ไม่ใช่แค่ไทย! ราคาอาหารโลกขึ้น 30% ใน 1 ปี เหตุจากภัยพิบัติ การขาดแรงงาน และต้นทุน

ผลพวงจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทย ส่งผลให้ ‘ผัก’ ราคาพุ่งสูงขึ้น ที่เห็นหลัก ๆ คงจะเป็น ‘ผักชี’ ที่ราคาเคยแตะถึง 400 บาท/กิโลกรัม จากเมื่อต้นปีราคาไม่เกิน 100 บาท/กิโลกรัม และหากมองภาพรวมทั่วโลกก็พบว่าไม่ใช่แค่ไทย แต่ในปีนี้ราคาอาหารแพงขึ้น 30% ถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว

ราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนตุลาคม โดยเพิ่มขึ้น 3% จากเดือนกันยายน ตามดัชนีที่เผยแพร่โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเกิดจากแรงหนุนจากราคาน้ำมันพืชและข้าวสาลีที่พุ่งสูงขึ้น และหากดูภาพรวมทั้งปีพบว่า ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ โดยพุ่งสูงขึ้นถึง 30% ในปีนี้ และอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554

ราคาน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน และน้ำมันเรพซีดที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ดัชนีราคาผักของ FAO เพิ่มขึ้น 9.6% ซึ่งปัญหาวัตถุดิบราคาแพงเกิดปัญหาการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติที่ส่งผลต่อผลผลิต การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่ชะลอตัวในมาเลเซียเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ

ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเศรษฐกิจหลักบางแห่งพยายามดิ้นรนเพื่อให้ชั้นวางสินค้ามีสินค้าเพียงพอในช่วงการระบาดใหญ่ อย่างในสหราชอาณาจักร กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้นจาก Brexit ขณะที่เชนฟาสต์ฟู้ดบางรายจำต้องถอดรายการเมนูยอดนิยมออกเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของจีนเองได้ออกมาประกาศให้หน่วยงานท้องถิ่นตรวจสอบให้แน่ใจว่าพลเมืองของตนมี “สิ่งของจำเป็นที่เพียงพอ” ในฤดูหนาวนี้ และพยายามตรึงราคาอาหารให้คงที่

ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่สูงขึ้นนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งบางบริษัทได้ส่งต่อการขึ้นราคาไปยังผู้ซื้อ Unilever ( UL ) , Kraft Heinz ( KHC ) และ Mondelez ( MDLZ ) ได้ปรับราคาสินค้ายอดนิยมทั้งหมดขึ้น

Source