วันนี้เราได้มีโอกาสได้พูดคุยกับศาสตราจารย์ ดร. เอียน เฟนวิค (Prof. Ian Fenwick, Ph.D.) ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ คุณณิชาภัทร อาร์ค ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย Openspace Ventures และ Dr. Andrew Stotz ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท A. Stotz Investment Research สองกรรมการเวทีการแข่งขัน “SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2022 – Global Competition” ที่ได้มาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขันในครั้งนี้
เริ่มกันที่ดร. เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
Q: ความเป็นมาและจุดประสงค์หลักของการจัดงานต่อเนื่องกว่า 20 ปี พร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดความยั่งยืนในโลกปัจจุบัน?
“ศศินทร์จัดการแข่งขัน Bangkok Business Challenge การแข่งขันแผนธุรกิจ Startup สำหรับนิสิตนักศึกษาขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 และปีนี้ศศินทร์ครบรอบ 40 ปีจึงเป็นปีประวัติศาสตร์ของศศินทร์ การแข่งขันนี้เป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาและผลักดันให้นำแนวคิดแบบผู้ประกอบการมาใช้เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนความยั่งยืน (Sustainability) เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากธุรกิจต่างๆ ยังไม่คำนึงถึงและยังไม่เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนตั้งแต่ตอนนี้ ทุกอย่างจะสายเกินแก้ไขในการแข่งขันนี้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถสร้างแรงบันดาลใจและได้เชื่อมโยงกันและกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง วิธีคิด และวิธีในการดำเนินธุรกิจ เพื่อโลกที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืนขึ้น ซึ่งพวกเขาสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในธุรกิจใหญ่หรือ Startup ของตัวเองก็ตาม”
ด้านกรรมการตัดสินการแข่งขันปีนี้ อย่าง คุณณิชาภัทร อาร์ค ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย Openspace Ventures
Q: สำหรับการแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin ในปีนี้ผู้เข้าแข่งขันเป็นอย่างไร มีความยากง่ายในการตัดสินการแข่งขันอย่างไร?
“ขอยอมรับว่าการเลือกทีมที่ดีที่สุดจากกว่า 120 ทีมจาก 19 ประเทศ 5 ทวีปเป็นสิ่งที่ยาก เพราะมีการนำเสนอไอเดียที่สร้างสรรค์ที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ จากหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีบางโปรเจคได้เริ่มขายสินค้า/บริการไปแล้ว และกำลังเติบโตหรือมี partnerships ที่แข็งแรง”
Q: อะไรคือความท้าทายและปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับ Startup ในปัจจุบัน?
“ความท้าทายของ Startup ส่วนใหญ่จะเหมือนกันไม่ว่ายุคไหน พวกเขาต้องพร้อมรับมือกับปัญหาต่างๆ ด้วยโซลูชั่นที่สร้างสรรค์และมีโมเดลธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ทั้งในปัจจุบันในอนาคต”
Q: คิดอย่างไรกับการเติบโตของ Startup ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ รวมทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของพวกเขา?
“ข้อได้เปรียบหลักของ Startup ในประเทศไทย คือนอกเหนือจากบริษัทร่วมทุนทางการเงิน (VCs) แล้วนั้นบริษัทใหญ่ๆ ในประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมงานหรือลงทุนใน Startup ไทย อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักคือการขาดแคลนผู้มีทักษะด้านเทคโนโลยีและทักษะด้านการประกอบธุรกิจเข้ามาร่วมงานกับ Startup จึงไม่ง่ายเลยสำหรับ Startup ไทยที่จะสามารถพัฒนาหาโซลูชั่นที่มีความเด่นด้านเทคโนโลยีและมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนเป็นที่ดึงดูดให้ VCs เข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วย”
มาที่ฝั่งของ Dr. Andrew Stotz ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของบริษัท A. Stotz Investment Research
Q: มีความเห็นอย่างไรกับผู้ทีมเข้าแข่งขันในปีนี้ มีประเด็นไหนที่อยากชี้แนะปรับปรุงบ้าง?
“ปีนี้ผมรู้สึกว่าดีกว่าปีก่อนๆ ทีมนิสิตนักศึกษานำเสนอผลงานได้ดีทีเดียว การตัดสินในรอบสุดท้ายนั้นยากมาก เพราะผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศทำได้สูสีกันมาก ทั้งสองทีมมีแนวคิดที่ดีมากและเป็นรูปธรรม ส่วนในเรื่องของการปรับปรุงนั้นเข้าใจว่าทีมนิสิตนักศึกษาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน แต่นี่เป็นสิ่งที่ที่ปรึกษาทีมสามารถช่วยเตรียมความพร้อมได้ผมขอแนะนำว่าในด้านการเงินขอให้ทีมสามารถอธิบายเรื่องรายได้ในอีกห้าปีข้างหน้าให้ได้อย่างชัดเจน ต้องแสดงให้เห็นว่ารายได้จะมาจากไหน สินค้าหรือบริการอะไร ประเทศไหน ภูมิภาคไหน จะได้เข้าใจถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ในภาพรวม”
Q: ช่วยให้ข้อมูลอธิบายวิธีการยกระดับธุรกิจให้มีความยั่งยืน และเหตุใดความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทุกธุรกิจในปัจจุบันควรให้ความสำคัญ?
“ความยั่งยืนคือการหลีกเลี่ยงการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากเพราะเราใช้ทรัพยากรตลอดเวลา แนวคิดที่ให้ธุรกิจ Startup เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนก็ป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นสิ่งที่บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถรับได้ ต้องเป็นองค์กรใหญ่ๆ ที่รับไหว ผมไปบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งที่เน้นเรื่อง ESG ในห้องน้ำมีทั้งที่กดสบู่ไฟฟ้า ที่กดน้ำไฟฟ้า เครื่องเป่ามือไฟฟ้า สุขภัณท์ไฟฟ้า เครื่องฟอกอากาศไฟฟ้า รวมเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า 5 ชนิด ผมสงสัยว่าความยั่งยืนอยู่ที่ไหนครับ สิ่งของธรรมดาที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหายไปไหน ความยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่การทำเครื่องหมายถูก แต่เป็นการหาทางที่จะไม่ทำให้ทรัพยากรโลกหมดไป”
Q: คุณคิดว่า disruption นั้นมีผลกระทบอย่างไรกับ Startup ในภาพรวม?
“Disruption ในปัจจุบันได้กลายเป็นคำด้านบวกไปแล้วทั้งๆ ที่ผ่านมาใช้เป็นคำด้านลบ เช่นเราไม่ต้องการคนที่จะมา disrupt ธุรกิจของเรา ไม่ต้องการ disruption ในแวดวงอุตสาหกรรมของตัวเอง แต่ทุกวันนี้เห็นเป็นด้านบวก เช่นพวกเราต้อง disrupt อีกตัวอย่างหนึ่งคือเดี๋ยวนี้คนพูดง่ายๆ ว่าฉันกำลังพัฒนาแอปฯ ใช้เทคโนโลยีล้ำยุค แต่การนำเทคโนโลยีที่ดีมาใช้จริงก็ยังยากพอๆ กับเมื่อ 5-10 ปีที่แล้วซึ่งผมสงสัยว่า Startup จะทำได้จริงหรือเปล่า”
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://bbc.sasin.edu/2022/หรือ Facebook page: bangkokbusinesschallenge