว่า 250 ท่านจากทั่วโลกได้มีส่วนร่วมในกระบวนการมอบรางวัล ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ นักวิเคราะห์ นักข่าว นักวิชาการ และในบางกรณียังมีผู้แทนจากผู้ให้บริการโครงข่ายมือถืออีกด้วย