บริษัท จีซีเอส ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย คว้างรางวัลชนะเลิศระพับโลก สุดยอดโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการข้อมูลครั้งแรกของไทย

บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (Global Care Solutions) หรือ GCS ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสุดยอดโซลูชั่นดีเยี่ยมแห่งปี 2546 ทางด้านการบริหารจัดการข้อมูล หรือ Data Management Solution of the Year Award ในงานการประชุมประจำปี Microsoft Worldwide Partner Conference ณ กรุงNew Orleans ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นครั้งแรกที่บริษัทไทยได้รับรางวัลซอฟท์แวร์ดีเด่นระดับโลก

ระบบซอฟท์แวร์รังสีวิทยาแบบดิจิตอล (Digital Radiology) หรือแบบไม่ใช้ฟิล์มนี้ เป็นระบบสารสารเทศที่ออกแบบและพัฒนาในประเทศไทยทั้งหมด โดยคณะกรรมการตัดสินได้พิจารณาคัดเลือกจากผู้ส่งเช้าประกวดทั่วโลกกว่า 1,000 ราย ในกลุ่มโซลูชั่น 16 ประเภท นับเป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ของไทยรายแรกที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ดีเด่นจากการแข่งขันในระดับนานาชาติ คาดว่า มูลค่าตลาดของระบบรังสีวิทยาแบบดิจิตอลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

ระบบการจัดเก็บแลรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS หรือ Digital Radiology) นี้ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาพเอกซเรย์ได้ผ่านทางจอภาพ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แทนที่จะต้องดูและส่งฟิล์มเช่นสมัยก่อน ระบบดังกล่าวยังมีซอฟต์แวร์ช่วยให้รังสีแพทย์วิเคราะห์ความผิดปกตอได้ดียิ่งขึ้น และเขียนรายงานผลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้แพทย์เจ้าของไข้ หรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูภาพเอกซ์เรย์ และผลการวินิจฉัยได้ในทันทีจากทุกจุดทั่วโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อระบบ Web และ LAN ระบบยังรองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษาพร้อมๆ กัน รวมถึงปฏิทินในหลายรูปแบบอีกด้วย

นายแพทริก ดาวน์นิ่ง กรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ กล่าวว่า “การมีข้อมูลประวัติคนไข้ทั้งหมดเพียงปลายนิ้วสัมผัสช่วยให้แพทย์สามารถศึกษารายละเอียดของคนไข้ได้อย่างถี่ถ้วน ผลที่ได้รับคือ การวินิจฉัยและรักษาโรคที่ถูกต้อง แม่นยำยิ่งขึ้น” นายแพทริกกล่าวเสริมว่า “ระบบรังสีวิทยาแบบดิจิตอลยังให้ประโยชน์อื่นๆ อีกหลายประการ เช่น ช่วยย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยโรค และทำรายงานเป็ฯอันมาก ทำให้แพทย์เจ้าของไข้สามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็ว การทำฟิล์มสูญหายก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ทำให้ประวัติของคนไข้อยู่ครบถ้วน แพทย์ที่ปรึกษาจากหลายสาขาสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเรียกอ่านภาพและข้อมูลได้พร้อมๆ กัน โดยไม่จำเป็นต้องคอยแผ่นฟิล์มและแฟ้งประวัติคนไข้ทีละคน เนื่องจากเอกสารเวชระเบียนทุกชนิดสามารถเรียกดูได้ทันทีที่แพทย์บันทึกเสร็จ”

นับตั้งแต่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำเอาระบบซอฟต์แวร์นี้ไปใช้เมื่อปี 2545 ปรากฏว่าสามารถประหยัดค่าฟิล์มได้ถึงปีละ 17 ล้านบาท ระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลบน Microsoft Windows 2003/SQL Server 2000 ได้ขยายใหญ่ขึ้นเป็น 1.5 Terabyes (1500 Gigabytes)

แพทย์หญิงจามรี เชื้อเพชระโสภณ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ให้ความเห็นว่า “ร้อยละ 99 ของการวินิจฉัยภาพเอกซ์เรย์ได้ทำผ่านระบบ PACS ของ GCS ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่การติดตั้งระบบ” คุณแจนนิส ชาน รองผู้อำนวยการด้านการปฏิบัติการของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กล่าวเสริมว่า “แพทย์ต่างๆ ในโรงพยาบาลสนใจที่จะขอให้ระบบ PACS ของ GCS ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเสียอีก”

การที่บริษัทโกลเบิล แคร์ โซลูชั่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ดีเด่นในครั้งนี้ เป็นเพราะทางบริษัทได้นำเอาแนวความคิดใหม่ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีล่าสุดของไมโครซอฟต์ในการนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เช่น ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นต้น “ครั้งนี้ถือว่าเป็นเกียรติสำหรับเราที่ได้รับการนำเสนอโซลูชั่นที่สร้างสรรค์มากมาย โดยอาศัยเทคโนโลยีของเราในการช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้า” คุณอลิซอน วัน์สัน ผู้อำนวยการ Worldwide Partner ของไมโครซอฟต์กล่าว และยังได้เสริมว่า “บริษัทโกลเบิล แคร์ โซลูชั่นมีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นชัดเจน แม้กระทั่งเมื่อเปรียบเทียบกับโซลูชั่นคุณภาพทั้งหลายของบริษัททั่วโลกที่ส่งเข้าประกวด”

นายแพทริกได้กล่าวต่อไปว่า “การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องและต้นทุนของ Hard Disk ที่ลดลงเรื่อยๆ จะทำให้ระบบรังสีวิทยาแบบดิจิตอลเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาคุณภาพและลดต้นทุนให้กับโรงพยาบาลได้ดีที่สุด ทีมผู้บริหารของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และได้นำเอาระบบนี้มาใช้ในขณะที่ระบบนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นสำหรับวงการโรงพยาบาลทั่วโลกเท่านั้น”

ระบบรังสีวิทยาแบบดิจิตอลของบริษัทฯ ยังได้รับรางวัลชนะเลิศ MS-HUG 2003 ประเภท Acute Care: Clinical/Patient Information System เมื่อต้นปี 2546 นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ของ GCS ทางด้าน Total Hospita; Information System ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโซลูชั่นยอดเยี่ยมในรอบสุดท้ายสำหรับรางวัล MS-HUG 2002 เช่นกัน