AIS ผนึกกำลัง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เดินหน้าแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญต่อกระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ภายใต้โครงการ “รณรงค์ Going Zero E-WASTE กับศูนย์อาเซียน” พร้อมขยายช่องทางการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ ตึกของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เชิญชวนประชาชนและบุคลากรในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการจัดการรีไซเคิล Zero e-waste to landfill อย่างถูกวิธี ผ่านแอป E-Waste+ พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “AIS เดินหน้าทำภารกิจคนไทยไร้ E-Waste มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันได้ยกระดับการทำงานสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HUB of E-Waste ที่มีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 190 องค์กร โดยวันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมโครงการ “รณรงค์ Going Zero E-WASTE กับศูนย์อาเซียน” ในการขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตึกของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และขอเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง และบุคลากร นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งกับทาง AIS เพื่อให้ขยะทุกชิ้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero to landfill ซึ่งนอกจากจุดรับทิ้งแล้ว เรายังยกระดับในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปอีกขั้นด้วยการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน E-Waste+ ที่สามารถเข้ามาช่วยในการจัดการและติดตามขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ผ่านบุคลากรของทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจากทุกหน่วยงาน มาร่วมเป็น Agent ในการรับฝากทิ้งขยะผ่าน App E-Waste+”
ว่าที่ร้อยตำรวจตรีอาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทาง AIS ในการร่วมกันดำเนินโครงการรณรงค์ “Going Zero E-WASTE กับศูนย์อาเซียน” ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขับเคลื่อนสู่ SMART Parliament โดยผลักดันให้องค์กรมีการบริหารจัดการด้วยระบบที่ทันสมัยมีขีดความสามารถและสมรรถนะสูง พร้อมปรับเปลี่ยนการทำงานและมุ่งสู่รูปแบบของรัฐสภาดิจิทัล โดยยังคงหลักคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใส ควบคู่ไปกับการเดินหน้าสู่ Green Parliament อย่างยั่งยืน ผ่าน Green Office ของสำนักงานฯ ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่มีความสำคัญและดำเนินการคู่ขนานกับ Digital Transformation โดยมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียและมลพิษอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในจัดการปัญหาการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ซึ่งโครงการรณรงค์เพื่อไปสู่ Zero E-WASTE จึงสามารถตอบโจทย์ของทั้งสองประเด็น ซึ่งโครงการนี้นอกจากจะเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับความตระหนักรู้ในเรื่องการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแล้ว ยังทำให้ทุกคนได้มีทั้งความรู้เท่า รู้ทัน พร้อมทั้งได้ลงมือปฏิบัติจริงและยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย”
สามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์กับ AIS ณ จุดรับทิ้งขยะ E-Waste ร่วมกันมากกว่า 2,500 จุดทั่วประเทศหรือมาทิ้งที่ศูนย์บริการ AIS Shop สาขาที่ร่วมรายการ โดยสามารถทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ สามารถดูรายละเอียดที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/ais-ewaste/collection-channels