สงกรานต์ปีลิง : ความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจ…ลดลง 30%

ฉลองสงกรานต์ปีลิง2547ความสูญเสียทางเศรษฐกิจลดลงประมาณ30% เมื่อเทียบกับค่าความสูญเสียของปีที่แล้ว ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลได้รณรงค์และป้องกันปัญหาอุบัติภัยบนท้องถนนอย่างเข้มข้นและจริงจังต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการฉลองสงกรานต์ ส่งผลให้ประชาชนที่ฉลองการรื่นเริงในวันสงกรานต์ปีนี้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

การตั้งด่านตรวจจับผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะทุกประเภทที่ฝ่าฝืนกฎจราจรในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเป็นไปอย่างจริงจังและเข้มงวดกวดขัน โดยเฉพาะผู้ดื่มสุราและเสพสิ่งมึนเมาอื่นๆแล้วยังขับรถก็ถูกลงโทษสูงสุดของกฎหมายจราจรโดยไม่มีการผ่อนผัน ซึ่งมาตรการที่เข้มงวดกวดขันของทางการนี้เองจึงมีส่วนอย่างมากต่อการลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีลิง2547ให้ลดลงอย่างชัดเจน

แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในปีนี้วันหยุดสงกรานต์ไม่ได้หยุดต่อเนื่องกับวันเสาร์-อาทิตย์เหมือนปีที่แล้วที่วันสงกรานต์มีวันหยุดที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12เมษายนจนถึงวันอังคารที่15เมษายน แต่ในปี2547นี้วันสงกรานต์เริ่มต้นในวันอังคารที่13 เมษายน ถึงวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน โดยในวันจันทร์ที่ 12 เมษายน และวันศุกร์ที่16เมษายน เป็นวันทำงานตามปกติทั้งของหน่วยงานภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชน

แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีผู้ที่ขอลาหยุดงานในวันจันทร์ ที่12 เมษายน หรือวันศุกร์ที่ 16 เมษายน ซึ่งก็จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาว่า จะให้ลาหยุดได้หรือไม่โดยจะมีการพิจารณาเป็นรายๆไปตามความเหมาะสมและความจำเป็นของผู้ลาหยุดงานในวันดังกล่าว

สำหรับสถิติผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทางถนนในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ปี 2547ตามรายงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ดังนั้น หากสรุปยอดรวมจากตัวเลขของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 9-18 เมษายน 2547(รวม10 วัน)มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศจำนวน638 คน แยกเป็นเพศชาย 483 คนและหญิง 155 คน และมีจำนวนผู้บาดเจ็บรวม 36,642 คน แยกเป็นเพศชาย 25,873 คน เพศหญิง 10,769 คน ซึ่งในช่วงเทศกาลปีนี้มีผู้ที่เสียชีวิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง25.2%และจำนวนผู้บาดเจ็บก็ลดลงถึง30.8%ส่งผลให้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเฉลิมฉลองวันสงกรานต์ปีลิง2547ลดลงจากช่วงวันสงกรานต์ของปีที่แล้วประมาณ 30%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจจากการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ปีลิง2547จากจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุจนต้องได้รับการบาดเจ็บจำนวน36,642คนและต้องสิ้นชีวิตลง638 คนในปีนี้ คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียรวมทั้งสิ้นประมาณ 900 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ การประเมินความสูญเสียที่ตีมูลค่าออกมาเป็นเม็ดเงินนั้นเป็นการประเมินขั้นต่ำที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ทั้งนี้การประเมินผลกระทบได้ครอบคลุมถึงปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญ ดังต่อไปนี้

1.ผู้ได้รับบาดเจ็บรวมทั้งสิ้นจำนวน 36,642 คน ประชาชนในกลุ่มนี้ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนประมาณ10%ของจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด ซึ่งก็จะต้องใช้เวลาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานระหว่าง 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน และมีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่งถึงขั้นทุพพลภาพที่ต้องใช้เวลานอนรักษาตัวในโรงพยาลนานกว่า 1 เดือน สำหรับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลของประชาชนในกลุ่มนี้จะตกประมาณ25,000–50,000 บาทต่อรายตลอดระยะเวลาที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าผู้บาดเจ็บใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐค่ารักษาพยาบาลก็จะถูกกว่าโรคพยาบาลเอกชนค่อนข้างมาก ซึ่งก็จะเป็นเม็ดเงินค่ารักษาพยาบาลรวมประมาณ 110-220 ล้านบาท

สำหรับผู้บาดเจ็บที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วันหรือผู้บาดเจ็บเล็กน้อยที่เมื่อแพทย์ตรวจรักษาและอนุญาตให้กลับบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะมีจำนวนรวมกันทั้งสิ้นประมาณ90%ของผู้บาดเจ็บรวมทั้งหมดซึ่งค่ารักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้ก็จะอยู่ในช่วงระหว่าง 400-5,000 บาท รวมเป็นค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บในกลุ่มนี้ทั้งสิ้นประมาณ20-80ล้านบาท

2.ผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 638 คน ในกลุ่มนี้เป็นการเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 60%ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 20%และเสียชีวิตระหว่างทางที่นำส่งโรงพยาบาลอีก7%และจากรายงานของทางการยังระบุด้วยว่าผู้เสียชีวิตในเทศกาลสงกรานต์ปี2547นี้ ประมาณ 1 ใน 4 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ซึ่งก็นับว่าเป็นความสูญเสียทรัพยากรบุคคลของชาติอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้กำลังอยู่ในวัยรุ่น-วัยเรียน ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในภายภาคหน้า แต่กลับ