นักเศรษฐศาสตร์มองปี 65 ปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ยิ่งรุนแรงเนื่องจากไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้นำไปสู่ยุคใหม่ของความไม่เท่าเทียมด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าประชากรที่ยากจนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น และในปีหน้าปัญหายิ่งรุนแรง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐอาจหายไปเนื่องจากการระบาดที่ลดลง

การวิเคราะห์ล่าสุดโดย Penn Wharton พบว่า ในปี 2021 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและปานกลางในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 7% หากซื้อสินค้าแบบเดียวกันกับที่พวกเขาซื้อในปี 2020 หรือในปี 2019 ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน

โดยค่าอาหารเพิ่มขึ้น 6.4% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 58% และตอนนี้หลายคนกำลังเผชิญกับราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางค่อย ๆ หายไป แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเพียง 6%

ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

Kent Smetters กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมกันนี้เป็นเรื่องปกติในช่วงที่เงินเฟ้อ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่มีรายได้สูงได้เปลี่ยนการใช้จ่ายจากสินค้าและไปสู่การบริการมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การหยุดชะงักของการผลิตที่เกิดจากการระบาดได้ทำให้ต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น

“สิ่งที่พวกเขากำลังซื้อได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอุปทาน” Smetters กล่าว

ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดย Alberto Cavallo นักเศรษฐศาสตร์จาก Harvard Business School โดยในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขึ้นราคาซึ่งหนักกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่ร่ำรวย

ในปี 2019 เอกสารร่วมจากนักวิจัยที่ Columbia และ London School of Economics คาดการณ์ว่า จะมีผู้คนอีกประมาณ 3 ล้านคน ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในความยากจน หากรายได้ของพวกเขาถูกปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่พวกเขาประสบ

‘เทลอาวีฟ-อิสราเอล’ ครองแชมป์เมือง ‘ค่าครองชีพสูงสุดในโลก’ แซง ‘ปารีส’ แชมป์เก่า