Media OutReach เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทด้านโภชนาการชั้นนำของโลก เผยผลสำรวจด้านความเฉื่อยของสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก หัวข้อ Asia Pacific Health Inertia Surveyประจำปี 2564 โดยเผยว่าผู้บริโภคจำนวน 6 ใน 10 คนในภูมิภาคนี้ระบุว่าสุขภาพจิตและสุขภาพกายในปัจจุบันของพวกเขาต่ำกว่าเกณฑ์ในอุดมคติ (อยู่ในระดับ ‘พอใช้’ หรือ ‘แย่’)ซึ่งมีจำนวนมากกว่าผู้ที่รู้สึกว่ามีสุขภาพอยู่ในระดับ ‘ดี’ ‘ดีมาก’ หรือ ‘ยอดเยี่ยม’ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะแบ่งสถานะทางสุขภาพเป็นดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น
สำหรับผู้ที่เห็นความเสื่อมถอยของร่างกายในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริโภคจำนวน 7 ใน 10 คน (69%) ระบุว่าเป็นเพราะขาดการออกกำลังกาย รองลงมาคือการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น (36%) และไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเพื่อติดตามความมีระเบียบวินัยในออกกำลังกาย (26%) โดยสาเหตุหลักของสุขภาพจิตที่เสื่อมถอยประกอบด้วยความเครียดจากความไม่แน่นอนในหน้าที่การงาน (54%) การอยู่บ้านบ่อยขึ้นเนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทาง (53%) และการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (42%)
สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว ปัจจัยร่วมมาจากการออกกำลังกายมากขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ การสนับสนุนจากชุมชน และเวลาและพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น
Stephen Conchie รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้บั่นทอนความกระตือรือร้นและความมีชีวิตชีวาของผู้คน อย่างไรก็ตาม การตระหนักรู้มากขึ้นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และการสนับสนุนของชุมชนจะมีส่วนทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยรวม สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับเราในการกระตุ้นผู้บริโภคให้กลับมามีสุขภาพที่ดี และก้าวไปข้างหน้าด้วยไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดีจากแรงสนับสนุนของโภชนาการที่ดี เรากำลังรวบรวมส่วนประกอบสำคัญของกิจกรรมการออกกำลังกาย การเลือกโภชนาการที่ดีขึ้น และชุมชนที่ยกระดับขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้คนเริ่มต้นเส้นทางชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีอีกครั้งไปพร้อมกับกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ Virtual Run และแคมเปญ Get Moving with Good Nutrition ที่กลับมาเป็นปีที่สองติดต่อกัน”
การสำรวจด้านความเฉื่อยของสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก หัวข้อ Asia Pacific Health Inertia Surveyประจำปี 2564 ของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จัดทำในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2564 และได้ทำการสำรวจผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 5,496 คนที่ในตลาดเอเชียแปซิฟิก 11 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และ เวียดนาม ผลสำรวจเผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่มีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ตลอดจนทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ผู้บริโภคหลายคนเริ่มรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น
แม้ว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่จะมองว่าสุขภาพของตนเองในปัจจุบันนั้นน้อยกว่าเกณฑ์ในอุดมคติ แต่หลายคนก็เริ่มหันไปรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นและออกกำลังกายมากขึ้นอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ผู้บริโภค 54% ในภูมิภาคกล่าวว่าพวกเขาเริ่มรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนที่สุดในเวียดนาม (78%) อินโดนีเซีย (75%) และฟิลิปปินส์ (73%)ในบรรดาผู้ที่ระบุว่าพวกเขาเริ่มรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพน้อยลงเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ปัจจัยอันดับหนึ่งคือความสามารถในการเข้าถึงขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างง่ายดาย
ผลสำรวจยังเผยว่าผู้บริโภค 42% เริ่มออกกำลังกายมากขึ้นเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายน้อยลงในช่วงการแพร่ระบาดนั้น ส่วนใหญ่ระบุว่าออกกำลังกายน้อยกว่า 1 ถึง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยอ้างว่าสาเหตุหลักคือขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ที่บ้านไม่มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย และไม่สามารถเข้ายิมและฟิตเนสเซ็นเตอร์ได้
เทคโนโลยีหลักในการกระตุ้นพฤติกรรมที่กระฉับกระเฉงและสุขภาพดี
ด้วยกระแสดิจิทัลที่แผ่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียก็มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการช่วยสร้างระเบียบวินัยการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉงและสุขภาพดี
ปัจจุบันผู้บริโภค 1 ใน 2 (56%) ใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เช่น คลาสและวิดีโอฟิตเนสเสมือนจริงที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ (42%) อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว (39%) แอปพลิเคชันสำหรับฟิตเนสและการออกกำลังกาย (34%) และแอปพลิเคชันโภชนาการ (31%) เพื่อช่วยส่งเสริมระเบียบวินัยการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี
ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นยังพบว่าโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลเชิงบวก (33%) ต่อสุขภาพจิตมากกว่าอิทธิพลเชิงลบ (19%)
บรรดาผู้ที่ระบุว่าสื่อสังคมมีผลในเชิงบวกอ้างถึงปัจจัยต่อไปนี้
- การอ่านเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจ/แรงจูงใจ (60%)
- การรับชมเนื้อหาที่ตลกขบขัน/เบาสมอง (58%)
- แรงบันดาลใจ/แรงจูงใจจากโซเชียลมีเดียอินฟลูเอนเซอร์ (50%)
ความต้องการที่ชัดเจนในการเริ่มต้นไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงและสุขภาพดี
เมื่อถามถึงแผนการที่จะปรับใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉงและสุขภาพดีในอีก 12 เดือนข้างหน้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (88%) ระบุพวกเขาวางแผนที่จะรับประทานเพื่อสุขภาพมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภค 79% วางแผนที่จะออกกำลังกายมากขึ้น
ขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ได้แก่
- ดื่มน้ำเยอะขึ้น (70%)
- เพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหารมากขึ้น (61%)
- ลดการบริโภคน้ำตาลและขนมหวาน (61%)
ข้อปฏิบัติหลัก ๆ ที่ผู้บริโภคจะทำเพื่อออกกำลังกายมากขึ้น ได้แก่
- ออกแบบกิจวัตรประจำที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (64%)
- ชักชวนสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน ๆ มาออกกำลังกายร่วมกันในแบบจริงหรือแบบเสมือนจริง (38%)
- ซื้อเครื่องออกกำลังกายสำหรับออกกำลังกายที่บ้าน (35%)
กิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ Herbalife Nutrition Virtual Run ปี 2564 กระตุ้นแนวโน้มการใช้ชีวิตแบบกระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดี
กิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ Virtual Run ประจำปีของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จะกลับมาอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Get Moving with Good Nutrition ของบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายการดำเนินการในวงกว้างสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยกิจกรรมวิ่งจะจัดขึ้นใน 11 ตลาด ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
กิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ Herbalife Nutrition Virtual Run ประจำปี 2563 มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 14,000 คน ทำงานเกือบ 600,000 กิโลเมตรทั่วเอเชียแปซิฟิก ในปีนี้ Virtual Run ได้กำหนดเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมและเนื้อหาดิจิทัลที่หลากหลายขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกได้รับคำแนะนำและเครื่องมือในการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพ ตลอดจนช่วยส่งเสริมชุมชนที่สนับสนุนเส้นทางการวิ่งของพวกเขา