‘ธนาคารโลก’ หั่นเป้า GDP โลกเหลือ 4.1% เหตุเงินเฟ้อรุนแรง โควิดยังระบาดต่อเนื่อง

Photo : Shutterstock
ธนาคารโลกกำลังปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เนื่องจากการระบาดอย่างต่อเนื่องของ COVID-19 นโยบายการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลาย ๆ ประเทศที่ลดลง และปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในซัพพลายเชนทั่วโลก

จากที่ในปี 2564 ธนาคารโลก เคยคาดว่าเศรษฐกิจทั่วโลกปี 2565 จะเติบโต 5.5% แต่จากการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้เดือนในเดือนมิถุนายนปี 64 ได้มีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตเหลือ 4.3% เท่านั้น และมาต้นปีก็ได้มีการปรับคาดการณ์อีกครั้งเหลือเพียง 4.1%

ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกระบุว่า เศรษฐกิจ สหรัฐฯ จะเติบโต 3.7% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.6% ในปี 2564 โดยคาดว่า จีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงเหลือ 5.1% จากในปีที่แล้วเติบโต 8%

ส่วน 19 ประเทศในยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วมกันคาดว่าจะเติบโต 4.2% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.2% ในปี 2564 และ ญี่ปุ่น คาดว่าจะเติบโต 2.9% ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจาก 1.7% ในปีที่แล้ว ในส่วนของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาคาดว่าจะเติบโตโดยรวม 4.6% ในปีนี้ ลดลงจาก 6.3% ในปี 2564

ทั้งนี้ การมาถึงของ COVID-19 ในต้นปี 2020 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกหดตัว -3.4% แต่จากการบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่จากรัฐบาล, อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ออกแบบโดยธนาคารกลาง และในที่สุดการเปิดตัวของวัคซีน กระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างไม่คาดคิดในปีที่แล้ว

แต่เพราะการดีดตัวอย่างรวดเร็วทำให้ธุรกิจต้องแย่งชิงกันซัพพลายเชนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการใช้เรือ รถไฟ และรถบรรทุกเพื่อขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา พวกเขาประสบปัญหาในการหาคนงานเพื่อเติมเต็มปัญหาการขาดแคลน

อีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อการเติบโตในปีนี้คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 ขณะนี้ธนาคารกลางกำลังลดการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและพิจารณาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับราคาที่สูงขึ้น

“เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับ COVID-19, อัตราเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนของนโยบายพร้อมกัน ด้วยการใช้จ่ายของรัฐบาลและนโยบายการเงินในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย” David Malpass ประธานธนาคารโลกกล่าว

Source