กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ ประกาศผลประกอบการสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สำหรับครึ่งแรกของปี 2565-2566

  • กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์: ได้รับผลกำไรครึ่งปีแรก อยู่ที่ 4.2 พันล้าน AED (US$ 1.2 พันล้าน) สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง หลังจากการสูญเสียรายได้ 5.7 พันล้าน AED (US $ 1.6 พันล้าน) ในปีที่ผ่านมา โดยมีรายรับเพิ่มขึ้น 128% คิดเป็น 56.3 พันล้าน AED (US$ 15.3 พันล้าน)
  • สายการบินเอมิเรตส์: มีรายรับเพิ่มขึ้น 131% เป็น 50.1 พันล้าน AED (US$ 13.7 พันล้าน) และกำไร 4 พันล้าน AED (US$ 1.1 พันล้าน) เทียบกับ 5.8 พันล้าน AED (US$ 1.6 พันล้าน) ที่ขาดทุนในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสายการบินในการตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วภูมิภาค ด้วยการเพิ่มเที่ยวบินและผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง
  • dnata: รายรับเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คิดเป็น 7.3 พันล้าน AED (US$ 2.0 พันล้าน) ได้กำไร 236 ล้าน AED (US$ 64 ล้าน) เทียบกับ 85 ล้าน AED (US$ 23 ล้าน) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อต้นทุนทั่วทั้งธุรกิจลดทอนกำไร ถึงแม้การดำเนินงานที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น

ล่าสุด กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ (Emirates Group) ประกาศผลประกอบการครึ่งปี สำหรับปีงบประมาณ 2565-2566

กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ ได้รับผลกำไรสุทธิครึ่งปี 2565-66 เป็นเงินจำนวน 4.2 พันล้าน AED (1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งถือเป็นประวัติการณ์ของผลการดำเนินงานภายในครึ่งปี และการฟื้นตัวเกือบ 10 พันล้าน AED จากที่ได้ขาดทุนไปกว่า 5.7 พันล้าน AED (1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ ยังระบุว่าผล EBITDA อยู่ที่ 15.3 พันล้าน AED (4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 5.6 พันล้าน AED (1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกำไรจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม

รายรับของ กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ อยู่ที่ราว 56.3 พันล้าน AED (15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2565-66 เพิ่มขึ้น 128% จาก 24.7 พันล้าน AED (6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการได้รับแรงหนุนจากความต้องการขนส่งทางอากาศทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นตามการผ่อนปรนและการยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ที่ผ่านมา

กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ ปิดตัวผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565-2566 อยู่ที่ราว 32.6 พันล้าน AED (8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปิดงบการเงินครึ่งปีด้วยสถานะเงินสดที่แข็งแกร่ง หากเทียบกับ 25.8 พันล้าน AED (7.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ วันที่ 31 มีนาคมในปีเดียวกัน โดย กลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ สามารถใช้เงินสดสำรองนี้เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ รวมถึงการชำระหนี้และภาระผูกพันที่เป็นผลจากการระบาดใหญ่ได้อีกด้วย

ท่านชีค อาห์เมด บิน ซาอีด อัลมักตูม ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินและกลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ กล่าวว่า “ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในช่วงหกเดือนแรกของปี 2565-66 เป็นผลมาจากการวางแผนล่วงหน้า การตอบสนองทางธุรกิจที่คล่องตัว และความพยายามของพนักงานที่มีความสามารถและมุ่งมั่นของเรา

“เราจำเป็นต้องเร่งการดำเนินงานและฟื้นตัวลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ให้รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้นเมื่อหลายประเทศผ่อนคลายและยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง ซึ่งเราพร้อมที่จะเป็นผู้นำกลุ่มแรกในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแข็งแกร่งด้วยแผนธุรกิจที่มีคุณภาพ ตลอดจนการสนับสนุนจากพันธมิตรในอุตสาหกรรมของเรา และการลงทุนอย่างต่อเนื่องในบุคลากร เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์และการบริการ

“ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เรายังคงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูการดำเนินงานของเราให้กลับสู่ระดับเดิมก่อนเกิดโรคระบาด รวมถึงการสรรหาทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เราคาดว่าความต้องการของลูกค้าในแผนกธุรกิจของเราจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในครึ่งปีหลังปี 2565-66 อย่างไรก็ตาม การดำเนินการสู่เป้าหมายย่อมพบอุปสรรคเสมอ ดังนั้นเรากำลังจับตาดูต้นทุนเงินเฟ้อและความท้าทายมหภาคอื่น ๆ เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าและนโยบายการคลังของตลาดหลัก อย่างใกล้ชิด โดยเราคาดว่าจะกลับสู่แนวทางการเติบโตและผลกำไรที่ตั้งไว้เมื่อสิ้นสุดปีงบการเงินเต็มของเราได้อย่างแน่นอน”

นอกจากนี้ ฐานพนักงานของกลุ่มบริษัทเอมิเรตส์ ณ วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา เติบโตขึ้น 10% คิดเป็นจำนวนรวม 93,893 คน เมื่อเทียบกับวันที่ 31 มีนาคม ในปีเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นทั้งเอมิเรตส์และ dnata ได้เริ่มดำเนินการในการสรรหาบุคลากรตามเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและดำเนินการให้สอดคล้องกับความสามารถและกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

สายการบินเอมิเรตส์

เอมิเรตส์ยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเครือข่ายผู้โดยสารทั่วโลกและการเชื่อมต่อผ่านศูนย์กลางในดูไบ โดยเริ่มกลับมาให้บริการอีกครั้ง และเพิ่มเที่ยวบินให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก

ในเดือนมิถุนายน สายการบินเอมิเรตส์ได้เปิดตัวจุดหมายปลายทางใหม่ไปยังเทลอาวีฟ อีกทั้ง เอมิเรตส์ยังได้เปิดตัวข้อตกลงร่วมและข้อตกลงระหว่างสายการบินกับ 12 สายการบินในช่วงหกเดือนแรกของปี 2565-66 ได้แก่ แอร์ลิงค์, อีเจียน แอร์ไลน์, ไอทีเอแอร์เวย์, แอร์ เบลติก, แอร์แคนาดา, แบมบูแอร์เวย์, บาติกแอร์, ฟินน์แอร์, รอยัล แอร์ โมร็อค, สกาย เอ็กซ์เพรส, ซัน คันทรี แอร์ไลน์ และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์

ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา สายการบินได้ให้บริการผู้โดยสารและขนส่งสินค้าไปยังสนามบิน 140 แห่ง โดยใช้เครื่องบินโบอิ้ง 777 ทั้งหมดของสายการบิน และแอร์บัส A380 อีกจำนวน 73 ลำ

จำนวนผู้โดยสารโดยรวมในช่วงหกเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 40% คิดเป็น 22.8 พันล้านตัน ของปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (Available Seat Kilometers: ASKM)  ซึ่งเป็นผลจากการขยายโปรแกรมการบินหลังได้มีมาตราการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางของแต่ละประเทศ ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารที่วัดได้จาก ASKM เพิ่มขึ้นกว่า 123% ในขณะที่จำนวนการเดินทางของผู้โดยสารที่วัดจากปริมาณการขนส่งด้านผู้โดยสาร (Revenue Passenger Kilometer: RPKM) เพิ่มขึ้นถึง 265% โดยมี อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Passenger Seat Factor) เฉลี่ย 78.5% เทียบกับ 47.9% ในช่วงเวลาเดียวกัน ของปีที่แล้ว

เอมิเรตส์ให้บริการผู้โดยสารกว่า 20 ล้านคนระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 30 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึง 228% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ เอมิเรตส์ สกายคาร์โก ได้ขนส่งสินค้าเป็นจำนวน 936,000 ตันในช่วงหกเดือนแรกของปี ลดลง 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากสายการบินเปลี่ยนกำลังการผลิตจาก “การขนส่งสินค้าขนาดเล็ก” กลับไปเป็นการให้บริการผู้โดยสารมากขึ้น

กำไรของเอมิเรตส์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565-66 ทุบสถิติใหม่ที่ 4.0 พันล้าน AED (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เทียบกับการขาดทุนในปีที่แล้วที่ 5.8 พันล้าน AED (1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) แม้ว่าสภาวะการแลกเปลี่ยนสกุลเงินจะไม่เอื้ออำนวย แต่รายรับของเอมิเรตส์ รวมถึงรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆ อยู่ที่ 50.1 พันล้าน AED (13,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 131% เมื่อเทียบกับ 21.7 พันล้าน AED (5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้กล่าวได้ว่าประสิทธิภาพการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของสายการบินได้รับแรงหนุนจากความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสายการบินในการวางแผนล่วงหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการ กระตุ้นขีดความสามารถ และดึงดูดลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์และการบริการที่คุ้มค่าและมีคุณภาพ

ท้ายที่สุดนี้ แรงผลักดันจากความต้องการที่แข็งแกร่งและการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงหกเดือนทีผ่านมา ส่งผลให้  EBITDA ของเอมิเรตส์เติบโตเกือบสามเท่า คิดเป็น 14.7 พันล้าน AED (4.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อเทียบกับ 5.0 พันล้าน AED (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว