เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแบบครบวงจรเผยว่า จากนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าฉบับล่าสุดที่ภาครัฐได้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มมาตรการช่วยเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการเข้ามาของผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่ในตลาดที่ช่วยเพิ่มทางเลือกมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งให้เกิด Market adoption ในการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แม้ว่าเมื่อต้นปี 2565 เราจะเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่ยังคงมีอีกหลากหลายวิธีการที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถทำได้
โดยประเทศไทยมีการมุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นด้วยกัน นั่นคือการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศโดยภาครัฐตั้งเป้าไปที่การบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Zero-Emission จากการใช้รถยนต์ในประเทศให้ได้ 100% ตลอดจนการลด Zero-Emission จากการผลิตรถยนต์ลงให้ถึง 50% ภายในปีพ.ศ. 2578 และภายในปี พ.ศ. 2573 รัฐบาลได้มีเป้าหมายการลด Zero-Emission จากการผลิตรถยนต์ลง 30% ซึ่งเรียกกันว่า “EV2030” สำหรับประเทศไทยที่มียอดการจำหน่ายรถยนต์เฉลี่ยปีละ 1 ล้านคัน และความสามารถในการผลิตต่อปีอยู่ที่ปีละ 2 ล้านคันในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 นโยบายดังกล่าวถือเป็นงานที่ท้าทาย แต่ด้วยร่างมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ฉบับล่าสุดที่ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ที่เห็นชอบลดภาษีอากรนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าและเพิ่มมาตรการช่วยเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการมุ่งหน้าสู่การเป็นประเทศที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์สู่การเริ่มต้นผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้อีกด้วย ด้วยมาตรการสนับสนุนใหม่นี้ ตลอดจนการลงนามข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์หลายรายที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดช่องว่างความแตกต่างกับหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและยุโรปที่มีความก้าวไปไกลมากกว่า ในการมุ่งสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
คุณสุปรีดา จิรวงศ์ศรี ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาด้าน Digital Competency Group
เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นับเป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เพราะทางรัฐบาลเริ่มมีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้ทั้งกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ และผู้บริโภคก้าวสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น โดยรวมแล้วแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยกำลังเป็นไปด้วยดี แม้ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อย่างปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลกซึ่งทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หากเรามองในระยะยาว อนาคตของอุตสาหกรรมดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มที่สดใส ด้วยมาตรการจูงใจต่างๆ ที่เกิดขึ้น การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคเองก็ตระหนักและเห็นถึงประโยชน์ในการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังถูกพัฒนาและเพิ่มจำนวนขึ้นอีกด้วย”
จากข้อมูลของ เอบีม คอนซัลติ้ง แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะมีทิศทางที่ดี แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ยังต้องปรับกลยุทธ์และการดำเนินงานของตนเพื่อรองรับโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาและผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
ยกตัวอย่างเช่น ในการผลิต กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนควรร่วมกันสร้างระบบ Supply Chain อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง IoT, Big Data, AI และ Blockchain เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องหรือสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสามารถคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ที่ยังคงทำการผลิตรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engine (‘ICE’) เป็นหลัก ก็สามารถใช้ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นโดยการปรับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นปัจจัยร่วม โดยการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรและเครื่องมือที่มีอยู่ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนไปเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่มีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยังใช้เครื่องจักรและเครื่องมือในกระบวนการผลิตรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน จำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอสินค้า บริการ และพันธมิตรใหม่ๆ ให้รองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปโดยเร็ว
ในส่วนของผู้จำหน่ายรถยนต์ ก็ควรปรับบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมไขข้อกังวลใจต่างๆ รวมถึงการตั้งเป้าหมายในการมอบประสบการณ์ในแบบ Omnichannel ที่เชื่อมโยงช่องทางต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารทั้งออนไลน์ (Online) และการขายผ่านโชว์รูมและพนักงานขาย (Offline) และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขายและการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุน
สำหรับผู้ให้บริการสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ก็ควรมองหาโอกาสความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้ผลิตที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รายอื่นๆ ที่จะสามารถร่วมกันพัฒนาออกมาได้ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ขับขี่ที่ต้องใช้บริการสถานีชาร์จ นอกจากนั้นผู้ให้บริการสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังมีโอกาสสร้างแหล่งรายได้หลักช่องทางใหม่เพิ่มเติม เช่น การขายป้ายโฆษณาบนจุดชาร์จ หรือการรวบรวมค่าคอมมิชชั่นจากการขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในขณะที่รอทำการชาร์จรถ เป็นต้น
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมว่า เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงธุรกิจของอุตสาหกรรมยายนต์และอนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างไร สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] หรือร่วมเยี่ยมชมงานฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2020 (Future Mobility
Asia 2022) ซึ่งทางเอบีม คอนซัลติ้ง ได้เข้าร่วมในฐานะพันธมิตรด้านความรู้ (Knowledge Partner)
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กรุงเทพฯ ในวันที่ 20-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นี้