รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ RISC by MQDC ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกชีวิต หรือ ‘For All Well-Being’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ลูกบ้าน แต่รวมถึงสังคมโดยรวม จึงร่วมกับกลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) พันธมิตรด้าน งานระบบและวิศวกรรมทั้งระดับชาติและนานาชาติ ในการพัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรม “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” นำร่องติดตั้งที่โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยในสถาณการณ์ โควิด-19 ที่กำลังระบาดหนัก โดยเน้นคุณภาพอากาศเทียบเท่าห้องผ่าตัด ทั้งนี้ทุกชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และสามารถติดตั้งภายนอกอาคาร โรงพยาบาลสนาม หรือ ส่วนต่อเติมที่ใกล้ห้องฉุกเฉิน (ER) เพื่อรองรับการเข็นเตียงผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้าใช้งาน
“ด้วยความตั้งใจของ RISC by MQDC และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี มาร่วมสร้างประโยชน์เพื่อสังคม โดยเล็งเห็นถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลทำให้ทีมแพทย์และพยาบาลประสบปัญหาพื้นที่ปลอดภัยในการทำงานไม่เพียงพอ ขาดแคลนห้อง ER หรือห้องรักษาผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการทำหัตถการ เราจึงคิดว่า ห้องที่สามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน รองรับการทำหัตถการฉุกเฉินที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง) สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนห้อง ER และช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อรองรับและสร้างความปลอดภัย ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในพื้นที่จำกัดให้กับบุคลากรด่านหน้า
RISC by MQDC จึงได้ร่วมมือกับ EEC บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านงานระบบอาคาร เพื่อสร้างสรรค์ “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” ให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้ระบบปรับคุณภาพอากาศแบบไหลทางเดียว ลดการแพร่กระจายเชื้อ จึงเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ป่วยและบรรเทาปัญหาความไม่เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการทำหัตถการอย่างปลอดภัย
ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ได้รับการออกแบบทุกส่วนตามหลักสุขภาวะที่ดี (Health and Well-being) สร้างความปลอดภัยด้วยระบบปรับการไหลของอากาศภายในห้อง รวมถึงการออกแบบที่อนุรักษ์พลังงานและยืนหยุ่นต่อการใช้งาน สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีการใช้หลักการออกแบบเพื่อสุขภาพจิตที่ดีผนวกเข้าไปกับส่วนผนังภายนอกของห้อง เพื่อช่วยผ่อนคลายผู้ป่วยที่รอรับการตรวจ ด้วยการใช้แสงสีฟ้า ในการช่วยลดความเครียดลงได้เร็วกว่าแสงสีขาวถึง 3 เท่าให้แก่ผู้ป่วย ถือเป็นการช่วยลดความเครียดให้กับทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ที่สัญจรผ่านไปมาอีกด้วย ” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว
“ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” ได้มีการพัฒนาโดย RISC by MQDC ร่วมกับ EEC ออกแบบห้องฉุกเฉินความดันลบ 12 Pa (*ข้อกำหนดขั้นต่ำของห้องความดันลบ 7.5 Pa) ทางเข้าของแพทย์ (Anteroom) เตรียมความดันลบที่ 5 Pa เพื่อทำให้อากาศภายในห้องที่มีผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ไม่ไหลออกสู่ภายนอก ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ภายในห้องได้มีการออกแบบแยกพื้นที่ให้มีความดันลบต่างกัน แยกทางเข้า-ออก เป็นทางเดียว (one-way route) เพื่อลดทั้งโอกาสการติดเชื้อ และลดการแพร่เชื้อสู่ส่วนต่างๆ ของห้อง
นอกจากนั้น ยังได้ทำการออกแบบงานระบบให้มีการดูดอากาศออกไปโดยตรงจากผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดภายในห้อง โดยผ่าน HEPA Filter กรองอากาศและกักเชื้อก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ทำให้ปลอดภัยทั้งภายในและบริเวณโดยรอบ และมีการเติมอากาศบริสุทธิ์ (100% Fresh air) เข้าสู่ห้อง เพื่อทำให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศใหม่ตลอดเวลา ไม่ใช้อากาศเดิมหมุนเวียนในห้อง และเป็นระบบปรับอากาศที่มีการควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ โดยแยกแต่ละพื้นที่ ดังนี้
- พื้นที่ทางเข้าของแพทย์เพื่อเตรียมเข้าห้อง (Anteroom) ออกแบบระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 10 รอบต่อชั่วโมง (10 Air changes/hour)
- ส่วนหัตถการ มีการออกแบบระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 13 รอบต่อชั่วโมง (13 Air changes/hour)
*มาตรฐานด้านการแพทย์กำหนดขั้นต่ำของห้อง ER ระบบอัตราการถ่ายเทเปลี่ยนอากาศ 12 รอบต่อชั่วโมง (12 Air changes/hour)
ส่วนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของตัวห้อง ได้มีการออกแบบโดยคำนึงถึงการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบนพื้นผิวของห้องและการอนุรักษ์พลังงาน การใช้งานได้ตรงตามพฤติกรรม ออกแบบตามหลักด้านสุขอนามัย และมีความยืดหยุ่นต่อการประกอบติดตั้ง ใช้พื้นที่น้อย มีความคล่องตัวในการขนย้าย
ภายในห้องมีรายละเอียด ดังนี้
- ผนัง ISO WALL มีพื้นผิวผนังไม่เอื้อต่อการเกิดเชื้อราและทำความสะอาดง่าย
- ประตูทั้งหมดเป็น Seal door ป้องกันการรั่วไหลของอากาศ เพื่อความปลอดภัยบริเวณโดยรอบ ขนาดประตูหลักกว้างเหมาะสมสำหรับรถเข็นและการขนย้ายอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ขนาดห้องวางเตียงผู้ป่วยได้ 1 เตียง และรองรับทำหัตถการฉุกเฉิน ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง)
- พื้นห้องปูกระเบื้องยาง ตามมาตรฐานห้อง Clean room
- ไฟแสงสว่างภายในห้อง เลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง 4000K และติดตั้งไฟในตำแหน่งทำหัตถการ
- พื้นผิวภายในห้องเน้นสีขาวเพื่อสร้างการสะท้อนเพิ่มความสว่างภายในห้อง แพทย์ทำการรักษาและทำหัตถการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และดูสะอาด มองเห็นสิ่งผิดปกติในห้องได้ง่าย
ภายนอกห้องมีรายละเอียด ดังนี้
- ผนัง ISO WALL ติดตั้งฉนวนโพลิยูริเธนชนิดกันไฟลาม ความหนา 2 นิ้ว เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก และป้องกันการรั่วซึมของอากาศ (Air leakage protection) เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้อง
- ห้องสามารถนำไปวางพื้นที่ภายนอกได้ กันแดด กันฝน
- ห้องทุกชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
- ห้องออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัด เพื่อใช้ได้ทุกสถานที่ แม้จะมีพื้นที่กำจัด
- ผนังห้องภายนอกเปลี่ยนสีของแสงได้ตามช่วงเวลา เพื่อผ่อนคลายและให้ความสว่างโดยรอบ
RISC by MQDC ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ จากการออกแบบผนังห้องภายนอกให้มีการเปลี่ยนสีได้ตามเวลา ช่วงกลางคืนเปิดไฟโทนสีอุ่น (Warm white) และช่วงกลางวันเปิดไฟสีโทนฟ้า (Blue Light) ในช่วงความยาวคลื่น 470-480 นาโนเมตร จากผลงานวิจัย พบว่า แสงสีฟ้าช่วยลดความเครียดได้เร็วกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับแสงสีขาว และยังกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex: PFC) ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการ กำกับความคิด อารมณ์ และสร้างความผ่อนคลายโดยตรง
นายเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) กล่าวว่า “EEC ได้ร่วมมือกับ RISC by MQDC ในการพัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรม “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ” แห่งแรก และติดตั้งที่โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในฐานะบริษัทชั้นแนวหน้าด้านวิศวกรรมทั้งระดับชาติและนานาชาติ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมพัฒนาให้เกิด ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air ที่จะเป็นส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ และช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
EEC ได้เข้ามามีส่วนในการช่วยออกแบบและงานด้านวิศวกรรมของ “ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” โดยมีขนาดตัวห้อง กว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.00 เมตร สูง 2.75 เมตร หรือขนาดพื้นที่ห้อง 15.00 ตารางเมตร สามารถวางเตียงผู้ป่วยได้ 1 เตียง และรองรับทำหัตถการฉุกเฉิน ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผู้ป่วยสีแดง) มีการออกแบบแบ่งแยกพื้นที่และทิศทางเข้าออกอย่างชัดเจนของผู้ป่วยและบุคลากร พร้อมทั้ง Anteroom ก่อนเข้าพื้นที่และก่อนออกจากพื้นที่ที่ควบคุมแรงดับลบ (Negative Pressure) พร้อมระบบประตู Seal Door เพื่อป้องกันการรั่วไหลเชื้อออกสู่ภายนอก ระบบปรับอากาศในพื้นที่ถูกออกแบบเป็นระบบ 100% Fresh Air (ไม่ใช้อากาศเดิมหมุนวนในห้อง) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาดโดยผ่าน HEPA FILTER ที่มีการจ่ายอากาศภายในห้องแบบ Uni-Directional Air Flow เพื่อควบคุมทิศทางการไหลอากาศในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรฯขณะทำการรักษา และมีระบบระบายอากาศเสียจากตัวผู้ป่วยโดยตรงที่บริเวณหัวเตียงผู้ป่วยโดยนำไปผ่านการกรองด้วย HEPA FILTER และฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปทิ้งสู่ภายนอก เพื่อความปลอดภัยสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบอีกด้วย” นายเกชา กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถรับชมวิดีโอบอกเล่าเรื่องราวของ“ห้องฉุกเฉินความดับลบ (Negative Pressure ER) 100% Fresh Air” เพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/file/d/1w6mbLh8bju-UQBFXT1n11GxcLpuu5Jy9/view?usp=drivesdk