7 กุมภาพันธ์ 2548 –กว่า 90% ของซีอีโอในเอเชียยอมรับว่า การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยงและการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นตัวขับเคลื่อนคุณค่าและเป็นพื้นฐานของความได้เปรียบทางธุรกิจ
จากผลการสำรวจประธานกรรมการบริหารทั่วโลกครั้งที่ 8 หรือ PricewaterhouseCoopers’s Eight Annual Global CEO Survey ซึ่งเป็นการสำรวจซีอีโอทั่วโลก 1,324 คน โดยแบ่งเป็นซีอีโอจากแถบทวีปยุโรป 392 คน ซีอีโอในสหรัฐอเมริกา 224 คน ซีอีโอในแคนาดา 80คน ซีอีโอในแม็กซิโก 39 คน นอกจากนั้นยังมี ซีอีโอในอเมริกาใต้ 257 คน ซีอีโอในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค 297 คนและซีอีโอในทวีปแอฟริกา 35 คน ผลจากการสำรวจสรุปได้ว่า CEO ในแถบเอเชียนั้นมีทัศนคติด้านบวกต่อการทำ GRC มากกว่า CEO ในประเทศแถบสหรัฐและยุโรป ขณะที่ 89% ของ CEOในแถบเอเชียยอมรับว่า GRC ได้เพิ่มคุณค่าและความได้เปรียบต่อคู่แข่ง CEO ในสหรัฐมีเพียง 60% และในยุโรป เพียง 72% เท่านั้น ที่มีมุมมองแบบเดียวกับเรา
“สามปีครึ่งที่ผ่านมา ซีอีโอให้ความสำคัญในการปรับองค์กรให้เข้ากับกฎหมายและกฎข้อบังคับใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการในการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร” มร.ซามูเอล เอ ดิเปียซซา ประธานกรรมการบริหารระดับโลก บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส กล่าว “นี่ไม่ใช่งานที่ง่าย แต่สำหรับซีอีโอผู้ซึ่งที่มีวิสัยทัศน์ที่มองการเปลี่ยนแปลงนี้ในแง่การลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย จะได้เห็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่า โดยเฉพาะการวัดผลการพัฒนาการปฏิบัติงาน มีความโปร่งใสมากขึ้น และการเติบโตองค์กรก็เป็นไปอย่างยั่งยืนขึ้น”
จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่า GRC ที่มีประสิทธิภาพจะให้ผลประโยชน์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีซีอีโออีกจำนวนมากที่ให้ความเห็นว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมากในการปฏิบัติ เพื่อผลประโยชน์เหล่านี้
ในขณะที่ซีอีโอส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าสามารถที่จะจัดการ GRC ในการปฏิบัติงานขององค์กรที่อยู่ในประเทศได้ดี แต่ 1/4 ของซีอีโอเท่านั้นที่สามารถจัดการกับหน่วยงานที่อยู่ต่างประเทศให้ประยุกต์ใช้กฎหมายต่างประเทศและกฏเกณฑ์ข้อบังคับ รวมถึงนโยบายภายในบริษัทและกฎต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการสำรวจครั้งนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าซีอีโอยังติดขัดในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ 53% ของผู้ตอบแบบสำรวจ มีความรู้สึกว่าได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติและจริยธรรมในการทำงาน เพื่อใช้ในองค์กรอย่างเต็มที่แล้ว ส่วนน้อยยังเชื่อว่าได้นำมาประยุกต์ใช้และมีการฝึกอบรมจริยธรรมที่มีมาตรฐาน และ 1/3ของซีอีโอมีความรู้สึกว่าวิธีการวัดการปฏิบัติงานในส่วนนี้ยังไม่มีการพัฒนาได้ดีเท่าที่ควร
จากการสำรวจซีอีโอส่วนใหญ่ (64%) เห็นว่ามีการกำกับดูแลที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการนำมาประยุกต์จะช่วยลดต้นทุนทางด้านกฎหมาย และช่วยเพิ่มชื่อเสียงและภาพลักษณ์องค์กร นอกจากนั้น อีก 58% ของซีอีโอมองเห็นว่าการใช้จ่ายในการจัดทำ GRC ถือว่าเป็นการลงทุนโดยจะสามารถเห็นประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าซีอีโอที่เห็นค่าจัดทำนั้นเป็นเพียงต้นทุนเท่านั้น กลุ่มผู้บริหารเหล่านี้ยังเชื่ออีกว่า GRC เป็นตัวสร้างคุณค่า เป็นแรงผลักดันให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทางการค้า และมีส่วนช่วยรองรับความเสี่ยงในการสร้างคุณค่าอีกด้วย
“ซีอีโอยังมีหนทางอีกยาวไกลกว่าที่จะปฏิบัติให้เกิดการจัดทำ GRC ให้มีประสิทธิภาพ และในขณะทีผลสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่า ซีอีโออีกจำนวนมากคำนึงถึงผลประโยชน์ พวกเขาต้องสำนึกว่า การจัดทำ GRC อย่างเข้าใจแท้จริงเท่านั้นจึงจะก่อให้เกิดROI ที่แท้จริง โดยเฉพาะหากมันเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นอื่นๆ” มร.ดิเปียซซา กล่าว
ในเอเชียนั้น CEO กว่า88% เชื่อว่าการทำ GRC จะมีผลกระทบที่ดีต่อภาพพจน์และแบรนด์ขององค์กร อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามชี้ว่า การที่จะทำ GRC ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นค่อนข้างมีอุปสรรคอย่างมาก 66% ของCEO ในเอเชียเชื่อว่าการขาดความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับเป็นอุปสรรคอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ 65% ของCEO ในเอเชียเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน นอกจากนี้กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือแนววิธีปฏิบัติงาน ที่มาจากหลายๆ จะก่อให้การทำ GRC ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพมานัก ฉะนั้น CEO 64% ในแถบเอเชียจึงเชื่อว่าการทำ GRC น่าจะมีมาตรฐานมาจากที่ๆเดียวเท่านั้น
“ในส่วนของประเทศไทยนั้น CEO ส่วนใหญ่ล้วนตระหนักถึงความสำคัญของ GRC และยิ่งด้วยการสนับสนุนขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยในการพัฒนาให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำให้ความพยายามของ CEO ในการพัฒนาเรื่องนี้มีความจริงจังมากขึ้น อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาในการทำให้ GRC มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดและทำให้การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ เชื่อมโยงกันได้อย่างแท้จริง โดยมีต้นทุนที่เหมาะสม” นางวารุณี ปรีดานนท์ หุ้นส่วน สายงานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย กล่าว
นอกจากนั้น นางวารุณียังกล่าวอีกว่า วิธีการเตรียมตัวเพื่อให้เกิด GRC ที่ดีคือ การที่ CEO ต้องเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี พิจารณาความเสี่ยงและมีวิธีการจัดการความเสี่ยงนั้นอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ลำดับต่อมาคือการทำให้ทุกคนในองค์กรยอมรับถึงข้อดีและประโยชน์ของ GRC และปฏิบัติตามกันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และหากมีการทำ GRC ที่ดีก็จะทำให้องค์กรมีความพร้อมในทุกทางทั้งด้านกลยุทธ์การเงิน การบริหาร และอื่น ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันในธุรกิจได้ นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพและชื่อเสียงขององค์กรอีกด้วย
เกี่ยวกับบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย
บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2502 ได้ช่วยเหลือธุรกิจไทยมานานกว่า 44ปี โดยผสมผสานประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรในประเทศไทยและความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคเอเชีย ผนวกกับเครือข่ายของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สทั่วโลก ทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจต่างๆจนเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้แบ่งธุรกิจออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ บริการด้านการสอบบัญชี บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ และบริการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษี
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส มีพนักงานกว่า 120,000 คนใน139ประเทศ ในประเทศไทยมีพนักงานกว่า 1,000 คน ทุกคนทำงานบนพื้นฐานแห่งความซื่อสัตย์และยึดหลักจริยธรรม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม : วิสาลินี วังวิทยา
พิมพ์วิสาข์ เทียนศรี
บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย
โทร. 0-2344-1000 ต่อ 1317, 4057 แฟกซ์ 0-2286-4440
[email protected]
[email protected]
ผลการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่บริหารทั่วโลกครั้งที่ 8 ของบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส
การสำรวจของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สที่มีต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารทั่วโลกครั้งที่8 นี้ได้มีการเลือกหัวข้อคำถามอย่างระมัดระวังโดยดูจากเรื่องที่เป็นจุดเปราะบางที่ประธานผู้บริหารในทุกๆอุตสาหกรรมให้ความสำคัญในปัจจุบัน คือ เรื่องการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการนำมาประยุกต์ปฏิบัติใช้ ( Governance, Risk Management and Compliance) หรือ GRC ในปีนี้ CEO ที่เข้าร่วมในการตอบแบบสอบถามมีมากกว่า 1,300 คน โดยคำถามที่ทุกคนจะถูกสัมภาษณ์นั้น จะเน้นไปในเรื่องทัศนคติที่มีต่อ GRC การประเมินการใช้ GRC ที่มีประสิทธิภาพ ความสำเร็จหรือล้มเหลว โดยหลังจากสิ้นสุดการสัมภาษณ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบอย่างสำหรับ GRC ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ดีขึ้น
มุมมองในแง่ดี : โอกาส ความท้าทายและกลยุทธ์
การประเมินภาพทางเศรษฐกิจโลกสามารถมองได้หลากหลาย อาจจะดูจากความไม่สมดุลในการค้าขาย มองจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แกว่งไปมา หดูจากราคาน้ำมันที่ขึ้นสูง จากการมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย หรือความไม่แน่นอน แต่ CEO ที่รวมในการสำรวจ ยังมีทัศนคติในแง่ดีว่าการลงทุนในวันนี้จะได้เห็นความสำเร็จในอนาคต
เศรษฐกิจของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ CEO มีความมั่นใจมากขึ้นโดย 42% มั่นใจมากว่ารายได้ขององค์กรจะมีเติบโตภายในระยะเวลา 12 เดือนนี้ เพิ่มจาก 31% เมื่อปี 2003 และแค่ 26% ในปี 2002 ถ้ารวมผู้ที่มั่นใจมากจนถึงค่อนข้างมั่นใจเข้าด้วยกัน เปอร์เซ็นต์ก็จะเพิ่มขึ้นจาก 72% ในปี 2002 เป็น84% ในปี 2003 และเพิ่มขึ้นเป็น 91% ในปี 2004
ไม่น่าประหลาดใจเลยว่าจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจ ในปี2002 นั้น 26% ยังไม่มั่นใจมากนักในการเติบโตของธุรกิจตนเอง จากนั้นในปี 2003 ตัวเลขก็ลดลงเป็น15% และตกลงไปอีกเป็น 9% ในปี 2004 ในขณะที่ผู้ที่ตอบรับเรื่องความมั่นใจ ยอมรับถึงความน่ากลัวในการประกอบธุรกิจสะท้อนให้เห็นในรายงานปี 2003 ว่า CEO ยอมรับเรื่องความเสี่ยงในระดับที่สูงขึ้นและมีการปรับใช้ในในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับปีที่แล้ว การที่มีกฎเกณฑ์มากเกินไปก็ก่อให้เกินอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจเช่นกัน โดยผลการสำรวจออกมาว่าได้มีการเพิ่มขึ้นจาก 1%เป็น 60% ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจว่าแม้ว่าความต้องการของบริษัทเอกชนในอเมริกาต่อ Sarbanes-Oxley Act ปี 2002 นั้น แต่ CEO ในประเทศสหรัฐอเมริกา 54% ต่อด้วยCEO ในยุโรป 61% และ CEO จากอเมริกาใต้ 71% ที่มองว่ากฎเกณฑ์ที่มากเกินไปนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีอุปสรรคอื่นๆด้วย เช่น การแข่งขันของคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำ การเสียผู้มีความสามารถ การผันผวนของราคาน้ำมัน ตลาดที่มีการผันผวนและการก่อการร้าย การก่อการร้ายนั้นลดลงเป็น 36% ส่วนการเพิ่มขึ้นของการค่าใช้จ่ายด้านการประกันสังคม 46%
ในส่วนของการผลิตนอกประเทศนั้น 28% ของซีอีโอถือเป็นการดำเนินงานปกติ และอีก11% กำลังมีแผนที่จะทำในอนาคต และในขณะเดียวกัน 21% ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา ได้มีการดำเนินการ ไปแล้ว 25% ในยุโรปกำลังทำ 35% ในอเมริกาใต้ และ 31% ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม บริษัทในอเมริกา (27%) และอเมริกาใต้ (36%) มีแนวโน้มที่ทำธุรกิจการผลิตนอกประเทศ โดยเฉพาะกับบุคคลที่ 3 มากกว่าบริษัทในประเทศแถบยุโรป( 24%) และเอเชีย (32%)
CEO ทั้งหลายได้มองว่าการการผลิตนอกประเทศนั้น เป็นมาตรการการลดต้นทุน (36%) และเชื่อว่าเป็นการเพิ่มระดับการแข่งขัน (27%) อย่างไรก็ดี CEO ทั้งหมดก็เห็นตรงกันว่า การผลิตนอกประเทศนั้น ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน แต่ข้อมูล แสดงให้เห็นว่า CEO สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ มีแค่ 9% ยอมรับว่า การผลิตนอกประเทศนั้น เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านชื่อเสียงขององค์กร โดยภาพรวม CEO สามารถรู้สึกได้ถึงระดับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการการผลิตนอกประเทศนั้น ทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย
ในการทำสำรวจCEO ในปีนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น เป็นการแสดงถึงลักษณะของสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่พวกเขาเผชิญอยู่
GRC อาวุธเพื่อความสำเร็จหรือการทำตามอย่าง
การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการประยุกต์ใช้ ได้ถูกนำมาทั้งในส่วนเดียวและใช้แยกส่วนกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อยู่ในรูปแบบเดียวกันหรือต่างๆกัน การปฏิบัติด้วยความโปร่งใส แจกแจงได้ การลดอัตราในการเสี่ยง และการปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ของบริษัท เป็นประเด็นที่บริษัทต้องนำมาปรับใช้ อย่างไรก็ตาม เมื่อหลักการถูกนำมาแสดงเพื่อนำมารวบรวมและขยายผลเพื่อการนำมาประยุกต์ใช้ ให้ตรงกับความต้องการเพื่อที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์ได้ การสำรวจพบว่าว่าการทำ GRC เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับหลักการ ช่วยเพิ่มการได้เปรียบทางการแข่งขัน และท้ายที่สุดก็จะเป็นความสำเร็จนั่นเอง (43% ของ CEO )
การวิจัยได้นิยาม GRC ว่าเป็นการปฏิบัติขององค์กร รวมถึงบทบาทอื่นๆ ที่กรรมการและผู้บริหารระดับสูง หรือ ผู้บริหารระดับปฏิบัติงานในส่วนต่างๆขององค์กรต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม สร้างกลยุทธ์ บริหารความเสี่ยงและการนำมาใช้ภายใต้กฎเกณฑ์ตามกฎหมาย นโยบายภายในองค์กร และตามขั้นตอนต่างๆ
CEO ส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าองค์กรสามารถตอบสนองต่อประเด็น GRC ต่างๆได้ เช่นข้อกฎหมาย ข้อบังคับที่มีผลโดยตรงต่อการดำเนินงานในประเทศ แต่เมื่อดูถึงกฎเกณฑ์ ระหว่างประเทศต่างเห็นอย่างได้ชัดว่า ความสามารถตอบสนองลดลงอย่างมาก 68% ของซีอีโอ มั่นใจว่าสามารถตอบสนองต่อประเด็น GRC ที่เกี่ยวกับกฎหมายในประเทศและกฎหมายข้อบังคับได้ดี 57% บอกว่าสามารถตอบสนองต่อประเด็น GRC ที่เกี่ยวกับนโยบายขององค์กรภายในและขั้นตอนของหน่วยงานต่างๆได้ดี
จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าความสามารถของ CEO นั้นลดลงเมื่อต้องจัดการ GRC ที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงานกับต่างประเทศ แค่ 26% เชื่อมั่นว่าสามารถตอบสนองต่อประเด็นต่างๆนั้น ไม่มีปัญหาไม่ว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมายทั้งในและต่างประเทศก็ตาม และ24% ที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญในการจัดการ GRC ที่ต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายภายในองค์กรและกฎเกณฑ์ ในส่วนของต่างประเทศ จะเห็นได้ว่ามุมมองของซีอีโอย่อมแตกต่างกันไปในทุกๆภูมิภาค แต่ การจัดการเรื่อง GRC ที่ดีที่สุดถือได้ว่าเป็น CEO จากประเทศในประเทศสหรัฐอเมริกา และน้อยที่สุดคือ CEO ในแถบอเมริกาและเอเชีย
การศึกษาระบบ GRC ในขณะนี้นั้น ยังถือได้ว่าเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น จากการทำสำรวจครั้งนี้ได้มีข้อสรุป 8 ข้อที่ถือว่ามีผลต่อประสิทธิภาพในหารบริหาร GRC คือ
• จริยธรรมองค์กร
• นโยบายองค์กรและกฎเกณฑ์
• การอบรมด้านจริยธรรมและการนำมาประยุกต์ใช้
• ความประพฤติที่องค์กรคาดหวัง
• กระบวนการในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
• การควบคุมและการวัดผลการปฏิบัติงานด้าน GRC
• การรายงานแบบ Real time
• ความถูกต้อง เหมาะสมต่อเวลา สมบูรณ์แบบ และความต่อเนื่องของข้อมูล
CEO ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ มีการจัดวางโดยใช้ 8 ข้อในขั้นตอนของการพัฒนาแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามเมื่อมีการถามถึงการพัฒนาอย่างเต็มที่ในแต่ละส่วน ซีอีโอมีความเห็นว่าได้มีการพัฒนาถึงขั้นสูงสุดเพียง 53% และต่ำสุด 22%
35% มีความรู้สึกว่า จริยธรรมองค์กรถูกนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องในบริษัทของตน และ 41% บอกว่านอกจากนั้นยังมีการพัฒนาในส่วนของนโยบายองค์กรอีกด้วย ในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อการพัฒนา GRC นี้ตัวเลขไม่มากนักมีความคิดเห็นว่า คงต้องมีการทำงานอีกมากเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่า 11% ของ CEO รายงานว่าขั้นตอนการดำเนินงาน และการจัดเก็บข้อมูลด้าน GRC เป็นไปอย่างอัตโนมัติ 67%ของ CEO บอกว่าบางส่วนของการดำเนินงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ แต่บางส่วนต้องจะต้องจัดเก็บด้วยแรงงาน
การควบคุม และการวัดผลการดำเนินงานของ GRC ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับขบวนการในการสร้างข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่า CEO หลายๆท่านมีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยว่าข้อมูลที่ได้รับในเรื่องของ GRC นั้นจะถูกต้องและสมบูรณ์แบบ 38% มีความมั่นใจอย่างมากว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้อง 31% บอกว่าข้อมูลนั้นอัพเดท และ 27%บอกว่าได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน
ตามที่แจ้งไปแล้วว่า CEO ส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหากับการนำ 8 หัวข้อด้านบนมาใช้ ระบบมาปฏิบัติแต่ต้องมีมุมมองที่ดีที่สะท้อนให้เห็นว่า GRC สามารถนำพาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น CEO จำนวนมากให้เครดิต GRC ว่าเป็นผลทางบวกต่อกระบวนการทางด้านกฎหมาย 64% และมีผลต่อชื่อเสียงองค์กรและแบรนด์ขององค์กร 56%
ในขณะเดียวกัน 1/3 ของCEO รู้ดีว่า GRC ยังมีผลกระทบที่ดีต่อการจัดอันดับบริษัท (Rating Agency – 38%) ผลต่อผลประกอบการทางการเงิน 37% ,ผลการดำเนินงานที่ดี 37%, ความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าทางธุรกิจ 33% , ความจงรักภักดีของลูกค้า 32%, การทำงานและศีลธรรมอันดีของพนักงาน 30%, การมีสินค้าและบริการที่ดีเยี่ยม 30%, ความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน 29% และประโยชน์ของ GRC ส่วนนี้ยังไม่มากถ้าเทียบกับผลประโยชน์ 2ข้อแรกแต่ก็นับว่าสูงมาก เพราะมีแต่แค่ 7% เท่านั้นที่มองว่า GRC ให้ประโยชน์แค่เพียงในแง่กฎหมายและกฎข้อบังคับ
CEO ยังชี้ให้เห็นอีกว่าเขาสามารถชี้แจงสิ่งต่างๆที่เป็นข้อสงสัยของผู้สอบบัญชีได้อย่างดี 59% สามารถชี้แจงต่อผู้ถือหุ้น 46% ชี้แจงต่อ ผู้กำกับดูแลกฎเกณฑ์ 45% อย่างไรก็ตาม CEO บางส่วน(ส่วนน้อย) ยังมีความสนใจไม่มากที่จะสามารถชี้แจงประเด็นข้อสงสัยให้กับพนักงานได้ 32% ต่อลูกค้า 30% และหุ้นส่วน 28%
การสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า CEO ที่มองการจัดทำ GRC เป็นการลงทุน (58%) มากกว่าเป็นต้นทุน (38%) จะมีทัศนคติในเรื่องผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป CEO ที่เห็น GRC เป็นการลงทุน (46%)นั้นจะมองถึงผลดำเนินการว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับผู้ที่เห็นว่าการทำ GRC เป็นต้นทุน(26%)จะมุ่งเน้นไปที่ผลประกอบการที่เป็นตัวเงิน ส่วนCEO ที่มองว่าเป็นการลงทุนจะมุมเน้นการปฏิบัติงานให้เป็นเลิศ48% ศีลธรรมอันดีและผลผลิตที่ดี 39% ความจงรักภักดีของลูกค้า 42% และความสัมพันธ์อันดีต่อประชาชนทั่วไปและชุมชน 44% ในขณะที่ CEO ที่มองว่าเป็นต้นทุนจะมีอัตราส่วนดังนี้ 21%, 18%, 19% และ29%
โดยสรุป CEO ทั้งหมดมีความเข้าใจถึงความสำคัญของ GRC แต่ยังมีอุปสรรคต่างๆ ในการนำไปปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีความยากลำบากในการชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ต่างๆ ของ GRC และการประเมินต้นทุนทางด้าน GRC อีกด้วย
ความสำเร็จในการดำเนินงาน
CEO ที่มีส่วนร่วมในการตอบแบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ GRC และมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ อย่างไรก็ตาม มีเพียง 25% เท่านั้นที่มันใจว่าตนเองได้จัดการบริหาร GRC อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเทียบกับกลุ่ม CEO ทั้งหมดแล้วนั้น องค์กรที่มี GRC อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการนำ GRC มาใช้ร่วมกับแนวความคิดต่างๆที่สัมพันธ์กัน พวกเขาได้นำข้อปฏิบัติทั้ง8 ข้อซึ่งเป็นหนทางความสำเร็จสู่ GRC มาพัฒนาอย่างเต็มที่จนสามารถมองเห็นถึงประโยชน์ของ GRC ที่จะได้รับและสิ่งต่างๆที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น
CEO ในองค์กรที่มีGRC ที่เข้มแข็งจะสามารถชี้แจงสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนกว่ากลุ่ม CEO ปกติ (54% ต่อ 38%) เมื่อเทียบผู้เข้าร่วมในการสำรวจทั้งหมด CEO ในองค์กร ที่มี GRC ที่เข้มแข็งโดยเฉลี่ยเกือบ 20% ค่อนข้างมั่นใจว่า GRC จะให้ผลประโยชน์ที่จับต้องได้แต่อาจมีความแตกต่างในส่วนของรูปแบบและผลประโยชน์บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลดลงของประเด็นด้านกฎหมายโดยมีเปอร์เซ็นต์ 78% ต่อ 60% นอกจากนั้นยังช่วยสร้างชื่อเสียงและแบรนด์ขององค์กรได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
สรุปโดยรวม 25% ของกลุ่มCEO ที่มีGRC ที่เข้มแข็งจะนำหน้ากลุ่ม CEO ทั่วไปในทุกๆด้าน รวมทั้งการข้องเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นก็เช่นกัน ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจะอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน (57% ต่อ 24%) ผู้สอบบัญชี (81% ต่อ 52%) และต่อพันธมิตรทางธุรกิจ (49% ต่อ 20%) อย่างไรก็ตามถ้ามองภาพรวมอาจมองเห็นตัวเลขที่สูงกว่านี้ ถึงแม้แต่ในกลุ่มผู้ถูกสำรวจก็ยังมองเห็นถึงความสามารถที่จะพัฒนา GRC ขึ้นไปได้อีก
25% ของ CEO ที่บริหาร GRC ได้อย่างประสิทธิภาพ เห็นด้วยว่า การพัฒนาส่วนต่างๆไปสู่ GRC ที่มีประสิทธิภาพจนถึงขั้นประสบความสำเร็จในผลประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น มีความสามารถในการตอบข้อสงสัยต่างๆของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะมีคะแนนที่สูงกว่า CEO อื่นๆ รวมถึง การลดลงของประเด็นกับพนักงาน (57% ต่อ 24%) กับผู้สอบบัญชี (81% ต่อ 52%) ต่อคู่มิตรทางธุรกิจ ( 49% ต่อ 20% ) อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้สามารถสูงได้อีก นั่นหมายถึงมีช่องให้พัฒนาได้
CEO เกือบทั้งหมดในการสำรวจยังต้องมีทางเดินอีกยาวไกลที่จะพัฒนาข้อปฏิบัติทั้ง 8 ข้อสู่ GRC ที่มีประสิทธิภาพ CEO บางคนได้ทำ GRC ในระดับที่สูงขึ้นโดยนำหลักทั้ง 8ข้อมาใช้ โดยจะสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าทุกหน่วยงานในองค์กรจะมีความเป็นเจ้าของและส่วนร่วมในการทำ GRC และหวังว่าจะเป็นการทำ GRC ที่เป็นไปอย่างอัตโนมัติและมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของ GRC เป็นอย่างดี