นิวเดลี—: กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์หรือบีเอสเอและสมาคมบริษัทซอฟต์แวร์และบริการ ร่วมจัดงาน Asia Tech Summit ขึ้น ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บีเอเอสนำรูปแบบของ BSA Global Tech Summit มาจัดขึ้นในเอเชีย
กิจกรรมดังกล่าวเป็นการรวมผู้กำหนดนโยบายและตัวแทนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จากภาคพื้นเอเชียแปซิกฟิกเข้ามาร่วมหารือและถกประเด็นปัญหาและความท้าทายต่างๆ ที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะร่วมทำงานและพัฒนาข้อมูลทางเศรษฐกิจเบื้องต้นรวมถึงพิจารณาถึงวิถีทางที่จะทำให้รัฐบาลและบริษัทเอกชนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเติบโตและการขยายตัวของอุตสาหกรรมไอทีที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม โดยอินเดียถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไอที ในภาคพื้นเอเชีย
เนื้อหาสำคัญหลักของงานครอบคลุมแผนการและความท้าทายต่างๆ ได้แก่การพัฒนาทักษะให้กับแรงงานด้านไอที การริเริมเงื่อนไขที่น่าพอใจเพื่อสนับสนุนการค้าไอทีทั้งการลงทุนภายในและนอกประเทศ การถ่ายโอนเทคโนโลยี และการส่งเสริมพาณิชย์อี-เล็กทรอนิกส์ และรัฐบาลอี-เล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย นาย เอส บี มุขจี ได้ให้เกียรติเป็นผู้บรรยายหลัก โดยมีผู้นำอุตสาหกรรมไอทีของโลกและเอเชียเข้าร่วมงานซึ่งประกอบด้วย
– นายเชน เซาจู (Chen Xiaozhu) ผู้อำนวยการทั่วไป แผนกส่งเสริมไอทีแอพพลิเคชั่น สำนักงานกงศุลข้อมูล ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
– อเล็กซ์ ว่อง (Alex Wong) ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยี เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)
– โยชิฮิโกะ ซูมิ (Yoshikiko Sumi) ประธานที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น
– ลี เกาหยง (Lee Kyo-Yong) ประธาน คณะกรรมการพิจารณาและประสานงานโปรแกรม ประเทศเกาหลี
– ลิน เชียเชง (Lin Chia-cheng) ประธานคณะกรรมมาธิการการวิจัยและพัฒนาและการประเมินผล ประเทศไต้หวัน
– ลิซ่า ฟิลลิปเปโต (Lisa Filipetto) ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานสาขาการบริการและทรัพย์สินทางปัญญาและการเจรจาทางการค้า กรมการค้าและการเมืองระหว่างประเทศ ประเทศออสเตรเลีย
– ซอดโจนี่ โมดิจิโน(Sordjoeni Moedjiono) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสื่อสารและข้อมูล ประเทศอินโดนีเซีย
มร. มุขจีกล่าวว่า “อินเดียถือเป็นประเทศที่เป็นพลังสำคัญของอุตสาหกรรมไอทีและเราได้ก่อตั้งในส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์และร่วมทำกิจกรรมกับพันธมิตร รวมถึง BPO
มร. โรเบิร์ต ฮอลลีแมน ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบีเอสเอ กล่าวว่า “มีอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเท่ากับอุตสาหกรรมไอที และมีเพียงอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมที่สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับนวัตกรรมซึ่งทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รัฐบาลที่มีการตอบสนองมากขึ้น ชีวิตและสังคมเชื่อมโยงอย่างเป็นสุขมากขึ้น
เขากล่าวต่อไปว่า “การดำเนินธุรกิจทุกวันนี้ มีประสิทธิภาพมากขึ้นสืบเนื่องมาจากนวัตกรรมและซอฟต์แวร์เชิงการค้าที่มีมากขึ้น…ซึ่งเราเพิ่งแค่เริ่มต้นเท่านั้นเอง” มร. ฮอลลีแมนชี้ให้เห็นต่อไปว่า โอกาส และการไร้พรมแดน นั้นไม่ได้มีการรับประกันใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นการรวบรวมและการนำตัวอย่างที่ดีที่สุด (best practice) จะช่วยให้เห็นหนทาง และเราก็จะเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและความท้าทายต่างๆ ได้ดีขึ้น” เขาได้อ้างถึง “การคุกคามของนวัตกรรม” (Thread of Innovation) นั้นมีมานานและจะคงอยู่ตราบเท่าที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ โดยนวัตกรรมต่างๆ ได้เปิดประตูเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ ซึ่งมร. ฮอลลีแมนได้ชี้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ได้ประจักษ์อย่างชัดเจนในอุตสาหกรรมไอที
มร. คิราน คานนิค ประธาน NASSCOM กล่าวว่า “การเติบโตอย่างรวดเร็ว ของเศรษฐกิจในอินเดีย และจีนได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 90 และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในศตวรรษที่ 2000 ซึ่งล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีที่สร้างงานใหม่ๆให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของอุตสาหกรรมไอที NASSCOM ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลอินเดียในการทำให้ประชากรมีความรู้ด้านไอทีมากขึ้นรวมถึงการมีผลิตผลที่มากขึ้นด้วย เขากล่าวด้วยว่าการทำให้อินเดียกลายเป็นสังคมเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบและการสร้างโมเดลดังกล่าวให้เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเทคโนโลยีสูงแห่งหนึ่งของโลก ถือเป็นภาระกิจเร่งด่วน เขาให้ข้อคิดเห็นในการจัดงานครั้งนี้ว่า “การเสวนาในครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบที่ยอดเยี่ยมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และประสบการณ์จากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี และก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและสังคมทั่วทั้งเอเชีย”
นายคีท กอทท์ฟรายด์ รองประธานอาวุโส กิจการอาวุโสของบริษัท บอร์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น และสมาชิกของบีเอสเอ ได้ให้ความสำคัญกับการเปิดการค้าสินค้าและบริการด้านไอที และประโยชน์ของการเจรจาตกลงทั้งในแบบทวิภาคีและพหุภาคี ด้านการส่งเสริมและป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา
ในขณะที่มีการตระหนักถึงโปรแกรมที่หลากหลายและนโยบายต่างๆ ซึ่งรัฐบาลของบางประเทศก็ได้เริมปฏิบัติไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะด้านไอที การเพิ่มบุคลากรด้านไอที การป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา การนำระบบรัฐบาลอี-เล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้รวมถึงการส่งเสริมพาณิชย์อี-เล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น แต่ก็กรอบข้อตกลงต่างๆก็ยังกว้างอยู่ และต้องมีการทำให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มเติมในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐบาล รัฐบาลกับเอกชน
ในการกล่าวปิดงาน นายโรเบิร์ต ฮอลลีแมน กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของเราในการจัดงาน Asia Tech Summit ขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียก็เพื่อที่จะนำรัฐบาลและผู้นำธุรกิจภาคเอกชนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ ในการนำไอทีเข้ามาพัฒนาผลผลิตและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีดโดยเราคาดว่าจะเป็นซีรี่ส์ของงาน Asia Tech Summits และอินเดียก็เป็นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการจัดงาน Asia Tech Summits เป็นครั้งแรก
ข้อมูลเกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นองค์กรชั้นนำที่มีหน้าที่ส่งเสริมการใช้ระบบเครือข่ายอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ระดับโลก รวมถึงคู่ค้าด้านฮาร์ดแวร์ โดยประสานงานร่วมกับภาครัฐและตลาดต่างประเทศ สมาชิกของบีเอสเอเป็นองค์กรธุรกิจหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก โครงการของบีเอสเอมุ่งส่งเสริมการสรรค์สร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี โดยอาศัยการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและการผลักดันให้มีการกำหนดนโยบายที่มุ่งเน้นการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การสร้างระบบความปลอดภัยและการทำธุรกรรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งอี-คอมเมิร์ซ
สมาชิกของบีเอสเอได้แก่ อะโดบี, แอปเปิล คอมพิวเตอร์, ออโตเดสก์, เอวิด เทคโนโลยี, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์ , บอร์แลนด์, ซิสโก้ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, อีดีเอส พีแอลเอ็ม โซลูชั่นส์, เอ็นทรัสต์, ฮิวเลตต์ แพคการ์ด, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินเทอร์เน็ต ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์, อินทุย, แมคโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ทเวิร์ค แอสโซซิเอทส์, โนเวล, พีเพิลซอฟท์, โรเบิร์ต แมคนีล แอนด์ แอสโซซิเอทส์, โซลิดเวิร์คส์, ไซเบส, และไซแมนเทค เป็นต้น
เยี่ยมชม Website BSA ได้ที่ www.bsa.org