ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การแข่งขันในแวดวงธุรกิจเข้มข้นขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทุกการเคลื่อนไหวล้วนเป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เปรียบได้กับในสนามแข่งรถยนต์ที่มีความท้าทาย ทั้งสภาพอากาศ ทางตรง และทางโค้ง ซึ่งคนขับ คือ ผู้นำองค์กร ที่จะต้องขับรถแข่งโดยตระหนักว่าสนามแข่งเป็นอย่างไร และต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ถึงเส้นชัยเร็วที่สุด บางองค์กรมีผู้นำที่แข็งแกร่ง พร้อมฟันเฟืองที่ใช่ ก็ทะยานแซงทุกโค้ง หรือบางองค์กรเผลอผ่อนคันเร่งเพียงเสี้ยววิก็ถูกคู่แข่งแซงทิ้งห่างไม่เห็นฝุ่นได้อย่างง่ายดาย
SEAC (ซีแอค) จัดงาน “Racing Towards Excellence, Achieving Outstanding Outcomes ทะยานสู่ความสำเร็จ ด้วยสมรรถนะที่ก้าวเกินขีดจำกัด” ในธีมการแข่งขันรถสูตร 1 (Formula 1 หรือ F1) พาผู้เข้าร่วมเรียนรู้เสริมสมรรถนะให้สองฟันเฟืองสำคัญอย่าง ‘Mindset – วิธีคิด’ และ ‘Leadership – ภาวะผู้นำ’ โดยมี 2 สถาบันพัฒนาคนและองค์กรระดับโลกอย่าง “The Arbinger Institute” ผู้สร้างหลักสูตรเสริมสร้างวิธีคิด Outward Mindset และ “Blanchard” สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่องค์กรทั่วโลก มาแบ่งปันแนวทางขับเคลื่อนบุคลากรในองค์กรให้ทั้งเร็ว แรง แซงได้ทุกโค้ง ที่ค้นพบจากการให้คำปรึกษาแก่องค์กรทั่วโลก เติมเชื้อเพลิงชั้นเลิศให้ผู้นำที่เข้าร่วมมุ่งสู่ความสำเร็จ ภายใต้การแข่งขันที่ดุเดือดในยุคนี้ นอกจากนี้ยังได้รับฟังเสวนาวิถีแห่งการนำไปใช้ จากองค์กรที่ทรานฟอร์มได้สำเร็จ ผ่านประสบการณ์ของผู้นำการขับเคลื่อนตัวจริง
Mindset จุดสตาร์ทสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ยั่งยืน
Mr. Michael J. Merchant, Senior Executive Consultant จาก The Arbinger Institute ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืนเริ่มต้นจาก Mindset ว่า “วิธีคิด หรือ Mindset เปรียบเสมือนเลนส์ที่เราใช้ในการมองโลกและตัดสินสิ่งต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน จากงานวิจัยพบว่า บริษัทที่เปลี่ยน Mindset ก่อนพฤติกรรม จะได้รับผลลัพธ์ดีกว่าถึง 4 เท่า โดยแบ่ง Mindset ได้ 2 ประเภท คือ ได้แก่ Inward Mindset: การมองโลกผ่านเลนส์ที่มีเป้าหมายของตนเองเป็นหลัก มองคนอื่นเป็นเพียงวัตถุ พาหนะ และอุปสรรค เป็นแค่เครื่องมือที่อาจช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จ และ Outward Mindset: การมองเห็นเป้าหมาย ปัญหาและความต้องการของคนอื่นสำคัญไม่แพ้เป้าหมาย และความต้องการของตัวเอง
คนหนึ่งคนสามารถมีทั้ง Inward Mindset และ Outward Mindset ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะตอบโต้ และปฏิบัติกับสถานการณ์นั้นอย่างไร การทำงานด้วย Inward Mindset จะทำงานแบบตัวใครตัวมัน ไม่แคร์ว่าอีกคนจะมีปัญหาและเป้าหมายอย่างไร ส่วน Outward Mindset จะทำงานแบบประสานงานกับคนอื่น ไม่กล่าวโทษกัน ปรับพฤติกรรมของตนเอง เพื่อช่วยกันทำงานให้ราบรื่น มองเห็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน และมุ่งมั่นพาองค์กรไปยังเป้าหมายนั้นให้ได้โดยมีเครื่องมือที่เรียกว่า S.A.M. ซึ่งหมายถึง 1.See Others คือ เข้าใจเป้าหมาย อุปสรรค และความท้าทายของผู้อื่น 2. Adjust Efforts กลับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อช่วยเหลือให้เขาบรรลุเป้าหมาย 3. Measure Impact ประเมินว่าความพยายามของเราเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และไม่สูญเปล่า
ทั้งนี้ การสร้าง Outward Mindset ให้เป็นวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างยั่งยืน เป็นการเดินทางที่ไม่มีวันจบสิ้น โดยต้องเริ่มจากผู้นำองค์กร ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ผลักดันวัฒนธรรมองค์กรที่ผู้คนมี Outward Mindset โดยปรับใช้ในสิ่งง่ายๆ ที่เคยทำอยู่แล้ว อย่างการนำหลัก S.A.M. เข้าไปใช้ในงานประชุมต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำ Outward Mindset ไปปรับใช้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ต้องอาศัย Self-Awareness การตระหนักรู้ในตัวเอง, Accountability การรับผิดชอบต่อเป้าหมาย และ Collaboration การทำงานร่วมกันจากพนักงานแต่ละคน ซึ่งถ้าทุกคนในองค์กร มี Outward Mindset เข้าใจความต้องการซึ่งกันและกัน เข้าใจเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน และทำงานร่วมกัน องค์กรก็จะบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ได้แบบทวีคูณ
ภาวะผู้นำที่ดีขับเคลื่อนองค์กรไปถึงเส้นชัยได้อย่างไร
ด้าน Mr. Scott Blanchard, President จาก Blanchard ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Leadership ว่า “ภาวะผู้นำ หรือ Leadership ไม่ใช่สิ่งที่ผู้นำปฏิบัติต่อคน แต่คือสิ่งที่ผู้นำทำร่วมกับคน ผู้นำต้องไม่หยุดเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดย 6 หัวใจสำคัญของการเป็นสุดยอดผู้นำ มีดังนี้
- ผู้นำย่อมเป็นพันธมิตร (Leadership is a partnership) อย่างที่กล่าวว่า ภาวะผู้นำนั้นคือการปฏิบัติตัวร่วมกับคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในฐานะผู้ที่จะเดินทางพิชิตเส้นชัยไปด้วยกัน เพราะผู้นำไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ดังนั้น ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานก่อน
- ผู้นำต้องรู้จักจับถูก (Catching people doing things right) เรียนรู้ความสามารถของลูกน้อง วางตัวคนทำงานให้เหมาะสมกับงาน คือทักษะหนึ่งของคนเป็นผู้นำ นอกจากจะได้ผลลัพธ์ของงานที่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงใจให้กับพนักงาน สร้างความเชื่อใจระหว่างคนในทีม โดยมีพื้นที่ให้สามารถผิดพลาด เรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้น
- ผู้นำใช้ความรักขับเคลื่อนทีม (Love and Support) จากผลวิจัยบอกว่า หากพนักงานรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้าโดนตำหนิบ่อย ก็มักจะใช้พลังงานไปกับการต่อต้านและคิดลบในหัว มากกว่าการทำงานให้ได้ผลดี ฉะนั้นการเป็นหัวหน้าจึงมาพร้อมกับหน้าที่ในการเป็นที่รักของลูกน้อง เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่ดีสร้างการทำงานที่ดีขึ้นมา
- ผู้นำจะอยู่เคียงข้างเสมอ (Connection and Learning) ผู้นำที่สร้างความเชื่อใจว่าจะอยู่เคียงข้าง คอยผลักดัน และช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาอยู่ตลอด ทำให้คนเกิดความไว้ใจ และสามารถโฟกัสกับภาระงานของตัวเองได้เต็มที่ มากกว่าผู้นำที่ปล่อยให้ลูกน้องเผชิญปัญหาลำพัง
- ผู้นำต้องรู้จักปรับตัว (Adaptability) การเข้าใจคนในทีม ทั้งด้านทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ก็เป็นหนึ่งในทักษะที่ควรมี เพื่อให้ปรับตัวและเข้าใจวิธีการผลักดันลูกน้องได้อย่างตรงจุด
- เส้นทางสู่การเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมไม่มีเส้นชัย (Journey Never Ends) การเข้าใจเรื่องนี้จะทำให้ผู้นำสามารถพัฒนาตนเองไปได้เรื่อย ๆ โดยเรียนรู้และก้าวข้ามขีดจำกัดของตน เพื่อพาทีมหรือองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง จนกว่าจะออกจากตำแหน่งไปด้วยตนเอง
“การเป็นผู้นำที่ดี ไม่ใช่การเป็นคนที่เก่งทุกเรื่อง หรือสามารถตัดสินใจได้ทุกเรื่อง แต่คือคนที่เข้าใจธรรมชาติของการทำงานเป็นทีม โดยอาศัยความเชื่อใจเป็นจุดเริ่มต้น สร้างบรรยากาศการทำงานให้ดีจนทุกคนในทีมคิดว่าสามารถพึ่งพากันได้ ซึ่งนี่อาจเป็นงานที่ยาก และทำให้ท้อได้ง่ายเช่นกัน บริษัทจึงจำเป็นต้องให้มีการอบรมผู้นำ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนที่เหมาะสมรับหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
นอกจากสองหัวข้อเสวนาน่าสนใจ ภายในงานยังมีช่วง “Mindset & Leadership Organization Check-up” นำความรู้จากการฟั
Mr. Janil เผยว่า “บริษัทไมเนอร์ฯ เริ่มเรียนหลักสูตร Servant Leadership กับ SEAC (ซีแอค) เมื่อปี ค.ศ. 2017 ภายในองค์กรเราจัดให้
หากหน่วยงานหรือองค์กรใดที่