ในยุคที่องค์กรทั่วโลกยกให้ Big Data เป็นเหมือนด่านสำคัญของการบริหารจัดการและการตัดสินใจ เพื่อวางกลยุทธ์ นำธุรกิจให้ทรงประสิทธิภาพ พร้อมแข่งขันในยุคดิจิทัล โดยโรคระบาดโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้ทุกคนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและเชื่อมโลกออนไลน์เข้ากับออฟไลน์แบบไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีข้อมูลจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในทุกวินาที ในขณะที่ธุรกิจมีความจำเป็นต้องเร่งปรับใช้ข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อการเป็นผู้นำในการแข่งขัน ซึ่งหากช้ากว่าผู้เล่นรายอื่น ก็อาจเสียโอกาสทางธุรกิจและอาจถูกดิสรัปชันไปในที่สุด
ธุรกิจต้องการความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้เพื่อครองใจลูกค้า ซึ่งข้อมูลมหาศาล หรือ Big Data เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค สามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขได้ทันท่วงที สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งเพิ่มประสบการณ์ที่ดีจากการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของระบบภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจที่จะต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ Big Data จากทุกระบบขององค์กรให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดและสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ สอดคล้องกับข้อมูลจาก Forrester Research พบว่าธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายด้านรายได้มากกว่าบริษัทที่ไม่เน้นการใช้ข้อมูลถึง 58%
ทั้งนี้ นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data ได้กล่าวเกี่ยวกับ 5 เทรนด์ของ Big Data ในปี 2565 ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร ดังนี้
- Real-Time Data การวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะมีความสำคัญมากขึ้น จากการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ทุกวินาทีจึงมีความสำคัญ ความล่าช้านำมาซึ่งการเสียโอกาสทางธุรกิจไปทันที จากเทคโนโลยีเดิมที่อาจใช้เวลาจัดเก็บและรอประมวลผลวันต่อวัน องค์กรจึงต้องมองหาเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลแบบ Real-Time เพื่อเพิ่มความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจต่าง ๆ และสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล การทำ Real-Time Analytics วิเคราะห์และประมวลผล Big Data แบบ Real-Time ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหา วางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ คาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที หรือในด้านการนำ Real-Time Data ไปปรับใช้เพื่อทำกุลยุทธ์การตลาด เช่น การทำ Personalized Recommendation และ Next Best Action Marketing โดยใช้ Big Data มาช่วยวิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า เพื่อแนะนำสินค้า บริการ หรือโปรโมชันให้ตรงกับความสนใจของลูกค้าแบบเจาะจงรายบุคคล รวดเร็ว ทันเทรนด์ในช่วงเวลาและช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งการที่สามารถวิเคราะห์และปรับใช้ Big Data ได้แบบ Real-Time จะช่วยส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการซื้อมากยิ่งขึ้น
- การนำ Big Data มาเสริมเฟรมเวิร์กในระบบ Cybersecurity & Risk ธุรกิจและผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตมากขึ้น การเก็บบันทึก Data ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภัยไซเบอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่หรือ Ransomware ซึ่งนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรง ส่งผลเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลธุรกิจเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังส่งผลเชิงลบกับภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กร
การมีระบบ Security Analytics คือการตั้งรับการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งเชิงรับและเชิงรุก โดยการรวบรวม Big Data ที่เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชันบนคลาวด์ หรือข้อมูลบันทึก (Log) ของอุปกรณ์โครงข่าย เพื่อค้นหาสาเหตุ ตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังจากข้อมูลที่ถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาหรือวางแนวทางป้องกัน ผนวกกับเทคโนโลยี Artificial Intelligence และ Machine Learning หรือ AI/ML เพื่อเสริมเฟรมเวิร์กทาง Cybersecurity ให้สามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นจากฐานข้อมูลพฤติกรรมของคนและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่จัดเก็บไว้ เช่น การคาดการณ์ได้ว่าข้อมูล Transaction ใดอาจกำลังก่อเหตุ Ransomware รวมถึงสามารถแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุผิดปกติได้ทันที การใช้ Big Data ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบการทุจริต หรือ Fraud Analytics ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมผิดปกติที่เข้าข่ายการทุจริต เช่น บัญชีธนาคารลูกค้าถูกโอนเงินออกจำนวนมหาศาล หรือมีหลายบัญชีถูกโอนเงินออกพร้อมกัน ซึ่งการตรวจสอบการทุจริตได้อย่างรวดเร็วจะช่วยสามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
- การใช้ Big Data เพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ Omni-Channel Customer Experience การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน เป็นยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า จึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องพัฒนาการสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) ให้ดีตลอด Customer Life Cycle เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ให้ได้รับการบริการแบบ Real-Time ไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการผ่านช่องทางออฟไลน์หรือออนไลน์ ซึ่งทุกช่องทางจะถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ตามวิธีคิดของกลยุทธ์ Omni-Channel เพื่อบริการที่ราบรื่นไม่มีสะดุด ทั้งนี้ Big Data ที่รวบรวมจากทุกช่องทาง เช่น ข้อมูลจาก Offline Store ข้อมูลจาก Call Centre ข้อมูลคงคลัง ข้อมูลการขาย จนถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นในยุคโควิดอย่างโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือ Online Store ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ คือกำลังสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ Omni-Channel Customer Experience โดยรวมเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อให้เห็นทุกกิจกรรมของลูกค้าในลักษณะ Customer 360 และใช้วิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อนำมาพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง และนำไปต่อยอดในการบริหารการขาย รวมถึงพัฒนาบริการและสินค้าชนิดใหม่
- ปีสำหรับการเปลี่ยนเทคโนโลยีจัดการข้อมูลแบบเก่าเป็น Big Data เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านสารสนเทศให้กับองค์กร การจัดการและประมวลผลข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ที่องค์กรอาจมีใช้งานเป็นปกติอยู่แล้ว อาทิ การสร้างข้อมูลรายงานการขายประจำวัน การดูรายงานคงคลังประจำเดือนจากระบบฐานข้อมูลปกติ ซึ่งปัจจุบันเมื่อข้อมูลเริ่มมีขนาดใหญ่ และจัดเก็บอยู่ในหลายระบบ จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าดูแลรักษาระบบจัดการข้อมูลแบบเดิมที่ค่อนข้างสูง เมื่อถึงยุคปัจจุบันที่มีปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นโควิด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานมากขึ้น อย่างการเปลี่ยนหรือลดภาระการประมวลผลข้อมูลบนระบบเดิมมาใช้เทคโนโลยี Big Data จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรควรพิจารณา ทั้งนี้ การบริหารข้อมูลในรูปแบบ Big Data ยังช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก Data ได้อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการเข้าถึงข้อมูล และการประมวลข้อมูลได้คราวละมาก ๆ แต่ทำได้รวดเร็ว รวมถึงปลดล็อกขีดจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับตลาด โดยมีต้นทุนทางสารสนเทศโดยรวมที่ต่ำลงอีกด้วย
- Data Citizen ใคร ๆ ก็เข้าถึง Data ได้ ในยุคที่องค์กรต่างปรับตัวสู่การเป็น Data-Driven Organization แต่การเข้าถึง Data ในหลายองค์กรยังถูกจำกัดอยู่แค่ในฝ่าย IT ทีมเทคนิค หรือทีม Data เท่านั้น ซึ่งทำให้องค์กรไม่สามารถผลักดันการทำกลยุทธ์ Data-Driven ให้เกิดกับทุกการทำงานและการตัดสินใจได้ Data Citizen คือคอนเซ็ปต์ที่ทำให้ทุกคนในองค์กรสามารถใช้ Data ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามสิทธิ์การใช้งาน ซึ่งเครื่องมือที่จะสามารถสนับสนุนแนวคิดนี้ให้เป็นจริงได้ ก็คือ Big Data ที่รวบรวมข้อมูลไว้เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและใช้งานข้อมูลได้ง่ายดาย ถึงแม้ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิค
อย่างไรก็ดี Big Data คือหนึ่งในจิ๊กซอว์สำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกสถานการณ์ องค์กรและธุรกิจต่างเล็งเห็นความสำคัญ แต่ในหลายองค์กรยังมีข้อจำกัดมากมายในการบริหารจัดการ Big Data ให้มีประสิทธิภาพจนสามารถนำไปใช้ได้จริง ส่งผลให้องค์กรและธุรกิจมองหาเครื่องมือบริหารจัดการ Big Data ที่ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว เข้าไปแก้ข้อจำกัดขององค์กรและธุรกิจ Blendata-Enterprise คือ Effortless และ Simplified Big Data Platform ที่ตอบโจทย์ทุกขั้นตอนในการบริหารจัดการ Big Data ตั้งแต่การรวบรวม จัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล จนถึงการนำข้อมูลไปใช้ในที่เดียวแบบ All-in-one ในแบบ Code-free พร้อมประสิทธิภาพในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Real-Time ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมสำหรับทุกการแข่งขันด้วยเวลาที่รวดเร็ว ลดเวลาและลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูล แม้ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Big Data ช่วยให้องค์กรลดการลงทุนทางด้านบุคลากรเทคนิคเฉพาะด้าน ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ไลเซนส์ และการบำรุงรักษา ด้วยการรวบรวมทุกฟังก์ชันในการจัดการ Big Data ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูล Big Data ที่มีอยู่ในมือไปต่อยอดเพื่อยกระดับธุรกิจในด้านอื่น ๆ ได้อย่างอิสระและรวดเร็ว
เกี่ยวกับ Blendata (เบลนเดต้า)
Blendata มุ่งมั่นพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการ Big Data เพื่อเป็นตัวกลางในการลดขั้นตอน ที่ยุ่งยากระหว่างข้อมูลที่ซับซ้อนกับผู้ใช้งาน (End-User) ด้วยระบบที่ถูกออกแบบให้มีฟังก์ชันที่ จำเป็นต่อการบริหารจัดการข้อมูลอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวอย่างครบถ้วน ตอบโจทย์การใช้งานแบบ All-in-one เป็นแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนวิธีการจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน แม้ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน IT ทำให้ธุรกิจและองค์กรสามารถก้าวเข้าสู่ยุคของการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) ได้อย่าง รวดเร็ว พร้อมตอบรับโอกาสใหม่ ๆ และก้าวข้ามขีดจำกัดแบบเดิม ๆ ในยุคที่ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล