เอสเอพี ชี้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารและขยะอาหาร ตัวแปรสำคัญยับยั้งการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน

จำนวนประชากรที่เติบโตอย่างรวดเร็วและความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและปัญหาที่เกิดขึ้นกับซัพพลายเชนที่ทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความท้าทายด้านความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตของภูมิภาคซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการพัฒนาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ประเด็นดังกล่าวได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในงาน ‘A Growing ASEAN, A Hungry Population: Building Resilient and Sustainable Food Supply Chains’ จัดโดย เอสเอพี ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้นำทางธุรกิจทั่วทั้งระบบนิเวศอาหารของภูมิภาค ครอบคลุมธุรกิจในหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร การผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง โดยมีตัวแทนจากองค์กรชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนอย่าง Dole Asia Holdings ผู้นำระดับโลกด้านการเพาะปลูก จัดหา จัดจำหน่าย และทำการตลาดผลิตภัณฑ์ผลไม้และอาหารว่างเพื่อสุขภาพ, Loc Troi ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการชั้นนำด้านการเกษตรด้วยการจัดการซัพพลายเชนยั่งยืนผ่านการวิจัย การผลิต และการขายผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ ยาป้องกันวัชพืช ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชีวภาพ ข้าวและกาแฟพร้อมด้วย บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด, บริษัทในเครือของ บุญรอดบริวเวอรี่ ร่วมแนะแนวทางจัดการซัพพลายเชนยั่งยืน

ตามการประมาณการครั้งล่าสุดโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด[1] หรือ 1.3 พันล้านตันจะสูญเสียไปทุกปี ซึ่งมีส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 8-10%[2]

ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมได้กล่าวถึงโอกาสที่รออยู่ข้างหน้าสำหรับภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพในด้านการผลิตเชิงการเกษตรมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งในโลก โดยพูดถึงการลงทุนในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านการเกษตรผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การเสริมสร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม การสร้างระบบดิจิทัลซัพพลายเชน รวมถึงการสร้างซัพพลายเชนให้มีความยืดหยุ่นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง และกิจกรรมอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของภูมิภาคในด้านอาหาร

พลิกโฉมการผลิตอาหารในภูมิภาคอาเซียน

เกษตรกรรมและอาหารต่างเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับเศรษฐกิจและ GDP ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการจ้างงานของแรงงานในภูมิภาค

เกษตรกรรม

อุปทานอาหารทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60% ภายในปี 2593

ผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงสุดจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลผลิตที่เหมาะสม ลดของเสียจากการผลิต และอื่น ๆ

เวเรน่า เซียว ประธานและกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคนี้มีความหลากหลายโดยมีธุรกิจที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตไปจนถึงค้าปลีกและร้านอาหาร ธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องการความช่วยเหลือในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลการดำเนินงานของธุรกิจแบบ end-to-end การคาดการณ์ถึงดีมานด์ล่วงหน้าผ่านบิ๊กดาต้าเพื่อให้ส่งอาหารได้ทันท่วงที รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนแบบองค์รวม ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้อย่างยั่งยืน”

ภายในงาน ลีโอนาร์โด ราเบโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Dole Asia Holdings กล่าวถึงความพยายามของบริษัทในการยกระดับแนวปฏิบัติทางการเกษตร เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผลผลิตที่ดีขึ้นสำหรับเกษตรกร ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อลดขยะอาหารในพื้นที่ดำเนินงานขนาดใหญ่ขององค์กร

การผลิต

จำนวนประชากรอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 723 ล้านคนภายในปี 2573 ผู้แปรรูปอาหารกำลังจัดการกับปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคมีความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารรวมถึงวิธีการผลิตอาหาร

“ความเรียบง่ายเป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเราในการปูทางสู่การลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ เทคโนโลยีด้านการเกษตรหรือ Agtech มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดวาระการลดขยะและของเสียแบบเชิงรุกให้รุดหน้าไปอีกขั้น เทคโนโลยี IoT ที่ติดตั้งในฟาร์ม การติดตามไทม์ไลน์ผลผลิต และการปรับใช้ระบบดิจิทัลแบบ end-to-end จะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถปรับปรุงคุณภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยรวมของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และลดปริมาณของเสียได้มหาศาล สำหรับขยะที่เหลือ เราจะเน้นการอัพไซเคิลหรือการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น น้ำซุปกล้วยเข้มข้น, กล้วยแช่แข็ง ฯลฯ สำหรับ Dole เรายึดหลัก “ศิลปะแห่งความเป็นไปได้” และปณิธานอันแรงกล้าของเรา จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลดขยะผลไม้ให้กลายเป็นศูนย์ได้” ลีโอนาร์โด กล่าว

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Dole Asia ได้เปิดตัวกองทุน Sunshine for All Fund มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับนวัตกรรมและปิดช่องว่างด้านความยั่งยืน การเข้าถึงอาหาร และการลดขยะอาหาร

ระบบดิจิทัล ตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกอาหาร

เนื่องจากความต้องการด้านอาหารยังคงเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของประชากรและชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น ประเทศต่าง ๆ จะต้องมองหาวิธีที่จะสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารในประเทศและส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาค

โดยพื้นฐานแล้ว การเพิ่มการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการเงิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรและผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเทคโนโลยีจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลพืชผลได้แบบเรียลไทม์ ปัจจุบัน ผลผลิตข้าวของเวียดนามคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมในกลุ่มประเทศเหล่านี้

เหงียน ดอย ทวน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท Loc Troi ของเวียดนาม ได้กล่าวถึงโครงการนำร่องมาตรฐานความยั่งยืนข้าวแห่งแรกของโลกของบริษัทที่ทำร่วมกับชาวนา 150 รายทั่วสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูง และสุดท้ายทำการตลาดข้าวที่ผ่านการรับรอง Sustainable Rice Platform (SRP) ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ

“วันนี้ Loc Troi ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ 200,000 ราย โดยตั้งเป้าเพิ่มกำลังการสีข้าวต่อปีอยู่ที่หนึ่งล้านตันภายในปี 2567 เราใช้ประโยชน์จากพื้นฐานความรู้ด้านการเกษตรในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่และวิธีการทำฟาร์มแบบจำกัดการใช้ทรัพยากร ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยี อาทิ โดรน และ แอปพลิชันมือถือของโรงพยาบาล มาให้คำปรึกษาแก่ชาวนาข้าวและชาวสวนผลไม้ เราเป็นสมาชิกของ SATForRice ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้ AI ในการวิเคราะห์สเปกตรัมและปฏิกิริยาของดินเพื่อคาดการณ์ผลผลิต ศัตรูพืช และความเสี่ยงจากโรคในปีถัดไป อีกทั้ง Loc Troi กำลังทำงานร่วมกับเกษตรกรเพื่อรับรหัสพื้นที่ปลูกพืชและการตรวจสอบย้อนกลับผ่านรหัส QR พร้อมส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ” เหงียน กล่าว

มื่อเร็วๆ นี้ Loc Troi ได้เข้าสู่เส้นทางการทำ Digital transformation โดยเริ่มใช้ซอฟต์แวร์ S/4HANA ในปี 2563 ซึ่งช่วยสร้างมาตรฐานในกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากล ปรับปรุงความสามารถในการวางแผน และติดตามกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรและการบูรณาการได้อีกด้วย

การจัดจำหน่าย

ผู้ค้าปลีกขาดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความท้าทายอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินงานและประสบการณ์ของลูกค้า ผู้จัดจำหน่ายจึงต้องคิดค้นกลยุทธ์ “ส่งตรงถึงผู้บริโภค” ใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า

เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ก้าวรุดหน้า เอสเอพี ยังได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ล่าสุดที่ชื่อ SAP® Responsible Design and Production ซึ่งเป็นโซลูชั่นสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มความสามารถในการวัดและการจัดการข้อมูลให้กับธุรกิจ โซลูชั่นใหม่นี้สามารถใช้งานได้ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนและพร้อมที่จะช่วยเพิ่มความสามารถให้องค์กรต่าง ๆ มองเห็นภาพรวมของทรัพยากรในองค์กรในกระบวนการต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถติดตามและปรับเปลี่ยนตามกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์และพลาสติก

โลจิสติกส์

ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมหันมาเลือกใช้การขนส่งแบบปลอดคาร์บอน ซึ่งส่งสัญญาณถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องพลิกโฉมระบบโลจิสติกส์ให้มีความยั่งยืน

พลิกโฉมระบบซัพพลายเชนเพื่อยกระดับการจัดการทรัพยากรในประเทศไทย

จากปัญหาซัพพลายเชนที่หยุดชะงักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายประเทศทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาซัพพลายเชนหยุดชะงัก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการจัดการระบบซัพพลายเชนให้ทำงานได้ยืดหยุ่นมากขึ้น จากการสำรวจของ IDC ในเดือนธันวาคม ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่าระบบซัพพลายเชนกำลังเผชิญกับความปั่นป่วนที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งตลาด ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกพบปัญหาหยุดชะงักในการขนส่ง 18% ในขณะที่ 52% เผชิญกับการหยุดชะงักของอุปสงค์ (Demand) และ 30% มีปัญหาหยุดชะงักในการจัดหา (Supply)

เอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ต้องการความสามารถในการรับรู้ คาดการณ์ และตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาคคิดที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของตน Digital Supply Chain จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงแนวทางที่บริษัทจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วม โต้ตอบ สร้างแหล่งรายได้ใหม่ และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนแม้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เครือข่ายลอจิสติกส์ดิจิทัลจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและการมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ครอบคลุมแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ว่ากระบวนการทางธุรกิจใดต้องได้รับการออกแบบใหม่ เนื่องจากพวกเราทุกคนมีความรับผิดชอบในการกำหนดอนาคตของสังคม โซลูชั่นดิจิทัลจึงเป็นกุญแจสู่เป้าหมายความยั่งยืน”

ดร.วศะ โฆษะทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นว่าการทำ Digital transformation เป็นหนทางสู่การอยู่รอดสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเพียงเท่านั้น

“กระบวนการทางธุรกิจแบบดั้งเดิมนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปและความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจมีมากขึ้น ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 80 ปี บุญรอดให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเป็นสำคัญ ผ่านการลด Waste หรือการสูญเสียทรัพยากรในระหว่างกระบวนการทั้งหมด บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ของเราจึงเน้นการผลิตเป็นขวดแก้ว เพื่อนำกลับมารีไซเคิลและแปรรูปมาใช้ใหม่ ขณะเดียวกันทุกกระบวนการทางธุรกิจและการผลิตจะต้องออกแบบอย่างเป็นระบบ พร้อมกำจัดการสูญเสียในซัพพลายเชน โดยเรามี 3 แนวทางที่มองว่าธุรกิจไทยควรนำมาปรับใช้เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและการมองเห็นภาพรวมทางธุรกิจที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการมีทีมงานที่ดี (Right People), ระบบที่ตอบโจทย์ (Right System) และกระบวนการที่ถูกต้อง (Right Process) ที่สำคัญ ระบบซัพพลายเชนที่มีความคล่องตัวจะช่วยให้เรามองเห็นและดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ปัจจุบัน บุญรอด ซัพพลายเชน ได้ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นคลาวด์ของ เอสเอพี ได้แก่ SAP Cloud Commerce และ SAP Integrated Business Planning ที่เข้ามาช่วยในการวางแผนให้รู้ทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด เพื่อที่จะนำมาตัดสินใจ ปูทางไปสู่การสร้างความยั่งยืน”  ดร.วศะ กล่าว

เยี่ยมชมศูนย์ข่าว SAP ติดตาม SAP บน Twitter ได้ที่ @SAPNews