ทวิตเตอร์เผยบทสนทนาอาหารและเครื่องดื่มในไทยโต 26% แนะ 3 อินไซต์มัดใจผู้บริโภค

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มช่วงก่อนโควิด-19 มีสัดส่วนประมาณ 23%[1] ของ GDP และมีมูลค่า ราว 2.6 ล้านล้านบาท[2] จากการศึกษาของ HKTDC Research[3] พบว่า 91% ของผู้บริโภคชาวไทยวางแผนใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มมากขึ้นหรือเท่าๆ กับที่ใช้อยู่ในขณะนี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า นอกจากนั้น รายงานจาก GlobalWebIndex ไตรมาส 2 ปี 2565 ระบุแนวโน้มผู้คนบนทวิตเตอร์สนททนาเกี่ยวกับอาหารและมีความสนใจในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปถึง 15%[4]

ทีน่า แปง หัวหน้าฝ่าย Client Solutions ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า “บทสนทนาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและเป็นหัวข้อที่ขับเคลื่อนด้วยความรักที่มีต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาหารของชาวไทย เราพบว่าบทสนทนาที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นถึง 26% เมื่อเทียบกับปีก่อน หลายๆ แบรนด์กำลังใช้ประโยชน์จากพลังของบทสนทนาบนทวิตเตอร์ในการเชื่อมต่อและสร้างเอ็นเกจเมนต์กับกลุ่มเป้าหมาย และยังช่วยเพิ่มผลลัพธ์ความสำเร็จจากการทำแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์”

เจาะลึก 3 อินไซด์สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคสายอาหารและเครื่องดื่ม

  1. บทสนทนาบนทวิตเตอร์ช่วยกระตุ้นความต้องการ

คนไทยชอบทวีตเกี่ยวกับอาหาร พร้อมทั้งการแชร์สิ่งใหม่ๆเทรนด์อาหารล่าสุด อาหารที่ต้องลอง การทวีตการรีวิวอย่างตรงไปตรงมา และยังแบ่งปันเคล็ดลับในการทำอาหาร ตลอดจน แจกสูตรอาหาร มีการพูดคุยและเชื่อมต่อกันผ่านบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารนานาชนิดและสารพัดเครื่องดื่มทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้บริโภคที่มีแพสชั่นในเรื่องอาหารต่างเข้าร่วมบทสนทนาในชุมชนอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเข้าไปพูดคุยกับคนอื่นและจุดประกายบทสนทนาที่ทำให้ทวิตเตอร์ลุกเป็นไฟ โดยเมื่อไม่นานมานี้ “แจ็คสัน หวัง” (@JacksonWang852) ได้มาเยือนกรุงเทพฯ ซึ่งหลังจากที่เขาพูดถึงการออกไปกินอาหารมื้อดึก แฟนคลับก็รีบเปลี่ยนจากบทสนทนาที่เกี่ยวกับเพลงของแจ็คสันมาเป็นเรื่องของอาหารกันทันที หลังจากนั้นชาวทวิตภพได้มีการทวีตแชร์เมนูที่พี่แจ็คสั่ง, เมนูอาหารไทยที่พี่แจ็คสั่งมากิน และยังทวีตแจกสูตรอาหารตามรอยพี่แจ็ค ให้กับแฟนคลับคนอื่นๆอีกด้วย

  1. บทสนทนาเรื่องอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์เกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง

บทสนทนาที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์ประเทศไทยเติบโตขึ้น 26%[5] และเกิดขึ้นตลอด24 ชั่วโมง และยังพบว่าช่วงเวลามีการทวีตมากที่สุดคือ 9 โมงเช้า และบ่าย 3 โมง โดยบทสนทนาจะเพิ่มอีกครั้งอย่างต่อเนื่องทั้งคืนจนถึงช่วงเช้าตรู่ เพราะว่าผู้บริโภคจะเข้ามาพูดคุยถึงของว่างมื้อดึกซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ใช้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ได้

ความต้องการอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาตามเทศกาลต่างๆ เนื่องจากเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ถูกพูดมากที่สุด เช่น อาหารสำหรับฉลองในวันวาเลนไทน์อาหารจีนเลิศรสในเทศกาลตรุษจีน, แชร์แผนการทำอาหารในช่วงคริสต์มาสขนมปีใหม่ที่ต้องไม่พลาด และเมนูเครื่องดื่มที่มีเฉพาะช่วงเทศกาล

ทั้งนี้ บทสนทนาที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มยังสามารถจุดประกายได้ตลอดเวลา เช่น หลังจบแมตช์รายการใหญ่หรือหลังสอบไฟนอลเสร็จแล้วผู้คนก็จะฉลองกันด้วยอาหาร หรือบางคนตามรอยเทรนด์อาหารจากไอดอล ล่าสุดที่กลายเป็นประเด็นฮอตในบทสนทนาเมื่อลิซ่า Blackpink พูดถึง โรตีสายไหม อยุธยา ทวิตเตอร์ก็แทบลุกเป็นไฟเพราะแฟนๆ เข้ามาแชร์ร้านโรตีสายไหมเจ้าอร่อย บ้างก็ทวิตถึงโรตีที่ชอบกิน และโรตีที่เคยเป็นความทรงจำในวัยเด็ก

  1. การตัดสินใจซื้อสินค้าบนทวิตเตอร์เป็นเรื่องที่ละเอียดและลึกซึ้ง

ทวิตเตอร์เปรียบเสมือนบ้านที่เป็นแหล่งรวมของอาหารและเครื่องดื่มสำหรับคนไทย และยังเป็นการเปิดโอกาสให้แบรนด์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังมี 5 เคล็ดลับที่จะช่วยแบรนด์เพิ่มพลังให้กับแคมเปญอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์ประเทศไทยดังนี้

1) รู้จักกลุ่มเป้าหมาย

การเข้าร่วมบทสนทนาของอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์จะทำให้ได้รู้จักกับกลุ่มเป้าหมายว่าพวกเขาชอบอะไรและไม่ชอบอะไร แบรนด์ควรพิจารณาว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังพูดถึงเรื่องอะไรและพูดกันเมื่อไหร่ แล้วปรับแคมเปญให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

2) ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาสำคัญ

ทวิตเตอร์พบว่า 70% ของผู้คนบนทวิตเตอร์ประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันหยุด[6] และ 61% วางแผนที่จะใช้จ่ายในเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม[7]ยกตัวอย่าง เลย์ประเทศไทย (@laysthailand)
ที่ใช้ประโยชน์จากวันแห่งมันฝรั่งทอด “Potato Chip Day” ในการสร้างเอ็นเกจเมนต์ด้วยคอนเทนต์ที่สนุกๆ

3) เป็นคนแรกที่นำเทรนด์

การที่แบรนด์เข้าไปมีส่วนร่วมกับบทสนทนาและสร้างเอ็นเกจกับกลุ่มเป้าหมายในเรื่องอาหารและเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์จะช่วยให้แบรนด์สามารถระบุถึงเทรนด์ที่กำลังมาและสามารถเพิ่มปริมาณของบทสนทนาที่เกี่ยวกับแบรนด์ได้เร็วขึ้นและสามารถนำบทสนทนานั้นมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น วอลล์ประเทศไทย (@Walls_Thailand) ที่มองเห็นโอกาสจากอากาศร้อนในเดือนเมษายนปีนี้ จึงได้ออกแคมเปญต้อนรับซัมเมอร์ที่สอดคล้องบนทวิตเตอร์

4) สร้างแคมเปญให้บรรลุเป้าหมายของแบรนด์

หากต้องการกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ใหม่หรือแบรนด์ใหม่ การใช้ทั้งคลิปวิดีโอและรูปภาพในการทำแคมเปญบนทวิตเตอร์จะสามารถเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์มากขึ้น 1.5 เท่า และถ้าต้องการเพิ่มเอ็นเกจเมนต์ให้มากขึ้น การโฆษณาด้วยรูปแบบที่หลากหลายบนทวิตเตอร์จะช่วยเพิ่มความชื่นชอบที่มีต่อแบรนด์ให้เพิ่มขึ้นถึง 3.8 เท่า

5) สร้างการมีส่วนร่วมผ่านเครื่องมือโฆษณาที่หลากหลาย

ปัจจุบันต้องใช้แคมเปญที่มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การผสมผสานคลิปวิดีโอบนทวิตเตอร์ การโฆษณาแบบ Takeover และการทำคอนเท้นท์ที่แปลกใหม่จึงจะสามารถสร้างผลลัพธ์ให้กับแคมเปญของแบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม ทวิตเตอร์พบว่าชาวทวิตภพที่ชื่นชอบเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม 57% จะดูคลิปวิดีโอ 54% มีเอ็นเกจกับโฆษณาแบบ Takeover และ 47% จะรีทวีตข้อความที่ตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม[8]

[1] ที่มา: ASEAN Food and Beverages Sector Brief, Thailand.

[2] ที่มา: The Food and Beverage Market Entry Handbook: Thailand.

[3] ที่มา: ผลการศึกษาของ HKTDC

[4] ที่มา: GlobalWebindex ไตรมาส 2 ปี 2565

[5] ที่มา: Brandwatch บทสนทนาในประเทศไทย ระหว่างพฤษภาคม 2563 – เมษายน 2564 เปรียบเทียบกับ พฤษภาคม 2564 – เมษายน 2565

[6] ที่มา: Twitter Holiday TIS ก.ย. 2564 ประเทศไทย

[7] ที่มา: Twitter Holiday TIS ก.ย. 2564 ประเทศไทย

[8]  ที่มา: ดัชนี, GWI, ไตรมาส 4 2564