เพชฌฆาตเงียบ “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs” ป้องกันได้เริ่มที่ตัวเรา Non-communicable diseases (NCDs)

การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ส่งผลให้หลายคนดำรงชีวิตด้วยพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งการบริโภคอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และไขมันสูง ขาดการทานผักผลไม้ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เคลื่อนไหวร่างกายน้อย และการใช้ชีวิตท่ามกลางมลภาวะ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ ‘โรค NCDs’

“โรค NCDs คือโรคที่ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตผิด หรือว่าไม่ระวัง ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเราเพื่อต่อสู้โรคนี้ได้” ‘หมอแอมป์ – นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ’ นายกสมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วนกรุงเทพ (BARSO) และประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิกได้กล่าวถึงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs (Non-communicable diseases)

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-communicable diseases)เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ มีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ สะสมเป็นเวลานาน เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรม พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิต

คุณหมอแอมป์อธิบายเพิ่มเติมว่า โรคกลุ่มนี้มี 6 โรคหลักๆ ได้แก่  1.โรคเบาหวาน 2.โรคอ้วน 3.โรคความดันโลหิตสูง 4.โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้กลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง 5.เฉลี่ยสูงถึง 44 คนต่อชั่วโมง2 โดยโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย คือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)3

  1. โรคเบาหวาน (Diabetes)

จากรายงานของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติหรือInternational Diabetes Federation (IDF) ในปี2564พบว่าทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง537ล้านคนและคาดว่าในอีก24ปีข้างหน้าตัวเลขจะเพิ่มสูงถึง784ล้านคน เช่นเดียวกับประเทศไทยที่พบผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า4.8 ล้านคนคิดภาพง่ายๆว่าในทุก10 คนจะมีคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน1 คนและที่น่าตกใจคือ40% ของกลุ่มผู้ป่วยนั้นไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน

โดยเบาหวานชนิดที่2เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดสูงถึง90%เป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอาทิจอประสาทตาถูกทำลาย(Diabetic Retinopathy), โรคไตเรื้อรัง(Chronic kidney disease), หัวใจล้มเหลว(Heart failure), หลอดเลือดสมองอุดตัน(Stroke), และการเกิดแผลเบาหวานเรื้อรัง(Diabetic ulcer) โดยเป็นผลจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย

มีการศึกษาวิจัยที่สำคัญชื่อว่าDiabetes Prevention Program (DPP) เป็นการวิจัยแบบRandomized Controlled Trial เปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestyle Change)และการใช้ยา Metforminต่อการป้องกันและชะลอการเกิดโรคเบาหวาน ผลวิจัยพบว่าทั้ง 2 วิธีสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestyle Change) มีประสิทธิภาพสูงกว่าการทานยาเกือบ 2 เท่า

ในอดีตเบาหวานชนิดที่ 2 เคยถูกเข้าใจว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่มีวันรักษาหายแต่ในปัจจุบันได้นิยามการหายของเบาหวานชนิดที่ 2 ไว้ว่าโรคเบาหวานที่อยู่ในภาวะสงบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารน้อยกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้ำตาลสะสมน้อยกว่า 6.5%) โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือการรักษาใดๆเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนโดยเป็นผลจากการควบคุมอาหารและออกกำลังกายจนมวลไขมันในร่างกายลดลงอยู่ในระดับปกติส่งผลให้เซลล์ตับกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย และเซลล์ตับอ่อนสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดียิ่งขึ้นและยังรวมถึงเซลล์ต่างๆในร่างกายกลับมาตอบสนองต่ออินซูลินได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

  1. โรคอ้วน (Obesity)

ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน รายงานปี 2559 ขององค์การอนามัยโลกระบุว่าผู้ใหญ่ 39% หรือมากกว่า 1.9 พันล้านคน มีปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วน เช่นเดียวกับประเทศไทยข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความชุกของปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วนในผู้ใหญ่ในปี 2564 อยู่ที่ 47.2% เพิ่มขึ้นจาก 34.7% ในปี 2559 ซึ่งกรุงเทพมหานครมีความชุกภาวะอ้วนลงพุงมากที่สุด (56.1%) รองลงมาคือภาคกลาง (47.3%), ภาคใต้ (42.7%), ภาคเหนือ (38.7%), และภาคอีสาน (28.1%)

และที่น่ากังวลคือเด็กก็พบปัญหาโรคอ้วนและน้ำหนักเกินเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ในปี 2564 ความชุกของโรคอ้วนและน้ำหนักเกินในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อยู่ที่ 9.07 %  สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 5.7%

โดยปกติแล้วการวินิจฉัยโรคอ้วนสามารถใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) คำนวณได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสองซึ่งถ้าผลที่ได้มีค่าอยู่ในช่วง 25 – 29.9 กิโลกรัม/เมตร2จะถือว่ามีน้ำหนักตัวเกินและถ้าค่าสูงกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2จะถือว่ามีภาวะอ้วน

แต่การใช้ดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียวอาจบอกผลคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากองค์ประกอบหลักของร่างกายนั้นประกอบไปด้วยมวลน้ำมวลกระดูกมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อทำให้บางคนแม้มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วงปกติ (BMI 18.5 – 24.9 กิโลกรัม/เมตร2)  แต่เมื่อตรวจดูองค์ประกอบร่างกายด้วยวิธีDual-energy X-ray absorptiometry (DXA or DEXA) พบว่าร่างกายมีปริมาณไขมันสะสมอยู่มากเกินไปหากผู้ชายมีมวลไขมันเกิน 28% และผู้หญิงเกิน 32% จะถูกจัดว่ามีภาวะอ้วน

ซึ่งมวลไขมันที่มากเกินไปมักสะสมอยู่บริเวณสะโพกต้นขาต้นแขนและที่สำคัญคือบริเวณช่องท้อง (Visceral fat) ทำให้เส้นรอบเอวของเราขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เราเรียกว่าอ้วนลงพุงซึ่งไขมันในช่องท้องนี้เองเป็นส่วนที่อันตรายที่สุดเพราะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจเบาหวานและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) อีกมากมาย

  1. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่าเป็น“ฆาตกรเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงจำเป็นต้องทำการตรวจวัดความดันโลหิตหากปล่อยไว้ไม่ได้รักษาจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเช่นโรคไตโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โรคนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้แก่การสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอการมีความเครียดสะสมการนอนหลับไม่เพียงพอภาวะโรคอ้วนและการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันแต่ผลสำรวจล่าสุดปี 2564 โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและเครือข่ายลดบริโภคเค็ม พบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ยสูงถึง 3,636 มิลลิกรัมต่อวันหรือเท่ากับเกลือ 1.8 ช้อนชาหรือน้ำปลาประมาณ 10 ช้อนชาเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารนอกบ้านอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปทำให้การควบคุมปริมาณโซเดียมเป็นไปได้ยากหรือลักษณะของอาหารท้องถิ่นบางอย่างที่มีความเค็มมากเช่น ส้มตำปูปลาร้าหนึ่งจาน มีโซเดียม 1,278 มิลลิกรัม ทำให้คนไทยบริโภคโซเดียมเกินคำแนะนำไปเกือบ 2 เท่า

  1. โรคไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia)

มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อีกทั้งยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของความพิการ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ 15 ล้านคนในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 5 ล้านคนและอีก 5 ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร

การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงจำพวกของทอด ของมัน หนังสัตว์ ชีส เนื้อสัตว์แปรรูป อย่างไส้กรอก กุนเชียง เบคอน หมูยอ ซาลามี่เป็นต้นส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น รวมถึงการรับประทานข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสี น้ำตาลทรายขาว (refinedsugar) หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease; CVD) สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American HeartAssociation) แนะนำให้บริโภคไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 11 -12 กรัมต่อวัน (5-6% ของความต้องการพลังงานเฉลี่ย 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน) และทดแทนด้วยการรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวจำพวกน้ำมันมะกอกน้ำมันคาโนล่าอะโวคาโดถั่วเปลือกแข็งเป็นต้น

 

  1. โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (Chronic respiratory disease)

โรคถุงลมโป่งพองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของโลกมีผู้คนเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 3 ล้านคนมีอาการไอหายใจลำบากมีเสมหะส่งผลให้เหนื่อยมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากการสูบบุหรี่หรือสัมผัสควันบุหรี่มือสองมลภาวะทางอากาศฝุ่นละอองหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจหากป้องกันหรือลดการสัมผัสกับสารก่อโรคต่างๆจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้

ซึ่งปัญหามลภาวะทางอากาศในปัจจุบันที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือฝุ่นละอองPM 2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของเราถึง 20 เท่าจนสามารถทะลุถุงลมจนเข้าไปในกระแสเลือดได้เข้าไปรบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเราก่อก็ให้เกิดผลเสียมากมายมหาศาลกว่าที่เราคาดเดาได้

ซึ่งฝุ่นละอองเล็กจิ๋วนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์การปล่อยฝุ่นควันของโรงงานอุตสาหกรรมควันพิษจากรถยนต์และเครื่องจักรกลการเผาไร่นาการเผาขยะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ก่อเกิดมลภาวะทางอากาศทั้งสิ้น

สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือ เริ่มจากการป้องกันไม่ให้มลภาวะเข้าสู้ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากป้องกัน ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ เป็นต้น

  1. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancer)

รายงานปี 2020 จาก A Cancer Journal for Clinicians ผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วโลกมีจำนวน 19.3 ล้านคนและผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นจำนวนเกือบ 10 ล้านคน และคาดว่าในปี 2040 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งจะเพิ่มขึ้นถึง 28.4 ล้านคนหรือมากขึ้นถึง 47%

ประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ โรคอ้วนหรือการมีมวลไขมันมากเกินไปการบริโภคผักและผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกายการนอนหลับไม่มีคุณภาพการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกับการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แม้ว่าโรคมะเร็งจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สารเคมี หรือการติดเชื้อต่างๆ แต่การดูแลสุขภาพ ปรับพฤติกรรม ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้

“ทั้งหมดในกลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เราทำตัวให้ดี สามารถทำให้ป่วยช้าได้หรือไม่ป่วยได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือก่อนที่เราจะเดินหน้าไปสู่การป่วยหรือการทานยา คือ ตอนนี้ยังไม่ป่วย เราควรดูแลร่างกายเราให้ดีที่สุด” เป็นคำพูดที่คุณหมอแอมป์ฝากเอาไว้ให้กับทุกคน อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อร่วมสร้างสังคมไทยสุขภาพดี

นอกจากนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เห็นผลกระทบของกลุ่มโรค NCDs เด่นชัดมากขึ้น เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงานว่า ผู้ที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรค COVID-19มากกว่าผู้มีสุขภาพแข็งแรง ดังนี้

-โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าปกติ 2.3 เท่า

– โรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าปกติ 2.9 เท่า

– โรคเบาหวาน เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าปกติ 3 เท่า

– โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าปกติ 3.9 เท่า

– โรคอ้วน เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าปกติ 7 เท่า4

คุณหมอแอมป์ได้ฝากเคล็ด (ไม่) ลับของการมีสุขภาพที่ดีลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งทุกแนวทางมีความสำคัญ ต้องทำควบคู่กันไป

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ลดของหวาน มัน เค็ม และอย่าลืมรับประทานผักครึ่งหนึ่งของจาน
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน, ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์
  3. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
  4. หลีกเลี่ยงมลภาวะต่างๆ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกอาคาร
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยควรนอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม และนอนให้ได้ 8-9 ชั่วโมงทุกวัน
  6. ผ่อนคลายตัวเองจากความเครียด ฝึกฝนการนั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือทำกิจกรรมให้สมองสงบไม่ฟุ้งซ่าน สมองได้พักผ่อน

“คนที่ฉลาดที่สุดคือคนที่เห็นว่าสมบัติที่สำคัญที่สุด คือ สุขภาพ ไม่มีอะไรที่มีค่ามากที่สุด เท่าสุขภาพที่ดี ภาษาอังกฤษคือ Health Brings Wealth สุขภาพที่ดี นำมาซึ่งทุกอย่างแล้วแต่เราอยากได้” คุณหมอแอมป์ฝากทิ้งท้ายให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของการดูแลตัวเอง

BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน​เพราะสุขภาพที่ดีคือของขวัญที่ดีที่สุด​ Live longer, Healthier and Happier​