- ธุรกรรมที่ขับเคลื่อนโดย Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) ในประเทศญี่ปุ่นพุ่งทะลุ 200% ภายในสามสัปดาห์แรกของเดือนมี
นาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกั นในปี 2566 - คาดว่าการใช้จ่ายผ่านอีวอลเล็ต และแอปธนาคารที่เป็นพันธมิ
ตรของอาลีเพย์พลัส 16 รายการ จะคิดเป็น 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมดในกลุ่มผู้ ใช้งานในญี่ปุ่น - อาลีเพย์ AlipayHK (อาลีเพย์ ฮ่องกง) KakaoPay (คาเคาเพย์) Touch ‘n Go e-wallet (ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต) GCash (จีแคช) และ TrueMoney (ทรูมันนี่) คืออีวอลเล็ตที่นักท่องเที่ยวที่
เดินทางไปญี่ปุ่นนิยมใช้มากที่ สุด ขณะที่ MPay (เอ็มเพย์) Naver Pay (เนเวอร์ เพย์) และ Toss (ทอส) มีจำนวนธุรกรรมที่กำลังเติ บโตอย่างรวดเร็ว - อาลีเพย์พลัสได้ทำงานร่วมกับพั
นธมิตรรับบัตรในญี่ปุ่นกว่า 40 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงและให้บริการร้ านค้าต่าง ๆ
ขณะที่ร้านค้าในญี่ปุ่นเตรียมรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมาชมซากุระบาน แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ประกาศว่า Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) โซลูชันชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านมือถือของบริษัท ได้เชื่อมโยงร้านค้า 2 ล้านแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ ช่วยให้ธุรกิจทั้งเล็กใหญ่ให้บริการรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์การชำระเงินที่ราบรื่น ผ่านการใช้อีวอลเล็ตจากประเทศของตนเอง
มีอีวอลเล็ต และแอปธนาคาร 16 รายการ ที่ญี่ปุ่นรับชำระผ่านอาลีเพย์พลัส ซึ่งเป็นกลุ่มโซลูชันการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน และเทคโนโลยี digitalization (ดิจิทัลไลเซชั่น) ได้แก่ อาลีเพย์ จากจีน AlipayHK (อาลีเพย์ ฮ่องกง จากฮ่องกง) MPay (เอ็มเพย์ จากมาเก๊า) Kakao Pay (คาเคา เพย์ จากเกาหลีใต้) Naver Pay (เนเวอร์ เพย์ จากเกาหลีใต้) Toss (ทอส จากเกาหลีใต้) OCBC Digital (โอซีบีซี ดิจิทัล จากสิงคโปร์) Changi Pay (ชางงี เพย์ จากสิงคโปร์) EZ-Link (อีซี่ลิงค์ สิงคโปร์) Touch ‘n Go eWallet (ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต จากมาเลเซีย) MyPB by Public Bank Berhad (มายพีบี โดยพับลิค แบงก์ เบอร์ฮาด จากมาเลเซีย) GCash (จีแคช จากฟิลิปปินส์) HelloMoney (เฮลโหลมันนี่ จากฟิลิปปินส์) TrueMoney (ทรูมันนี่ จากประเทศไทย) Hipay (ไฮเพย์ จากมองโกเลีย) และ Tinaba (ทีนาบา จากอิตาลี)
คุณ Douglas Feagin, President, แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ปริมาณการทำธุรกรรมผ่านอีวอลเล็ต และแอปธนาคาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยอาลีเพย์พลัส ในญี่ปุ่นเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 200% ในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยคาดว่ามูลค่าธุรกรรมจะคิดเป็นประมาณ 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมดในกลุ่มผู้ที่ใช้งานระหว่างที่อยู่ในญี่ปุ่น”
อาลีเพย์, อาลีเพย์ ฮ่องกง, คาเคา เพย์, ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต, จีแคช และทรูมันนี่ คืออีวอลเล็ตที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปญี่ปุ่นนิยมใช้มากที่สุด ขณะที่เอ็มเพย์, เนเวอร์ เพย์ และทอสมีจำนวนธุรกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
คุณ Feagin กล่าวเสริมว่า “เรารู้สึกซาบซึ้งที่พันธมิตรรับบัตรในประเทศกว่า 40 รายในญี่ปุ่น ซึ่งมีองค์กรทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็กที่มีพนักงานเพียงไม่กี่คน ให้การสนับสนุนท่วมท้นในการร่วมส่งเสริมประสบการณ์ที่ราบรื่น โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ”
“การทำงานร่วมกับพันธมิตรเหล่านี้ ทำให้อาลีเพย์พลัสช่วยให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้รับประสบการณ์การชำระเงินดิจิทัลที่ราบรื่นเหมือนที่ประเทศตนเอง โดยนักท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าได้ เพียงแค่สแกนรหัส QR ที่ร้านค้า ไม่ว่าจะร้านเล็กหรือร้านใหญ่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแลกเงินสกุลต่างประเทศ หรืออุปสรรคด้านภาษาใด ๆ ”
ในย่านอาซากุสะอันคึกคัก ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีร้านขายของที่ระลึก และแผงขายขนมเล็ก ๆ ร้านค้าต่าง ๆ ทำธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากความใช้งานง่ายของรหัส QR มากขึ้น เพย์เพย์ ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบไร้เงินสดชั้นนำ และพันธมิตรของอาลีเพย์พลัสในญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนบรรดาร้านค้า อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ราบรื่นสำหรับทั้งคนในท้องถิ่นเองและนักท่องเที่ยว ย่านอาซากุสะมีปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนผ่านมือถือต่อเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกว่า 5 เท่า สะท้อนถึงแนวโน้มการชำระเงินไร้เงินสดที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่
ที่ห้างสรรพสินค้า ไดมารู มัตสึซาคายะ ซึ่งเป็นเครือห้างสรรพสินค้าชั้นนำในญี่ปุ่น ปริมาณธุรกรรมบนอีวอลเล็ต และแอปธนาคารพันธมิตรอาลีเพย์พลัส เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี ที่แล้ว
คุณ Akito Kimura, Manager of Inbound Business Division ของห้างสรรพสินค้าไดมารู มัตสึซาคายะ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะขยายความร่วมมือกับแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Ant International) ด้วยการบูรณาการกับอาลีเพย์พลัส เริ่มด้วยการเชื่อมโยงกับอาลีเพย์เพื่อให้ลูกค้าชาวจีนสะดวกสบายราวกับอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถรองรับวิธีการชำระเงินที่ลูกค้านานาชาติต้องการผ่านการบูรณาการที่ไม่ซับซ้อนได้ เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนนวัตกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าทุกคนจะได้เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่น่าจดจำและสบายใจได้ที่ห้างสรรพสินค้าของเรา”
คุณ Venetia Lee, CEO ของอาลีเพย์ ฮ่องกง กล่าวว่า “ญี่ปุ่นเป็นเป้าหมายต่างประเทศแห่งแรกของอาลีเพย์ ฮ่องกง เนื่องจากเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวฮ่องกง เมื่อมีอาลีเพย์พลัสชาวฮ่องกงจึงสามารถใช้อาลีเพย์ ฮ่องกงซื้อสินค้าที่ร้านค้าในท้องถิ่นและใช้บริการเรียกรถในญี่ปุ่นได้ ซึ่งชำระเป็นดอลลาร์ฮ่องกง โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แข่งขันได้ในตลาด เมื่อร้านค้าท้องถิ่นในญี่ปุ่นรับชำระเงินด้วยอาลีเพย์พลัสมากขึ้น มูลค่าธุรกรรมรายวันและปริมาณธุรกรรมอาลีเพย์ ฮ่องกงในประเทศญี่ปุ่นในไตรมาสแรกจึงเพิ่มขึ้น 3.5 เท่าและ 5 เท่าจากไตรมาสก่อนหน้า เรามั่นใจว่าการใช้งานอาลีเพย์ ฮ่องกงจะยังคงเติบโตในญี่ปุ่นต่อไป เนื่องจากร้านค้าญี่ปุ่นหันมาใช้บริการอาลีเพย์พลัสกันอย่างแพร่หลาย”
คุณ Ren-Ren Reyes, president และ CEO ของ GXI (บริษัทจี-เอ็กซ์เชนจ์) ผู้ให้บริการโมบายล์วอลเล็ตของจีแค= กล่าวว่า “พันธมิตรอันยาวนานของเรากับอาลีเพย์พลัส ทำให้เราเป็นสหายที่ขาดไม่ได้สำหรับนักเดินทางชาวฟิลิปปินส์ใน 47 ประเทศและดินแดนทั่วโลกในปัจจุบัน เรายินดีที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับอาลีเพย์พลัสต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าชาวฟิลิปปินส์ทุกคนจะมีตัวเลือกการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ราบรื่นและปลอดภัยเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ”
คุณ Won-Keun Shin, CEO ของคาเคา เพย์ ผู้รับบัตรรายใหญ่ในเกาหลีใต้ กล่าวว่า “เราดีใจที่ผู้ใช้สามารถชำระเงินด้วยคาเคา เพย์ได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายที่ร้านค้าขนาดใหญ่และขนาดเล็กกว่า 2 ล้านแห่งในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีไปเยือนมากที่สุด เราจะเร่งขยายให้ครอบคลุมทั่วโลกและมอบสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วยการหารือร่วมกับอาลีเพย์พลัส และพันธมิตรอีวอลเล็ตที่เป็นตัวแทนแต่ละประเทศ”
คุณ John Sun, Chairman และ CEO ของมาเก๊า พาส กล่าวว่า “เอ็มเพย์ ในฐานะอีวอลเล็ตการชำระเงินผ่านมือถือชั้นนำในมาเก๊า ร่วมกับอาลีเพย์พลัส ซึ่งได้เปิดตัวกลุ่มนวัตกรรมโซลูชันดิจิทัลข้ามพรมแดน ต่างอุตสาหะที่จะสร้างอีวอลเล็ตอัจฉริยะที่อำนวยความสะดวกให้ชาวมาเก๊าเดินทางได้ทั่วโลก นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขปัญหาการชำระเงินที่พวกเขาประสบขณะเดินทางไปต่างประเทศได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การชำระเงินและการช็อปปิ้งของนักเดินทาง เอ็มเพย์จะยังคงขยายบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ บริการด้านไลฟ์สไตล์ และบริการเทคโนโลยีการตลาดต่อไปเพื่อพัฒนาสถานการณ์ธุรกิจการชำระเงินอัจฉริยะที่เปิดกว้างและหลากหลายยิ่งขึ้น”
คุณ Alan Ni, Chief Executive Officer ของ TNG Digital Sdn. Bhd. ผู้ให้บริการทีเอ็นจี อีวอลเล็ต กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการอีวอลเล็ตระดับท็อปของมาเลเซีย เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการผู้ใช้ในท้องถิ่นและขยายครอบคลุมไปทั่วโลก พันธมิตรระหว่างเรากับอาลีเพย์พลัสทำให้ธุรกรรมเพิ่มขึ้นหกเท่าในปีนี้ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ที่แท้จริงถึงความทุ่มเทของเราด้านโซลูชันนวัตกรรมการชำระเงิน เนื่องจากชาวมาเลเซียกว่าครึ่งไว้วางใจให้ทีเอ็นจี อีวอลเล็ตเป็นผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัล และบริการทางการเงินที่พวกเขาเลือก เราตั้งเป้าที่จะเป็นเพื่อนร่วมเดินทางที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าการทำธุรกรรมนั้นง่ายและปลอดภัยไม่ว่าผู้ใช้ของเราจะไปที่ใด”
คุณมนสินี นาคปนันท์, กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม), แอสเซนด์ มันนี่ ผู้ให้บริการทรูมันนี่ กล่าวว่า “ประเทศญี่ปุ่นติดอันดับหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 1 ล้านคนในแต่ละปี เรายินดีที่ได้ร่วมงานกับอาลีเพย์พลัสเพื่อสร้างการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมมากขึ้น และช่วยให้ชาวไทยเพลิดเพลินกับการชำระเงินที่ปลอดภัย เรียลไทม์ และคุ้มต้นทุน ด้วยทรูมันนี่ วอลเล็ตที่ชาวไทยคุ้นเคยเหมือนอยู่ที่บ้าน การเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เชื่อมโยงกับร้านค้าในญี่ปุ่นทุกขนาด จะช่วยเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวสัมผัสวัฒนธรรม และพบปะผู้คนในท้องถิ่น ช่วยให้เป็นทริปที่น่าจดจำมากขึ้น”
แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัว อาลีเพย์พลัส ในปี 2563 ปัจจุบันเชื่อมโยงร้านค้ากว่า 88 ล้านราย ใน 57 ประเทศและภูมิภาค กับบัญชีผู้ใช้จ่าย 1.5 พันล้านบัญชี ผ่านอีวอลเล็ต และแอปธนาคารกว่า 25 รายการ ช่วยให้ผู้บริโภคเดินทาง และชำระเงินทั่วโลกได้อย่างไร้กังวล อีกทั้งช่วยให้ร้านค้าเชื่อมต่อกับผู้บริโภคข้ามพรมแดน และทำการตลาดดิจิทัลได้
บริการดังกล่าวต่อยอดจากพันธมิตรระดับภูมิภาคที่กว้างขวางต่าง ๆ ของอาลีเพย์พลัส รวมถึงพันธมิตรที่มีโครงการ QR ระดับชาติ เช่น SGQR ของสิงคโปร์ PayNet ของมาเลเซีย ZeroPay ของเกาหลีใต้ LankaPay ของศรีลังกา และ KHQR ของกัมพูชา