ถอดบทเรียนช่วยเหลือสังคมต่อสู้โควิด-19 ด้วยการรีไซเคิลขวด PET พร้อมส่งเสริมการจัดการขยะพลาสติก

หลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 มายาวนานกว่า 2 ปี ประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกกำลังผ่อนคลายข้อมาตรการป้องกัน และเปลี่ยนผ่านไปสู่ โรคเฉพาะถิ่น  อย่างไรก็ตาม หากย้อนมองในขณะที่เราได้เผชิญกับความยากลำบากและผลกระทบมากมายจากการแพร่เชื้อไวรัสนี้ เราก็ได้รับบทเรียนและการเรียนรู้ที่มากมายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นมาจากการกรณีศึกษาของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์มาตรฐานระดับโลกที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้COVID-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นเป็นแนวทางในการสนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย 

โดยโครงการนำร่องในปี 2564 ไอวีแอลได้ร่วมมือกับพันธมิตร 14 องค์กร และผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 1,597 คน ในโครงการบริจาคชุด PPE จำนวน 8,000 ชุด และชุดเครื่องนอน จำนวน 1,000 ชุด ซึ่งผลิตจากขวด PET หลังการบริโภคจำนวน 9.35 ตัน ที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) แปรรูปเป็นเส้นด้าย จากนั้นนำไปถักทอเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% และนำไปเคลือบสารสะท้อนน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

สิ่งที่ทำให้ชุด PPE เหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือไม่เพียงแต่การได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสถาบันสิ่งทอแห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตภัณฑ์ PPE ที่เหมาะสำหรับใช้งานทางการแพทย์ ซึ่งสามารถซักและนำมาใช้ซ้ำได้ถึง 20 ครั้ง นอกจากนี้ ยังสามารถลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมที่มาจากการใช้ชุด PPE แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการนี้ ซึ่งดำเนินการโดย Social Value Thailand (SVTH) แสดงให้เห็นว่า การใช้ PET รีไซเคิลเพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวน 244.48 ตัน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 27,142 ต้น และเนื่องจากชุด PPE จำนวน 8,000 ชุดนี้ สามารถนำไปซักและนำมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย นั่นหมายความว่า เราสามารถลดการใช้ชุด PPE แบบใช้แล้วทิ้งได้มากถึง 240,000 ชุด ทั้งนี้ SVTH เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลกที่มุ่งเน้นการประเมินคุณค่าและผลกระทบทางสังคม การจัดการโครงการ รวมถึงวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Social Return on Investment – SROI) ของโครงการบริจาคชุด PPE ของไอวีแอลตลอดทั้งวงจร ซึ่งความสำเร็จนี้นำไปสู่การเป็นโครงการนำร่อง และกรณีศึกษา ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET

ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดปริมาณของเสียจากการรักษาพยาบาลและบริการทางการแพทย์อีกด้วย นี่เป็นข้อพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมว่า ขวด PET หลังการบริโภคนั้นสามารถนำมารีไซเคิลได้อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิลได้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ในด้านสุขอนามัยและคุณภาพ

 ไอวีแอลต้องการยกระดับองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของเราในธุรกิจรีไซเคิล PET เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อคิดค้นนวัตกรรมชุด PPE และชุดเครื่องนอน ที่ทำจากเส้นด้ายรีไซเคิล PET เนื่องจากขยะทางการแพทย์และขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่  ไอวีแอลจึงต้องการนำเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการใช้ประโยชน์จากการรีไซเคิลเพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสะท้อนบทพิสูจน์ว่า ขวด PET หลังการบริโภคสามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิลทุกประเภท ในด้านสุขอนามัยและคุณภาพ” ยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าว

สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบัน Social Value Thailand องค์กรที่ดำเนินงานวิจัยนี้ กล่าวว่า จากผลการประเมิน SROI ของโครงการบริจาคชุด PPE ที่ผลิตจากเส้นด้าย PET รีไซเคิล พบว่า โครงการดังกล่าวสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจถึง 7.55 เท่า ประการแรก คุณค่าทางสังคมคิดเป็น 72.6% ของผลประโยชน์ทั้งหมด การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ชุมชนทางการแพทย์มีความมั่นใจในการใช้ชุด PPE ที่ผลิตจากเส้นด้าย PET รีไซเคิล ช่วยลดขยะทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังสะท้อนถึงความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประชาชนรู้สึกมั่นใจในความสะอาดและประโยชน์ของการใช้ PET รีไซเคิล  ในด้านเศรษฐกิจ โครงการส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่ารวม 23.7% ของการดำเนินงานทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจากการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก PET รีไซเคิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนในการจัดซื้อชุด PPE และการจัดการขยะพลาสติก PET ในชุมชนหรือสังคมอีกด้วย”

“ที่สำคัญ โครงการนี้ยังสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถลดปริมาณขยะขวด PET ในชุมชนหรือองค์กรต่างๆ และลดการใช้ชุด PPE แบบใช้แล้วทิ้งได้มากถึง 240,000 ชุด รวมถึงสามารถลดขยะฝังกลบได้มากกว่า ตัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ของ PET รีไซเคิล ผลลัพธ์เหล่านี้สะท้อนถึงกลไกที่ริเริ่มโดยไอวีแอล ที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าร่วมกัน และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน นอกจากนี้ โครงการยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ข้อ 12 (SDG12) ที่มุ่งสร้างความร่วมมือในสังคม ชุมชน และผู้บริโภค” สกุลทิพย์กล่าว

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ชุด PPE รีไซเคิลได้รับความไว้วางใจจากชุมชนทางการแพทย์ว่าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ความสำเร็จนี้นำไปสู่โครงการนำร่องและกรณีศึกษาที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิล ในขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณของเสียจากการรักษาและการบริการทางการแพทย์ได้

ไอวีแอลมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของเราในการเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิลเป็น 5 หมื่นล้านขวดต่อปีภายในปี 2568 เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนสำหรับพลาสติก และตั้งใจที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการลดปริมาณขยะ และโครงการชุด PPE นี้แสดงให้เห็นว่า PET รีไซเคิลมีส่วนสนับสนุนด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก และยกให้เป็นกรณีการใช้งาน PET รีไซเคิลเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง” ยาช กล่าวสรุป