ผลวิจัย MA-17 ต่อชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

เลโทรโซล เป็นยาฮอร์โมนชนิดแรกที่สามารถลดการแพร่ กระจายของมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นไปยังส่วนอื่นของร่างกาย หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบมาตรฐานด้วยทามอกซีเฟนในสตรีวัยหมดประจำเดือน

– จากการศึกษาที่มีชื่อการทดลองว่า MA-17 พบว่า ยาเลโทรโซลสามารถลดความเสี่ยงในการกระจายตัวของมะเร็งเต้านมไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ ร้อยละ 40 เมื่อผู้ป่วยได้รับยาเลโทรโซลต่อเนื่องจากการรักษาแบบมาตรฐานด้วยยาทามอกซีเฟน

– ยาเลโทรโซลสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกในสตรีวัยหมดประจำเดือนและมีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 9 มิถุนายน 2547 – ข้อมูลใหม่ล่าสุดจากการศึกษาที่มีชื่อว่า MA-17 แสดงให้เห็นว่ายาเลโทรโซล สามารถลดการกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ถึงร้อยละ 40 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกและวัยหมดประจำเดือนเมื่อได้รับยาเลโทรโซลต่อเนื่องจากการรักษาแบบมาตรฐานด้วยยาทามอกซีเฟน

ข้อมูลใหม่นี้ได้ถูกเปิดเผยในช่วงการประชุมในหัวข้อ “Best of Oncology” ของการประชุมประจำปี American Society of Clinical Oncology หรือ ASCO ณ เมืองนิวออลลีนส์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 การประชุมยังคงให้ความสำคัญต่อการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

จากการติดตามผลเป็นระยะเวลาสองปีครึ่ง พบว่าในสตรีที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการรอดชีวิตชัดเจนขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งมีจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้โดยมีอัตราการเสียชีวิตลดลงถึงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาต่อเนื่อง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองมักจะนำไปสู่การแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเสียชีวิตของผู้ป่วย ผลจากการศึกษา MA-17 ชี้ว่ายาเลโทรโซล เป็นยาฮอร์โมนตัวแรกที่ให้ประโยชน์ในแง่ของการรอดชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเลโทรโซลต่อเนื่องจากการรักษาแบบมาตรฐาน แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมการวิจัยยังไม่พบความแตกต่างจากการเสียชีวิตอย่างมีความสำคัญทางสถิติในสองกลุ่มการศึกษา

การรักษาด้วยยาต่อเนื่อง (Extended adjuvant) หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับ
ยาเลโทรโซล หลังจากการรักษาแบบมาตรฐานด้วยยาทามอกซีเฟน โดยทั่วไปแม้ว่าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการบำบัดรักษาเบื้องต้นด้วยยาทามอกซีเฟนแล้วก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ รวมทั้งอัตราการตายก็ยังคงสูงอยู่ การรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเลโทรโซลจึงเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการลดอัตราความเสี่ยงดังกล่าวทั้งสองอย่างมีประสิทธิภาพ

นายแพทย์ พอล ก๊อสส์ ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันและวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม จากโรงพยาบาลปริ๊นเซสมาร์กาเร็ต เมืองโตรอนโต้ ประเทศแคนาดา กล่าวว่าผลการศึกษาของ MA-17 อาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ได้ผ่านการรักษาแบบมาตรฐานด้วยยาทามอกซีเฟน ซึ่งการรักษาต่อเนื่องด้วยยาเลโทรโซลจะสามารถลดความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมรวมทั้งการเกิดก้อนมะเร็งใหม่อย่างเห็นได้ชัดเจน ที่สำคัญที่สุดคือการรักษาต่อเนื่องด้วยยาเลโทรโซล ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายจากเซลล์ส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อย

การวิจัย MA-17 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติแคนาดา มหาวิทยาลัยควีนส์ เมืองคิงสตั้น ออนทาริโอ และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทโนวาร์ตีส เพื่อทำการประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกในสตรีวัยหมดประจำเดือนจำนวน 5,200 คน ด้วยการให้ยาเลโทรโซล เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอก ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่ายาเลโทรโซล สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเต้านมไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ร้อยละ 40 และจากการติดตามผลเป็น ระยะเวลาเฉลี่ย 2.5 ปี พบว่าอัตราการรอดชีวิตโดยรวมนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่ในกลุ่มผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกที่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง พบว่าการลดลงของการกลับเป็นซ้ำ การเกิดก้อนมะเร็งใหม่ รวมทั้งการเกิดก้อนมะเร็งใหม่ในเต้านมอีกข้างหนึ่ง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการรักษาแบบต่อเนื่องด้วยยาเลโทรโซล สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 39 (P=0.035) ซึ่งหากพิจารณาจากกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดแม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตลดน้อยลงถึงร้อยละ 18

นอกจากนั้นในแง่ของการรอดชีวิตโดยปลอดโรค (Disease free survival) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการศึกษานี้พบว่าในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยาเลโทรโซล ต่างได้รับประโยชน์จากการใช้ยา โดยสรุปว่า การได้รับยาเลโทรโซลต่อเนื่องหลังจากการรักษาแบบมาตรฐานด้วยทามอกซีเฟน สามารถลดความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำได้เกือบครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (สามารถลดความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำได้ร้อยละ 42 เมื่อพิจารณาจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นของร่างกาย การเกิดก้อนมะเร็งใหม่ในเต้านมอีกข้างหนึ่ง รวมทั้งการกลับเป็นซ้ำภายในหรือใกล้เคียงกับจุดเริ่มต้นของมะเร็ง (P=0.00003) )

ข้อมูลความปลอดภัย

การวิจัย MA-17 ได้รับการออกแบบล่วงหน้าให้มีการทำการศึกษาในกลุ่มย่อย เพื่อประเมินผลของยาเลโทรโซลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกและการเผาผลาญไขมันของร่างกาย จากการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทั้งสองกลุ่มในแง่ของอัตราการหักของกระดูก นอกจากนี้นายแพทย์ พอล ก๊อสส์ ยังแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนของผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับยาเลโทรโซล เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีค่าเท่ากับร้อยละ 6.9 และ 5.5 (P=0.04) ตามลำดับ แต่พบว่าอัตราของการหักของกระดูกก็ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 5.9 และ 5.5)

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาทั้งในกลุ่มผู้ป่วยหลักหรือในกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการศึกษาด้านเกี่ยวกับไขมันยังพบว่า ไม่มีความแตกต่างในแง่ของการเกิดความผิดปกติต่อระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบไขมัน ในขณะที่อัตราส่วนของไขมันชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ต่อไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) ซึ่งลดลงหลังจากได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือนก็ใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่ม

การออกแบบการวิจัย

การศึกษา MA-17 เป็นการวิจัยระยะที่สามของการวิจัยระดับนานาชาติ เพื่อศึกษาการใช้ยาในแบบที่แพทย์และผู้ป่วยไม่ทราบว่าจะได้รับยาเลโทรโซลหรือยาหลอก โดยทำการสุ่มจากกลุ่มผู้ป่วย หลายสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมในการวิจัย

จากการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นในฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมามีผลทำให้ผู้ทำการศึกษาทั้งส่วนของแพทย์และผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลอันนำไปสู่การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกสามารถเลือกที่จะได้รับยาเลโทรโซล แทนยาหลอก ซึ่งผู้ป่วยทุกรายยังคงได้รับการติดตามผลในด้านความปลอดภัยจากการใช้ยาภายใต้ข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ผลการศึกษาเบื้องต้นดังกล่าวได้ถูกตีพิมพฺ์ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา

ยาเลโทรโซล

ยาเลโทรโซล เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็มไซน์ Aromatase ใช้รับประทานวันละหนึ่งครั้ง
เพื่อรักษามะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาให้ใช้ในผู้ป่วยสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งตัวรับฮอร์โมนเอสโตเจนเป็นบวก ยานี้มีจำหน่ายมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้การใช้ยาเลโทรโซลต่อเนื่องจากการักษาแบบมาตรฐานด้วยยาทามอกซีเฟน ก็ได้มีการเสนอเพื่อให้คณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลกพิจารณาอนุมัติการใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะเริ่มแรกในสตรีวัยหมดประจำเดือนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ข้อห้ามใช้และอาการข้างเคียงจากการใข้ยาเลโทรโซล

ในการประเมินผลเบื้องต้น อาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากขึ้น บวม ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ท้องผูก และวิงเวียนศีรษะ โดยพบว่ามีอุบัติการณ์มากกว่าร้อยละ 10 ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม แต่อาการข้างเคียงเกี่ยวกับอาการร้อนวูบวาบ อาการปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้อ พบได้มากกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเลโทรโซล (P

ยาเลโทรโซลห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยา โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยมักทนต่อการได้รับยาเลโทรโซลได้ดี จากการศึกษาการใช้ยาเลโทรโซลเปรียบเทียบกับยาทามอกซีเฟน ในกลุ่มผู้ป่วยระยะลุกลามพบว่าอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเลโทรโซลเทียบกับยาทามอกซีเฟน ได้แก่ อาการปวดกระดูก(รัอยละ 22 เทียบกับ ร้อยละ 21) อาการร้อนวูบวาบ (รัอยละ 19 เทียบกับ ร้อยละ 16) อาการปวดหลัง (รัอยละ 18 เทียบกับ ร้อยละ 19) อาการคลื่นไส้ (รัอยละ 17 เทียบกับ ร้อยละ 17) หายใจขัด(รัอยละ 18 เทียบกับ ร้อยละ 17) ปวดข้อ (รัอยละ 16 เทียบกับ ร้อยละ 15) อ่อนเพลีย(รัอยละ 13 เทียบกับ ร้อยละ 13) ไอ(รัอยละ 13 เทียบกับ ร้อยละ 13) ท้องผูก(รัอยละ 10 เทียบกับ ร้อยละ 11) แน่นหน้าอก(รัอยละ 6 เทียบกับ ร้อยละ 6) และปวดศรีษะ(รัอยละ 8 เทียบกับ ร้อยละ 6)

ยาเลโทรโซล ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับการใช้ยาเลโทรโซล ร่วมกับยาเคมีบำบัดอื่น อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดส่วนปลาย ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดและหัวใจรวมทั้งภาวะผิดปกติของหลอดเลือดสมองมีค่าเท่ากับร้อยละ 3-4 ใกล้เคียงกันกลุ่มที่ำได้รับการรักษาด้วยยาทามอกซีเฟน