600 ล้านบาท มูลค่าการเป็นสปอนเซอร์สูงสุดของไทยพรีเมียร์ลีก จากการเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีมเมืองทองยูไนเต็ดของ เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) โดยเข้าไปถือหุ้นสโมสร 30% พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมจากเมืองทอง ยูไนเต็ด เป็น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และเปลี่ยนชื่อสนามของทีมจาก ยามาฮ่า สเตเดียม มาเป็น เอสซีจี สเตเดียม
10 ล้านบาท งบที่เอสซีจีเคยใช้ในการสนับสนุนทีมปลาทูคะนอง หรือ สมุทรสงคราม เอฟซี ภายใต้สัญญาแบบปีต่อปี ก่อนจะย้ายมาสนับสนุนทีมเมืองทอง ยูไนเต็ด
20 ล้านบาท จำนวนเงินสนับสนุนที่สมุทรสงคราม เอฟซี ได้จากสปอนเซอร์รายใหม่ เจนิฟู้ด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผัก ผลไม้ สำหรับไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2012
5 ล้านบาท เงินสนับสนุนที่ทีมฟุตบอลที่เข้าแข่งไทยพรีเมียร์ลีกทั้ง 18 ทีมได้รับ โดย 4 ล้านบาทเป็นเงินที่แต่ละสโมสรได้รับเป็นค่าลิขสิทธิ์จากสมาคมฟุตบอลฯ ส่วนอีก 1 ล้านบาทจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
80.4 ล้านบาท มูลค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดไทยพรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาล 2011-2013 ซึ่งมีบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์
218.4 ล้านบาท มูลค่าของไทยพรีเมียร์ลีก ที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยหามาได้จากขายสปอนเซอร์ล่วงหน้า 3 ปี (2011-2013 ตัวเลข ณ เมษายน 2012) สปอนเซอร์หลักได้แก่ เอไอเอส, ยามาฮ่า, ไทยน้ำทิพย์, ปตท., เบียร์ช้าง ฯลฯ
200 ล้านบาท ค่าตัวขั้นต่ำของ ธีรศิลป์ แดงดา กองหน้าทีมเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่เอสซีจี เมืองไทย ยูไนเต็ด กำหนดไว้กรณีที่มีสโมสรในตุรกี และในลีกญี่ปุ่น สนใจทาบทามซื้อตัว และคาดว่าธีรศิลป์ควรจะมีค่าเหนื่อยไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 30,000 เหรียญ
6-7 แสนบาทต่อเดือน ค่าเหนื่อยที่ ธีรศิลป์ แดงดา รับจากทีมเอสซีจี เมืองไทย ยูไนเต็ดในปัจจุบัน
20% ค่าตัวที่สโมสรเอสซีจีตั้งใจแบ่งให้ครอบครัวนักเตะกรณีเกิดการขายนักเตะจริงให้กับสโมสรในต่างประเทศ
141 คือ อันดับของทีมฟุตบอลไทยที่ฟีฟ่าจัดไว้ในปีล่าสุด จากที่ทีมไทยเคยทำอันดับได้ดีที่สุดที่อันดับ 43 เมื่อปี 1998 (2541)