สัญลักษณ์ AOC ฉลากแดง และใบรับรองมาตรฐาน CCP : ระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีประสิทธิภาพของฝรั่งเศส

ทุกวันนี้ เกษตรกรชาวฝรั่งเศสมีระบบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจรโดยมีมาตรการตรวจสอบที่วางใจ ได้ ผู้บริโภคจึงสามารถซื้อหาผลิตภัณฑ์ที่มีการรับประกันด้านคุณภาพ รวมทั้งสามารถทราบถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ประเภทไวน์ เนยแข็ง สัตว์ปีก หรือพืชผักต่างๆ ที่วางจำหน่าย แม้เกษตรกรเหล่านี้ต้องประสบกับข้อกำหนดทางมาตรฐาน ที่ยุ่งยากและเข้มงวดเพื่อให้ได้มาซึ่งฉลากเหล่านี้ อย่างไรก็ดี ความพยายามของพวกเขาก็นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้แก่ ผลิตภัณฑ์ของตนเช่นเดียวกัน

วิธีการรับรองคุณภาพสินค้าและวิธีการรับรองแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ซึ่งเกษตรกรฝรั่งเศสใช้มีอยู่หลายวิธี อาทิ เช่น สัญลักษณ์ AOC ซึ่งใช้รับรองแหล่งผลิต (Appellation d’Origine Contr?l?e), ฉลากแดงหรือ LABEL ROUGE, ใบรับรองคุณภาพ CCP (Certificat de Conformit? Produit) ตลอดจนสัญลักษณ์ IGP (Indication G?ographique Prot?g?e)

AOC สัญลักษณ์รับประกันแหล่งผลิต

สัญลักษณ์คุณภาพ AOC หรือชื่อเต็มในภาษาฝรั่งเศสว่า Appellation d’Origine Contr?l?e นี้ เป็นระบบ รับรองแหล่งที่มาทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์เกษตร AOC เป็นระบบที่มีการใช้มานานแล้วในประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มใช้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแห่งฝรั่งเศสแสดงความเห็นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ดังกล่าวไว้ดังนี้ “สัญลักษณ์ AOC แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลมาจากลักษณะ พิเศษเฉพาะทางภูมิศาสตร์ของแหล่งกสิกรรม และภูมิปัญญาของผู้ผลิตซึ่งมีความชำนาญเฉพาะทาง”

ตราดังกล่าวใช้ รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องของคุณภาพสินค้า แหล่งที่มาและ กระบวนการผลิต หากจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น “AOC” ก็คือเครื่องหมายรับประกันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นของแท้ ที่ผลิตจากแหล่งกสิกรรมที่มีชื่อเสียงตามที่ระบุไว้บนฉลากจริง และมีคุณภาพสูงตามมาตรฐานที่มีการกำหนดไว้ โดยผ่าน การควบคุมและทดสอบคุณภาพจากทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน

ในระยะแรกที่เริ่มมีการใช้นั้น สัญลักษณ์ AOC ใช้จำกัดอยู่เฉพาะการรับรองคุณภาพของไวน์และบรั่นดี จากนั้น ในราวทศวรรษที่ 60 จึงขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์นม จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2533 จึงได้นำมาใช้รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์การ เกษตรและอาหาร ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ประมาณ 520 ชนิดที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน AOC ประกอบด้วยไวน์และเนยแข็ง เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นอีกหลากหลาย อาทิ มันฝรั่งจากเขตลีลเดอเร(l’Ile de R?) เป็นต้น

อนึ่ง สถาบันมาตรฐาน AOC แห่งฝรั่งเศส INAO (Institut National des Appellations d’Origine) เป็นผู้รับผิดชอบในการออกข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตรา AOC และทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี

ตราฉลากแดง “ LABEL ROUGE” แสดงคุณภาพสินค้าเกรดเอ

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสมีการกำหนดใช้ตราฉลากแดงหรือ “LABEL ROUGE” (“ลาแบล รูจ”) เพื่อรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรที่มีคุณภาพเหนือกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ฉลากแดงเป็นตราที่มุ่ง เน้นในเรื่องของรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก สินค้าบางอย่างอาจจะได้รับทั้ง AOC และ LABEL ROUGE หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด

ทั้งนี้สินค้าที่จะติดตรา LABEL ROUGE ได้จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ คุณภาพอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การผลิต การจัดเตรียม ไปจนถึงด้านการตลาด ปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีสินค้ากว่า 400 สาขาที่ได้รับการติดตราฉลากแดง อาทิ กระเทียมเมืองโลเทรค (Lautrec) จากเขตตาร์น (Tarn) ถั่วแลงโกดูนอร์ด (Lingots du Nord) แป้งสาลีหรือมันฝรั่งแบลเดอฟงเตอเนย์ (Belle de Fontenay) จากร้านสหกรณ์ของเมืองเชซี (Ch?cy) ทางภาคกลางของฝรั่งเศส ฯลฯ ทั้งนี้ สินค้าที่ได้รับตราฉลากแดงส่วนใหญ่จะได้แก่พวกสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ และไก่งวง

ใบรับรองคุณภาพมาตรฐาน CCP นับตั้งแต่แป้งสาลีไปจนถึงสลัดผักที่ผ่านการรับรองคุณภาพ

การรับรองคุณภาพมาตรฐาน CCP (Certification de Conformit? Produit) จัดเป็นการกำหนดสัญลักษณ์ แห่งมาตรฐานอย่างเป็นทางการน้องใหม่ล่าสุด ใบรับรอง CCP ซึ่งกำหนดขึ้นใช้เมื่อปีพ.ศ. 2533 ใช้รับรองคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยมีการระบุสัญลักษณ์ไว้บนฉลาก

ฝรั่งเศสออกใบรับรอง CCP นี้ให้กับผลิตภัณฑ์มาแล้วกว่า 250 ชนิด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อหาผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพแน่นอน ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ยกตัวอย่างเช่น ธัญพืชจากสหกรณ์ซองซ์(Sens) ทางทิศใต้ ของกรุงปารีสได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน CCP ในแง่ของการเพาะปลูกและการดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมี แอ๊ปเปิ้ล Grannysud, สลัดและยอดผักมาช “ฤดูที่ 5” (ผักที่รับรองความสดจากไร่พร้อมรับประทาน) เป็นต้น อนึ่ง สหกรณ์เชซีของฝรั่งเศสยังได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน CCP สำหรับผักและมันฝรั่งทุกชนิด

ทั้งนี้ ฉลากแดง และใบรับรอง CCP ข้างต้น ออกให้โดยสถาบันตรวจสอบคุณภาพ CNLC แห่งฝรั่งเศส (Commission Nationale des Labels et des Certifications)

AB ฉลากเกษตรอินทรีย์ที่ภาครัฐเป็นผู้ออกให้

สัญลักษณ์ AB ย่อมาจาก Agriculture Biologique (ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์) ใช้รับรองคุณภาพอาหารที่ผ่าน การผลิตด้วยวิธีการทางธรรมชาติ หรือการเกษตรแบบชีวภาพ ซึ่งปลอดจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น นับตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2523 ฝรั่งเศสได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อนิยามและคุ้มครองผลิตภัณฑ์เกษตรชีวภาพ จากนั้นเมื่อปีพ.ศ. 2534 สหภาพยุโรปได้นำเกณฑ์มาตรฐานแห่งการผลิตและการตรวจสอบเชิงชีวภาพที่เข้มงวดมาใช้ จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันมี เพียงปุ๋ยชีวภาพและผลิตภัณฑ์ที่มีการคุ้มครองพืชพรรณเท่านั้นที่ได้รับการติดฉลากพิเศษนี้

ผู้ผลิตที่ประสงค์จะขอ เครื่องหมาย AB จำเป็นต้องแจ้งให้กับคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพฟาร์มทราบว่า ตนเป็นเกษตรกรเชิงชีวภาพ รวมทั้ง ต้องยอมรับการตรวจสอบจากหน่วยงานเอกชนอิสระที่เป็นผู้ที่ดูแลในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์เกษตรชีวภาพที่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานการตรวจสอบจะได้รับอนุญาตให้ใช้คำว่า“เกษตรชีวภาพ”หรือสัญลักษณ์ AB (Agriculture Biologique) บน ฉลากผลิตภัณฑ์

AOP และ IGP สัญลักษณ์คุณภาพแสดงแหล่งผลิตในระดับยุโรป

สัญลักษณ์ AOC ฉลากแดง ใบรับรองมาตรฐาน CCP และสัญลักษณ์ AB เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการ เกษตรระดับประเทศที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรของประเทศฝรั่งเศส ส่วน่ในระดับยุโรปนั้นเพิ่งมีการ ใช้สัญลักษณ์สากลเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 โดยใช้สัญลักษณ์ AOP (ย่อมาจากคำว่า Appellation d’Origine Prot?g?) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐาน AOC ของฝรั่งเศส และอีกสัญลักษณ์ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ไม่แพ้กัน ได้แก่ สัญลักษณ์ IGP (Indication G?ographique Prot?g?e) IGP เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสินค้ากับแหล่งผลิต แต่ไม่ได้มีความใกล้ชิดกับแหล่งผลิตเท่ากับสัญลักษณ์ AOP

เนื่องจากสินค้าที่จะได้รับตรา IGPไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการผลิตภายในท้องถิ่นทุกขั้นตอน อาทิ อาจจะมีการนำเข้าวัตถุดิบบางตัวจากแหล่งอื่น แต่ สิ่งที่เน้นก็คือ กรรมวิธีการผลิตเฉพาะซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการผลิตของผู้ประกอบการในท้องถิ่นนั้นๆ (ในขณะที่ AOP จะ ออกให้เฉพาะกับสินค้าที่มีการผลิตขึ้นที่ท้องถิ่นนั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัววัตถุดิบ การแปรรูป หรือภูมิปัญญาการผลิต)

สัญลักษณ์ IGPให้ความคุ้มครองทางกฎหมายในระดับยุโรปในการสงวนเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ตามแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ โดยประเทศในยุโรปจะต้องบังคับใช้ข้อกำหนดมาตรฐานทาง IGP สำหรับในฝรั่งเศสนั้น ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับตรา IGP จะ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตราฉลากแดง หรือมีใบรับรองมาตรฐาน CCP อีกด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตรา IGP อาทิเช่น ตับห่านบดในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส

ระบบที่จำเป็นและเอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภคและเกษตรกร

“มิใช่เป็นความบังเอิญที่มีสัญลักษณ์บอกคุณภาพจำนวนมากปรากฏขึ้นในฝรั่งเศส แต่เป็นเพราะสัญลักษณ์ เหล่านี้มีความจำเป็นต่อผู้บริโภคและเกษตรกร” มร.คริสเตียน ชาเตอแลง (Christian Chatelin) ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบ แห่งสมาพันธ์ผู้ผลิตเนยแข็งเรอโบลชง (Reblochon) แห่งแคว้นซาวัว กล่าวถึงระบบรับรองคุณภาพในฝรั่งเศส

อนึ่ง เนยแข็งเรอโบลชงซึ่งได้รับตรา Reblochon AOC มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นเนยแข็งที่มีคุณภาพเยี่ยมเป็นอันดับสาม รองจาก เนยแข็งกงเต (Comt?) และร็อกเกอะฟอร์ (Roquefort) ของฝรั่งเศส “นอกจากผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงคุณภาพของเนย แข็งและแหล่งที่มาแล้ว ระบบรับรองคุณภาพยังช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น น้ำนม ที่นำไปใช้แปรรูปเป็นเนยแข็งเรอโบลชงมีราคาสูงขึ้น โดยมีราคาขายอยู่ที่ลิตรละประมาณ 46 เซ็นต์ยูโร ในขณะที่น้ำนม จากฟาร์มทั่วไปมีราคาเพียงลิตรละ 35 เซ็นต์ยูโร โดยเฉลี่ย”

นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นในทำนองเดียวกันนี้จากมร. วาเลรี เดส์กูเดต์ (Val?rie Descudet) แห่งคณะกรรมการสมาพันธ์ผู้ผลิตไวน์บอร์โด “ฉลาก AOC ทำให้ไวน์ในแคว้น บอร์โดเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ผู้บริโภคต่างมั่นใจได้ว่า ไวน์ที่ซื้อมีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันผู้ปลูกองุ่นก็สามารถขายองุ่น เพื่อนำไปผลิตไวน์ดังกล่าวได้ในราคาดี เกษตรกรและผู้ประกอบการฝรั่งเศสจึงพอใจในระบบมาตรฐานคุณภาพเป็น อย่างยิ่ง แม้ว่าในบางครั้งข้อกำหนดด้านการตรวจสอบคุณภาพจะค่อนข้างเข้มงวดมากก็ตาม ไวน์จากบอร์โดที่จำหน่ายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศสมีราคาโดยเฉลี่ย 2.93 ยูโร ต่อขวดสำหรับไวน์ Bordeaux sup?rieur ไปจนถึง 8.65 ยูโรต่อขวด สำหรับไวน์ M?doc หรือ ไวน์ Graves นับว่าเป็นราคาที่สูงทีเดียวเมื่อเทียบกับไวน์ที่ปราศจากการรับรองคุณภาพ”

สถาบัน มาตรฐาน AOC แห่งฝรั่งเศส หรือ INAO ประเมินสถิติ พบว่า สัญลักษณ์ AOC สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ถึง 1 ใน 3 ของราคาปกติ และแม้ต้นทุนในการผลิตจะเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่สูงขึ้นก็ตาม ทว่าไก่ที่ติดฉลากแดงซึ่งได้รับการเลี้ยง ดูแบบให้อิสระนั้น สามารถจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ราคาประมาณ 6.5 ยูโร ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ไก่ที่ไม่มีสัญลักษณ์ บอกคุณภาพมีราคาเพียง 3.6 ยูโร ต่อกิโลกรัม และในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการติดฉลากรับรอง คุณภาพยังได้รับผลกระทบจากปริมาณการบริโภคที่ลดลงรุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปที่ไม่มีตรา รับรอง

ข้อกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวด

มร.คริสเตียน ชาเตอแลง มองว่า เนยแข็งที่ติดสัญลักษณ์ AOC ช่วยให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขา ของฝรั่งเศสมีรายได้จุนเจือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณเขตเทือกเขาแอลป์ซึ่งมีการผลิตเนยแข็งเรอโบลชง นอกจากนี้ ที่บริเวณบอร์เดอเลชานเมืองบอร์โด ก็ยังเป็นแหล่งชุมนุมผู้ผลิตไวน์จำนวนมาก พื้นที่ดังกล่าวมีไร่องุ่นมากกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งคิดเป็นปริมาณพื้นที่เกือบ 120,000 เฮกตาร์ ที่มีการผลิตไวน์ที่ได้คุณภาพ AOC

อย่างไรก็ดีการที่จะผ่านการรับรองคุณภาพ AOC นี้ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด
จำนวน มาก “ข้อกำหนดมาตรฐาน AOC ของเนยแข็งเรอโบลชงเข้มงวดมากๆ ต้องมีการระบุพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน ห้ามมีการใช้นมจากหมู่บ้านนอกเขต AOC ของตน และน้ำนมที่ใช้จะต้องมาจากวัวสามพันธุ์ คือ พันธุ์ Montb?liarde พันธุ์ Abondance และพันธุ์ Tarine เท่านั้น รวมทั้งห้ามเลี้ยงแบบให้อาหารแห้งอย่างฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไปในฝรั่งเศส ไม่ว่า จะเป็นฟาง ข้าวโพด หรือแม้แต่หญ้า” มร.คริสเตียน ชาเตอแลงอธิบาย

ส่วนไร่องุ่นในฝรั่งเศสที่อยู่ในการควบคุม AOC จะต้องชั่งองุ่นที่เก็บเกี่ยวได้ทีละกิโลกรัม และห้ามใช้เครื่อง เก็บองุ่น หรือแม้แต่ห้ามใช้ระบบทดน้ำใดๆ ทั้งสิ้น

“ในกรณีของมันฝรั่ง ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ฉลากแดง หรือลาแบล รูจ นั้นเข้มงวดมาก เนื่องจากจะต้องมีการ
วัดค่าออร์แกโนเลปติคเป็นประจำทุกปีโดยผู้ออกใบรับรอง และหากต้องการนำออกจำหน่ายภายใต้ฉลากแดง มันฝรั่ง แบลเดอ ฟงเตอเนย์ของเราที่ผลิตจากเขตลัวเรต์ต้องมีคะแนนสูงกว่ามันฝรั่งกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างยากต่อ การสอบผ่าน ในแต่ละปีเราปลูกมันฝรั่งแบลเดอฟงเตอเนย์ประมาณ 60 เฮกตาร์ เพื่อมุ่งขอมาตรฐานฉลากแดง และ โดยเฉลี่ยแล้ว มันฝรั่งที่เราปลูกร้อยละ 40 สามารถจำหน่ายภายใต้ฉลากแดง” มร.ฟิลิป โมลีนา (Philippe Molina) จาก สหกรณ์เชซี กล่าว

อันที่จริงแล้ว แม้ว่าจะมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็คุ้มค่าต่อความพยายาม เกษตรกร จากบริเวณลัวเรต์สามารถปลูกมันฝรั่งที่มีคุณภาพเยี่ยม เช่นเดียวกับผู้ปลูกองุ่นจากเขตบอร์เดอเลที่สามารถผลิตไวน์ เลื่องชื่อ หรือผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในแถบเทือกเขาเแอลป์ที่เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมเพื่อทำเนยแข็ง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพจากผู้บริโภคอย่างดียิ่ง

โปรดอย่าสับสนระหว่าง “สัญลักษณ์คุณภาพ” กับ “มาตรฐานระบบคุณภาพ”

สัญลักษณ์คุณภาพที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ แตกต่างจากมาตรฐานระบบคุณภาพสากลต่างๆ ซึ่งได้เกิดขึ้น ในช่วงไม่กี่ปี่มานี้ อาทิ ISO 9000, ISO 9002, ISO 14000 มาตรฐานต่างๆ เหล่านี้ใช้รับรองมาตรฐานระบบ การจัดการที่มีคุณภาพของหน่วยงาน โดยมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ ได้ระบุไว้ ใบรับรองมาตรฐานระบบดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการรับประกันความสามารถในการสืบค้นแหล่งที่ มาของผลิตภัณฑ์ แต่มิได้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ต่างจากเครื่องหมายรับรองคุณภาพอย่าง AOC , AOP หรือ ฉลากแดง เป็นต้น ที่เป็นสัญลักษณ์แสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยตรง