5 วิธีรับมือ ‘ความเหงา’ ที่กำลังเกาะกินหนุ่ม-สาวพนักงานเงินเดือน

ตามรายงาน Gallup State of the Global Workplace Report ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พบว่า พนักงานมากถึง 20% ทั่วโลกต้อง เผชิญกับความเหงา ในแต่ละวัน และสำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้านและคนทำงานอายุต่ำกว่า 35 ปีเป็นประจำ ความเหงาจะพบมากขึ้นที่ 22% และ 25% ตามลำดับ

และจากผลวิจัยระบุว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทั่วโลกในปี 2566 ที่ผ่านมาลดลง โดยเฉพาะในกลุ่ม พนักงานอายุน้อย (อายุต่ำกว่า 35 ปี) และไม่ใช่แค่ความเหงาที่ต้องเจอเท่านั้น แต่พนักงานทั่วโลกต้องรับมือกับความเศร้า และความโกรธก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อความเหงากลายเป็นโรคประจำถิ่น การหาวิธีป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ และนี่คือ 5 วิธี ที่เราสามารถต่อสู้กับความเหงา โดย Dr. Annabelle Chow นักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่

เข้าใจความเหงา

ก่อนอื่น เราควรสังเกตว่าเรารับรู้ถึงความเหงาอย่างไร โดยสิ่งสำคัญคือ ต้องยอมรับว่ามันเป็นความรู้สึกที่ธรรมดาของมนุษย์ ความเหงาเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติ และทุกคนก็ประสบกับมัน ดังนั้น ความเหงาไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นวิธีที่เรารับรู้ถึงความเหงา ถ้าเรารับรู้มันในทางลบ การตอบสนองของเราต่อสิ่งนั้นจะกลายเป็นเชิงลบโดยธรรมชาติ แล้วปัญหาก็จะเพิ่มขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู

ดังนั้น เราควรพยายาม ค้นหาต้นตอของความรู้สึก เช่น เราขาดปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอในระหว่างวันของเราหรือไม่? หรือแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายแต่เราไม่รู้สึกว่าถูกมองเห็น เข้าใจ หรือชื่นชม? การมีความเข้าใจนี้จะช่วยกำหนดขั้นตอนต่อไปได้

พัฒนาความสัมพันธ์ให้มีความหมาย

สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุขคือ การเชื่อมโยงที่มีความหมาย เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หากไม่มีสิ่งนี้ ผู้คนจะรู้สึกเหงาโดยธรรมชาติ แม้ว่าพวกเขาจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในโลกนี้ก็ตาม ดังนั้น หากรู้สึกว่าขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แนะนำให้ พยายามพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน อาจเริ่มจากการมีส่วนร่วมในสำนักงาน เริ่มเข้าหาผู้คนด้วยความเปิดกว้าง และพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้

โดยการพัฒนาเพื่อนประเภทต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การมีเพื่อนในงานปาร์ตี้ เพื่อนที่ทำงาน และเพื่อนที่จริงใจของคุณ และร่วมกันปลูกฝังความตระหนักรู้ว่าเพื่อนคนไหนที่จะติดต่อเมื่อไร โดยการพัฒนาความสัมพันธ์เหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยจัดการกับความเหงาเมื่อมันมาถึง

“ถ้าเราไม่ให้โอกาสคนอื่นเข้าใจเรา ถ้าคุณไม่โต้ตอบกับคนอื่น เราก็จะไม่ให้โอกาสตัวเองในการพัฒนาความสัมพันธ์จริง ๆ หากเราไม่พัฒนาความสัมพันธ์ เราก็ไม่มีอะไรจะต้องใช้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก”

Beautiful teenage girls having fun outdoors in town.

พาตัวเองไปในแวดล้อมบวก

อีกคำแนะนำง่าย ๆ คือ พาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่คุณพบว่าตัวเองโดดเดี่ยว คือถ้าไม่หากิจวัตรใหม่ ๆ ก็อาจจะเริ่มจากการ ออกจากห้อง หากคุณถูกโดดเดี่ยวตลอดทั้งวัน การโทรหาครอบครัว การไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อนฝูง หรือมีส่วนร่วมกับพวกเขาบนโซเชียลมีเดียสามารถช่วยได้

เพิ่มกิจวัตรที่ดีต่อตัวเอง

ถ้าหากต้องใช้เวลาทั้งสุดสัปดาห์บนโซฟาโดยไม่ได้ทำอะไรเลย และแค่เลื่อนดูแค่เรื่องเลวร้ายในโซเชียลฯ แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะรู้สึกเหงา ดังนั้น การมีนิสัยและกิจวัตรที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยดึงคุณออกจากสถานการณ์เหล่านั้นได้ เช่น ออกกำลังกาย เพราะจะช่วยเพิ่มกิจวัตรประจำวันที่สามารถช่วยขจัดเวลาว่างที่อาจส่งผลต่อความเหงาออกไปได้ รวมถึงเสพแต่สื่อที่เป็นบวก

ปรับเปลี่ยนความเข้าใจใหม่

สุดท้าย หลายคนมีความคิดแบบ คิดไปเอง เกี่ยวกับมุมมองที่ผู้คนมองพวกเขา ซึ่งอาจจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ได้ แต่แล้วพวกเขาก็ตอบสนองต่อสิ่งที่อยู่ในเวอร์ชั่นของพวกเขา ซึ่งวิธีแก้ไขคือ การท้าทายและปรับโครงสร้างความคิดของตัวเองแทนที่จะแบกรับภาระของการคาดเดา จงพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา

“ตัวอย่างเช่น หากฉันคิดว่าคุณไม่ชอบฉัน และนั่นอาจเป็นความจริงหรือไม่ก็ได้ แต่นั่นจะทำให้ฉันจะระมัดระวังมากขึ้น ปกป้องมากขึ้นอีกเล็กน้อย และผลที่ตามมาตามธรรมชาติของสิ่งนั้นก็คือ ความสัมพันธ์นั้นจะไม่สามารถไปต่อได้ เพราะมีกำแพงกั้น”

Source