ถ้าเป็นลูกค้า HTC คราวนี้ขอ “พรีเมียมแมส” นะ

ในวันเปิดตัวหนังเรื่อง MIB III (Men In Black 3) 25 พฤษภาคมนี้ ที่อเมริกา จะมี 1 คนไทยกับเพื่อนเอเชียอีก 6 คน ได้เดินเคียงข้าง “วิล สมิทธ” นักแสดงนำบนพรมแดง ที่ Brought to you by HTC

นี่คือกลยุทธ์การตลาดแบบ Less Product, More Marketing ของเอชทีซี ที่ปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ ที่เน้นแคมเปญที่คิดมาแล้วว่าโดนแน่ ๆ และทุ่มเต็มที่ เพื่อให้แบรนด์และโปรดักต์ที่จะเปิดตัวนั้นขายได้จริง จากเดิมก็ออกแนวหว่านกว้างพอสมควร

“ณัฐวัชร์ วรนพกุล”  ผู้จัดการประจำประเทศไทย เอชทีซี (ไทยแลนด์) บอกว่ากลยุทธ์แบบไม่เน้นขายสินค้าหลายรุ่นมากเกินไป แต่เน้นการทำตลาดแบบโดนๆ เริ่มจากเอชทีซี จัดวาง Positioning สินค้าและแบรนด์ของเอชทีซีว่าจับกลุ่ม Premium Mass เท่านั้น  และละเอียดลงไปอีกคือกลุ่ม Fashionista กลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อความสะดวก การทำงาน และความบันเทิงไลฟ์สไตล์

“ต่อไปนี้เอชทีซีไม่ใช่สำหรับกลุ่ม Geek และกลุ่ม Professional เท่านั้นอีกต่อไป” คำยืนยันแบบช้าๆ  ชัดๆ จาก “ณัฐวัชร์” ล่าสุด และนี่เองจึงทำให้เอชทีซีจัดแคมเปญแบบที่เรียกว่าเงินก็ซื้อไม่ได้อย่างการร่วมกับหนัง MIB3 ดังกล่าว

ลูกค้าสมาร์ทโฟนจึงจะไม่ได้เห็นเอชทีซีทำตลาดราคาเครื่องที่ต่ำกว่า 5,000 บาท เพราะไม่ต้องการสู้ในสงครามกับแบรนด์จีนที่เน้นราคาถูก โดยเน้นทำตลาดเครื่องราคาประมาณ 8,000 บาท ถึงประมาณ 15,000 บาท เป็นหลัก ราคาแพงกว่านั้นก็มีบ้างแต่ไม่มาก เพราะการชนกับความแรงของไอโฟนนั้นไม่คุ้ม โดยปี 2555 นี้จะทำตลาดประมาณ 10 รุ่น โดยเน้นรุ่นที่รองรับ 3G ในย่านความถี่ 850 MHz. 

ความหมายของการเน้นย่านความถี่ 850 MHz นั้น ยังบ่งบอกว่าเอชทีซี กำลังเลือกค่ายพร้อมไปกับทรูมูฟ เอชเต็มที่ ที่ล่าสุดร่วมกันเปิดตัว 3 รุ่น คือ Sensation XL, Rhyme และ Widefire s ที่ตอกย้ำ Positioning ใหม่นี้อย่างชัดเจนทั้งราคา ดีไซน์ และคุณสมบัติตัวเครื่องเช่น การมาพร้อมกับ Beat เพื่อการฟังเพลง ดีไซน์ที่บ่งบอกความเป็นแฟชั่น 

เกมนี้ “ณัฐวัชร์” บอกว่าต้องหาโฟกัสให้เจอ หาตลาดที่ใช่ เพื่อรักษาตลาด ที่ถึงแม้จะไม่ได้ Mass และได้เฉพาะกลุ่ม แต่นี่คือครีมที่ทำให้เอชทีซีมีโอกาสได้ส่วนแบ่งตลาดและยังคงติดอยู่ในอันดับ 3 ของสมาร์ทโฟนได้

 

Who is Premium Mass?

ลูกค้าเซ็กเมนต์นี้ยอมจ่ายแพงขึ้น สำหรับสินค้าที่มีการสร้างแบรนด์และผลิตสินค้า ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าได้บริการ หรือคุณภาพสินค้าที่ต่างจากสินค้าที่เจาะกลุ่ม Mass อย่างเช่น ธุรกิจสายการบินในไทยอย่างนกแอร์ ที่ลูกค้ายอมจ่ายสูงกว่าแอร์เอเชีย  

 

การแบ่งเซ็กเมนต์ในสมาร์ทโฟน (ตามราคา)

Mass ระดับราคาต่ำกว่า 8,000 บาท มี ซัมซุง แอลจี แข่งกันอย่างหนักในตลาดนี้

Premium Mass ราคา 8,000-20,000 บาท ตลาดนี้ซัมซุงทำได้ดีจากกาแล็คซี่ เอส 1-2

Premium สูงกว่า 20,000 บาท ที่เป็นเจ้าตลาดคือไอโฟน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งตลาดสม style=”font-weight: bold;”>าร์ทโฟนในไทยในปี 2554 (ตลาดรวม 4
ล้านเครื่อง) 1.ซัมซุงประมาณ
40% เพราะมีการทำตลาดทุกเซ็กเมนต์ตั้งแต่ระดับราคาเครื่องต่ำกว่า
5,000 จนถึงกว่า 20,000 บาท 2.แบล็คเบอร์รี่ประมาณ
20% จากการทำตลาดในรุ่นราคาถูก บีบี
8250 ที่ราคาถูกลงอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาท 3.ไอโฟน 20% จากความแรงของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง 4.เอชทีซี
ประมาณ 10% หลังจากเงียบหายไปจากตลาดในช่วงปี
2552-2553 และเพิ่งกลับมารุกอีกครั้งในปี 2554
จนมียอดจำหน่ายในแง่มูลค่าเพิ่มขึ้น 150% และคาดว่าในปี 2555
จะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 20%