สรุปพฤติกรรมเสพสื่อ-ซื้อสินค้า ของ Gen Z เสิร์ฟคอนเทนต์อย่างไรให้ถูกใจคนรุ่นใหม่

Kantar รายงานผลการวิจัยเทรนด์การซื้อสินค้าของ Gen Z โดยเจาะลึกอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย มุ่งเน้นกลุ่ม Gen Z อายุระหว่าง 18–24 ปี

สรุปภาพรวมการเสพสื่อของ Gen Z เน้น Multi-Format คอนเทนต์ต้องเข้าถึงได้ง่าย และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและครีเอเตอร์

รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ

(71%) คอนเทนต์วิดีโอสั้นแนวตั้ง ตอบโจทย์พฤติกรรมแบบเสพคอนเทนต์แบบ Mobile First ที่เน้น “ดูไว เข้าใจง่าย”

(56%) คอนเทนต์วิดีโอยาว ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่คนต้องการศึกษารายละเอียดเชิงลึก อาทิ

  • วิดีโอสอนการใช้งาน (Tutorial)
  • วิดีโอถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ (Vlog)
  • วิดีโอให้สาระ-ความรู้ (Documentary)

(32%) ไลฟ์สตรีม อาทิ เกมสตรีมสด สะท้อนความชอบ Gen Z ที่เน้นคอนเทนต์สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ดูที่ไหน เมื่อไรก็ได้ มากกว่าคอนเทนต์เรียลไทม์

“Gen Z เปิดรับสื่อวิดีโอที่หลากหลาย สั้น-ยาว สลับกันไปมา การใช้วิดีโอสั้นเข้ามาดึงดูดความสนใจ เพื่อนำไปสู่การรับชมคอนเทนต์วิดีโอยาว กำลังจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ นักการตลาดจึงควรวางกลยุทธ์การสื่อสารที่ครอบคลุมรูปแบบของเนื้อหาและช่วงเวลาที่เหมาะสม”

Kantar
พฤติกรรมเสพสื่อ Gen Z

ส่วนช่องทางสื่อที่ครองใจ Gen Z มากที่สุด คือ

(78%) Youtube
(66%) Tiktok
(41%) Instagram
(39%) Facebook
(21%) X
(18%) Line

“Gen Z เลือกเสพคอนเทนต์จาก YouTube สำหรับวิดีโอยาว เพราะแพลตฟอร์มนี้ ช่วยให้อินฟลูเอนเซอร์หรือ      ผู้เชี่ยวชาญสามารถอธิบายข้อมูลได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง”

โดย 97% ของผู้บริโภค Gen Z มองว่า “ครีเอเตอร์ที่น่าเชื่อถือ” มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ ซึ่ง Gen Z ให้ความสำคัญจากรีวิวที่เชื่อถือได้จากความเชี่ยวชาญของผู้ใช้งานจริง สิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับ YouTube

“นักการตลาดควรพิจารณาให้ดีว่า ควรให้ใครพูดแทนแบรนด์ถึงจะทำให้รีวิวนั้นน่าเชื่อถือมากพอ”

ควรขายอะไรให้ Gen Z และกลุ่มนี้ชอบอะไร ?

ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง (36%)
อาหารและเครื่องดื่ม (35%)
แฟชั่นผู้หญิง (33%)
ความงาม (30%)
เครื่องประดับแฟชั่น (28%)

ผู้บริโภคหญิง Gen Z
  • มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่หลากหลายมากกว่า
  • ให้ความสำคัญกับสินค้าที่แสดงออกถึงตัวตนอย่างชัดเจน
  • นักการตลาดอาจพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ตัวตนและส่งเสริมภาพลักษณ์ในแบบที่ผู้หญิง Gen Z ต้องการ
ผู้บริโภคชาย Gen Z
  • นิยมซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผู้ชาย
  • ชอบอุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

หลังจาก Gen Z รู้ว่าตนเองต้องการอะไร พวกเขาชอบมีพฤติกรรม ‘เสิร์ชก่อนซื้อ’ โดยแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ตอบโจทย์การซื้อของคนกลุ่มนี้มากสุด ได้แก่

Shopee (52%)
Lazada (22%)
Tiktok (16%)
Facebook (8%)
Shein (2%)

“Shopee ครองใจผู้บริโภค Gen Z มากกว่าครึ่ง มาจากด้าน UX/UI ที่ใช้งานง่าย โปรโมชั่นและส่วนลดที่น่าดึงดูดใจ รวมไปถึงประสบการณ์ด้านขนส่งที่น่าเชื่อถือ”

Kantar

ปัจจัยกระตุ้นให้กลุ่ม Gen Z ซื้อของผ่านออนไลน์ คือ

  • การส่งฟรี (40%)
  • โปรโมชั่นที่น่าสนใจ (29%)
  • ส่วนลดที่คุ้มค่า (28%)

“พฤติกรรมนี้อาจจะกำลังบอกนักการตลาดว่า การแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่ง  ผู้เล่นที่ ‘ราคาถูกที่สุด’ อาจไม่ใช่วิธีที่เวิร์คเสมอไป แต่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในแง่ของประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสำคัญ”