การใช้ชีวิตประจำวันของใครหลายคน มีการทำกิจกรรมหรือกิจวัตรที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่า ปวดขาได้ บางคนปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ในขณะที่บางคนปวดแบบพอทนไว้ บางคนมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน แต่จะทุเลาลงเมื่อได้พักหรือหยุดการใช้งาน เหล่านี้เป็นอาการเตือนให้รู้ว่า “ข้อเข่าและข้อสะโพก” กำลังมีปัญหา !!
นพ.วัลลภ สำราญเวทย์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ได้เปิดดำเนินการรักษาพยาบาล โดยจดทะเบียนเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2562 มุ่งเน้นให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้านกระดูกและข้อ อย่างครบครัน ชูคอนเซ็ปต์ Advanced Total Joint Care: เรื่องข้อครบ จบที่เดียว
โดยนำเทคนิคและนวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า-ข้อสะโพกเทียม ที่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์และคุณภาพชีวิตที่ดีกับผู้ป่วย อาทิ การใช้ Digital Template Program วางแผนในการผ่าตัด Pre-operative planning program การใช้ระบบนำวิถีเนวิเกเตอร์นำร่องในขณะการผ่าตัด (Non-Invasive Navigation System) ร่วมกับเทคนิคระงับปวด (Pain Intervention Technique) และ ERAS Program (Enhanced Recovery After Surgery โปรแกรมช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว ในทุกขั้นตอน ก่อน-ระหว่าง-หลังผ่าตัด) ด้วยทีมแพทย์สหสาขา ผู้ชำนาญการเฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ ผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยห้องผ่าตัด “Hybrid Operating Room” เป็นห้องผ่าตัดทันสมัยที่รวมเอาเทคโนโลยีขั้นสูงของการผ่าตัดไว้ด้วยกัน ช่วยให้ผู้ป่วยได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่เป็นอย่างดี บาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวไวซึ่งในปัจจุบัน ได้ให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมาแล้วมากกว่า 1,000 ราย
นพ. สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านข้อสะโพกและข้อเข่า ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล อธิบายว่า โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Arthritis) จะมีอาการปวดเข่า เข่าบวม เข่าอักเสบ เดินแล้วมีเสียงก๊อบแก๊บในข้อเข่า ไม่สามารถยืดหรือเหยียดขาได้สุด รวมทั้งการเดินขึ้นลงบันไดที่ลำบาก เกิดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิง การที่มีน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งในเพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย การได้รับแรงกระแทกซ้ำ ๆ ที่ข้อเข่า การเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณข้อเข่าและพันธุกรรม ถ้าผิวของข้อเข่าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการอักเสบของข้อเข่าหรืออุบัติเหตุ จะรู้สึกปวดแม้ขณะนั่งหรือนอน แพทย์จะการตรวจวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อม ทำได้โดย การซักประวัติสุขภาพ รวมทั้ง การตรวจร่างกาย ตรวจการทำงานของเข่า เช่น X-ray เพื่อดูพยาธิสภาพ ความเสียหายของเข่าที่เสื่อม การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูสภาพของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ รอบกระดูก
การรักษาข้อเข่าเสื่อม นพ.สมบัติ กล่าวว่า การรักษาข้อเข่าอักเสบจะเริ่มจาก เปลี่ยนวิธีการใช้งาน ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดและกระแทกที่เข่า เช่น การนั่งยองๆ คุกเข่า ขึ้นลงบันได วิ่ง หรือการยกของหนัก รวมทั้ง
รับประทานยาเพื่อลดการอักเสบในเข่า พร้อมกับ การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้เข่ามีการเคลื่อนไหวที่มั่นคง ถ้าการรักษาไม่ได้ผล อาจพิจารณา ฉีดยาเข่าในข้อเข่าเพื่อลดการอักเสบและเพื่อเพิ่มการหล่อลื่นในเข่า เช่น ยาสเตียรอยด์ หรือน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมสังเคราะห์ หากยังไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
สำหรับ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) มีการพัฒนาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทั้งในด้านเทคนิคการผ่าตัด และวัสดุข้อเทียมที่ใช้ ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูง ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวไว พร้อมกลับไปใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ โดยจะตัดเอาผิวข้อที่เสียออกและใช้ผิวข้อเทียมที่ทำด้วยโลหะและมีส่วนพลาสติกกันระหว่างผิวโลหะ เพื่อกันการกระแทกและลดแรงเสียดสีระหว่างผิวข้อ โดยใช้ข้อเทียมรุ่นมาตรฐานและรุ่น พรีเมี่ยมที่มีคุณภาพและอายุการใช้งานได้นานประมาณ 15-20 ปีขึ้นไป”
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ที่ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมด้วยทีมแพทย์สหสาขา เช่น วิสัญญีแพทย์ แพทย์กายภาพบำบัด และ อายุรแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม ครบทุกมิติ ด้วย มาตรฐานการดูแลรักษาระดับสากลที่ได้รับการรับรอง (Program Certificate สำหรับ Total Knee Replacement Program)
โดย JCI ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (digital template / pre-operative planning program) เพื่อวางแผนให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างถูกต้อง ช่วยระบุเลือกขนาด และตำแหน่งของข้อเทียมได้อย่างตรงจุด ร่วมกับ เทคนิคระงับปวด (pain intervention technique) เช่น การบล็อคเส้นประสาท และการใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (เป็นกรณีทางเลือกเสริมสำหรับการระงับอาการปวดหลังผ่าตัด) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย หรือไม่เจ็บเลย ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง ตลอดจน ผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่ำ เช่น ลดการทำลายเส้นประสาท ลดโอกาสการติดเชื้อหลังผ่าตัด และลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไว สามารถเดินได้ภายใน 24 ชม. หลังผ่าตัด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ในปีนี้ เนื่องในโอกาสครบ 50 ปี BDMS ได้มอบแพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า BDMS Total Knee Replacement (1ข้าง) ราคา 250,000 บาท รวมข้อเข่าเทียม 1 ชุด (ตามรุ่นที่กำหนด) อุปกรณ์ช่วยเดิน 1 ชิ้น รวมค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี ค่าห้องผ่าตัด ค่ากายภาพบำบัดระหว่างการรักษาที่รพ. ค่ายากลับบ้าน(ที่เกี่ยวกับการผ่าตัด) ค่าอาหาร (ตามกำหนด) และห้องพัก 4 คืน (รวมห้อง ICU 1 คืน) ฯลฯ พร้อมด้วยโปรโมชั่น Be Strong For Surgery ด้วยสิทธิประโยชน์อีก 6 รายการ เช่น ฟรี! การตรวจประเมินความพร้อมเตรียมตัวก่อนผ่าตัด (medical clearance) ฟรี! การตรวจ COVID-19 ก่อนผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยและญาติเฝ้าไข้ 1 ท่าน ฟรี! ค่าทำแผลหลังผ่าตัด 1 ครั้ง (ไม่รวมค่าแพทย์ผู้ป่วยนอก) และบัตรของขวัญ มูลค่ารวม 5,000 บาท สำหรับรักษาที่รพ.ในครั้งถัดไป และอื่นๆ อีก 2 รายการ สามารถซื้อแพ็กเกจนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2565 ใช้บริการผ่าตัดได้ถึง 31 สิงหาคม 2565
นอกจากอาการปวดเข่าแล้ว ปัญหาวัยเก๋าที่หลายคนมีคืออาการปวดสะโพก ทำให้เดินขึ้นหรือลงบันไดไม่สะดวก หรือไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้ เช่น การออกกำลังกายต่างๆ การออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของข้อสะโพกเสื่อม ส่งผลให้ใช้ชีวิตลำบาก คุณภาพชีวิตแย่ลง
สำหรับการรักษาข้อสะโพกเสื่อมได้มีการนำเทคนิคแนวใหม่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยไม่ตัดกล้ามเนื้อด้วยเทคนิค Direct Anterior Approach (DAA) พร้อมการใช้นวัตกรรม Non-Invasive Hip Navigation เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และเลือกใช้วัสดุข้อเทียมที่เหมาะสม นพ. พนธกร พานิชกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านข้อสะโพกและข้อเข่า ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล อธิบายให้ฟังว่า เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เอาส่วนของข้อสะโพกที่เสียหายออกและแทนที่ด้วยข้อสะโพกเทียมที่สร้างขึ้นจากชิ้นส่วนที่แตกต่างกันหลายชนิด โดยศัลยแพทย์จะเลือกขนาดและวัสดุของข้อสะโพกเทียมที่ดีที่สุดและเหมาะสมให้กับผู้ป่วยในแต่ละบุคคล
โดยทางโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลได้เป็นผู้ริเริ่มนำเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2015 โดยได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยด้วยเทคนิคนี้ไปแล้วมากกว่า 700 ราย และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สำหรับเทคโนโลยีใหม่ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือ DAA (Direct Anterior Approach) นั้น ศัลยแพทย์จะใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถีรุ่นใหม่ เรียกว่า Velys™Hip Navigation ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ เพื่อช่วยระบุตำแหน่งของข้อสะโพกเทียมในขณะผ่าตัดให้ตรงตำแหน่งมากขึ้น เลือกขนาดและวัสดุของข้อเทียมให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล และยังช่วยผ่าตัดให้ผู้ป่วยมีความยาวขาทั้งสองข้างให้เท่ากันหลังผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะกระดูกของผู้ป่วยเหมือนระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีหรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นอื่นๆ ในอดีต ทำให้ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่น้อยลงและฟื้นตัวได้ไวกว่าเดิม
นอกจากนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ยังเป็นผู้ริเริ่มนำข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Actis® Total Hip System ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ ซึ่งตัวข้อเทียมจะมีผิวสัมผัสที่ทำให้กระดูกเข้าไปยึดติดกับข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้นกว่าเดิม มีจะงอย (Collar) ที่ป้องกันไม่ให้ข้อสะโพกเทียมจมหลังผ่าตัด และลดผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะผ่าตัดลงได้ ทำให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
“เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้วแนวแผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณหน้าต้นขา ซึ่งอาจจะเห็นแผลได้ง่าย แต่ด้วยเทคนิคการลงแผลแบบใหม่ จะมีการซ่อนแผลผ่าตัดใต้ต่อขาหนีบหรือที่เรียกว่า BIKINI Incision ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก” มีความแนบเนียน เพราะแผลผ่าตัดขนาดเล็กจะอยู่ด้านหน้าบริเวณขาหนีบ ซ่อนใต้แนวกางเกงใน ทำให้ไม่เห็นรอยแผลเมื่อใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดว่ายน้ำ
รวมไปถึง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลง สามารถฟื้นตัวได้ไวขึ้น เดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่มีการตัดกล้ามเนื้อ ตลอดจน ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้น อัตราการหลุดของข้อสะโพกเทียมต่ำมาก มีความยาวขาที่เท่ากันหลังผ่าตัด มีขนาดแผลที่เล็ก สวยงาม สามารถซ่อนแผลผ่าตัดใต้ขาหนีบ และยังสามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ทั้งสองข้างพร้อมกันอีกด้วย ช่วยให้ผู้ป่วยการเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้ดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โทร. 02-310-3731 contact center โทร.1719