สิงห์ เอสเตท ร่วมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันแนวปะการังสำหรับวางทุ่นไข่ปลาให้แก่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ พพ5 เพื่อใช้ปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณอ่าวโละบาเกา เกาะพีพีดอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร Sustainable Diversity มุ่งมั่นสร้างความหลากหลายที่สมดุลระหว่างธุรกิจ ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมตั้งเป้ามุ่งสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality ในปี 2030
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กล่าวว่า เนื่องจากหมู่เกาะพีพีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจากทั่วโลก ดังนั้นการวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทางทะเล โดยล่าสุดมีการพบปะการังน้ำตื้นที่อ่าวโละบาเกา ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเป็นตัวอ่อนปะการังจากเกาะยูง เนื่องจากอ่าวโละบาเกามีระยะทางห่างจากเกาะยูงเพียง 6 กิโลเมตร ซึ่งปะการังมีการผสมพันธ์ออกไข่ และปล่อยสเปิร์มผสมกันในน้ำ กลายเป็นตัวอ่อนปะการังล่องลอยไปเป็นแพลงก์ตอน จนถึงเวลาเหมาะสมจึงลงเกาะพื้น เติบโตเป็นปะการังใหม่ ขยายพื้นที่ไปทั่ว ซึ่งเกาะยูงเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์ปะการังที่มีทิศทางกระแสน้ำเหมาะสมที่จะพัดพาตัวอ่อนปะการังไปในบริเวณหมู่เกาะพีพี รวมถึงอ่าวโละบาเกา แต่อย่างไรก็ตามต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป
นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิงห์ เอสเตท มีพันธกิจองค์กรเน้นสร้างความหลากหลายที่สมดุล นำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องไปกับแผนการเดินหน้าสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality 2030 ของสิงห์ เอสเตท ภายในปี 2030 ที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนจากกิจกรรมทางธุรกิจตลอด supply chain พร้อมให้ความสำคัญในการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในทุกพื้นที่ๆธุรกิจตั้งอยู่ ล่าสุดบริษัทฯ ได้ส่งมอบอุปกรณ์สำหรับวางทุ่นไข่ปลา ได้แก่ ทุ่นไข่ปลาและเชือกใยยักษ์ แก่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแนวทุ่นว่ายน้ำและแนวป้องกันรักษาแนวปะการังและหญ้าทะเลเพื่อใช้ในพื้นที่บริเวณอ่าวมาหยาและบริเวณอ่าวโละบาเกา
ด้าน นายฑีฆาวุฒิ ศรีบุรินทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ซึ่งเป็นผู้รับมอบอุปกรณ์ในครั้งนี้ กล่าวว่า ปัจจุบันงานกำหนดจุดวางทุ่น การวาง การดูแล ตลอดจนการซ่อมแซมทุ่นประเภทต่างๆ ภายในอุทยานฯ เป็นพันธกิจหลักที่ทางเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลมาโดยตลอด ซึ่งทุ่นต่างๆ เหล่านี้สามารถช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจจากการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น การทอดสมอในแนวปะการัง การชนปะการัง การเหยียบหรือยืนบนปะการัง เนื่องจากช่วยกำหนดขอบเขตในการเข้าใช้พื้นที่และทำให้แนวปะการังฟื้นตัวได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ผู้ประกอบการ โรงแรม ร้านค้า ช่วยกันสอดส่องดูแลอีกแรง เพื่อช่วยรักษาทรัพยากรรมธรรมชาติทางทะเลให้อยู่คู่กับคนไทยต่อไปในอนาคต โดยในครั้งนี้ทีมสำรวจเราได้พบว่า ปะการังบริเวณอ่าวโละบาเกานั้นมีการฟื้นตัวเป็นอย่างมาก และมีความสมบูรณ์ในเกณฑ์ที่ดี อีกทั้งยังพบว่ามีหญ้าทะเลกุยช่ายเข็มขึ้นเป็นจำนวนมากอีกด้วย”
นอกจากความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลแล้ว ในปี 2023 สิงห์ เอสเตท มีแผนที่จะร่วมงานด้านความยั่งยืนกับ สิงห์ อาสาในโครงการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ จังหวัดเชียงราย และสร้างเครือข่ายสังคมคาร์บอนต่ำร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มผ่านโครงการ สร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำองค์กรสู่การเป็น Carbon Neutrality ภายในปี 2030