ไมครอน เทคโนโลยี อิงค์รายงานผลประกอบการสำหรับไตรมาส 4 และปีงบการเงิน 2548

บัวส์, ไอดาโฮ–(บิสิเนส ไวร์)–29 ก.ย.2548 – บริษัทไมครอน เทคโนโลยี อิงค์ (NYSE:MU) ประกาศผลการดำเนินงานสำหรับปีงบการเงิน 2548 และช่วงไตรมาส 4 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.ย. โดยในปีงบการเงิน 2548 นั้น บริษัทมีรายได้สุทธิ 188 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.29 ดอลลาร์ต่อหุ้นที่มีการปรับลด โดยมียอดขายสุทธิ 4.88 พันล้านดอลลาร์ ส่วนในช่วงไตรมาส 4 นั้น บริษัทมีรายได้สุทธิ 43 ล้านดอลลาร์ หรือ 0.07 ดอลลาร์ต่อหุ้นที่มีการปรับลด โดยมียอดขายสุทธิ 1.26 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับการขาดทุนสุทธิ 128 ล้านดอลลาร์ หรือ 0.20 ดอลลาร์ต่อหุ้นที่มีการปรับลด และยอดขายสุทธิที่ 1.05 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาส 3 ของปีงบการเงิน 2548

การขยายตัวของยอดขายสุทธิในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีงบการเงิน 2548 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นราว 15% ของยอดขาย DRAM, การพุ่งขึ้น 40% ของยอดขายอิมเมจ เซนเซอร์ CMOS และแฟลช เมมโมรี่ NAND ซึ่งสูงขึ้น 5 เท่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ในช่วงไตรมาส 4 ยอดขายผลิตภัณฑ์ DRAM แบบพิเศษ (ซึ่งรวมถึงแบบ synchronous และ pseudo-static) อยู่ที่ราว 30% ของยอดขายสุทธิและยอดขายผลิตภัณฑ์อิมเมจ เซนเซอร์ CMOS และแฟลช เมมโมรี่ NAND และคิดเป็นราว 15% ของยอดขายสุทธิ ยอดขายผลิตภัณฑ์ DDR และ DDR2 DRAM คิดเป็นกว่าครึ่งของยอดขายสุทธิของบริษัทสำหรับช่วงไตรมาส 4 ยอดขาย DRAM ที่สูงขึ้นได้สะท้อนถึงการผนวกกันของการเพิ่มขึ้น 10% ของยอดขายผลิตภัณฑ์เมมโมรี่ และการเพิ่มขึ้น 3% ของราคาขายเฉลี่ย

สตีฟ แอพเพิลตัน ประธาน, ประธานบริหาร และซีอีโอ บริษัทไมครอน กล่าวว่า “ความพยายามของไมครอนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ไลน์ผลิตภัณฑ์ของเราผ่านทางการขยายความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ DRAM แบบพิเศษ, อิมเมจ เซนเซอร์ CMOS และแฟลช เมมโมรี่ NAND นั้น ยังคงส่งผลดีต่อผลกำไรเบื้องต้น เรายังคงทุ่มเทในการเพิ่มแหล่งทรัพยากรเพื่อขยายสถานภาพของเราในตลาดเคลื่อนที่, ผู้บริโภคและเซิร์ฟเวอร์ ขณะที่ยังคงเป็นซัพพลายเออร์ชั้นนำด้าน DRAM สำหรับแอพพลิเคชั่นด้านคอมพิวเตอร์”

การผลิตผลิตภัณฑ์เมมโมรี่ในช่วงไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นราว 15% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 โดยในระหว่างช่วงไตรมาส 4 บริษัทยังคงเพิ่มการผลิตเวเฟอร์ขนาด 300 มม. ซึ่งบรรลุเป้าเบื้องต้นที่ 5,000 ชิ้นต่อสัปดาห์ ระดับของผลิตภัณฑ์เมมโมรี่ในส่วนของสินค้าคงคล้งประเภทสำเร็จรูปนั้น ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 แต่ลดลงในแง่ของจำนวนวันในการขายในส่วนของสินค้าคงคลัง อันเนื่องมาจากยอดขายที่สูงขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของปีงบการเงิน 2548

สำหรับปีงบการเงิน 2548 นั้น ยอดขายผลิตภัณฑ์เมมโมรี่ของบริษัทพุ่งขึ้นราว 40% เมื่อเทียบกับปีงบการเงินก่อน ราคาขายเฉลี่ยโดยรวมของบริษัทในปีงบการเงิน 2548 ลดลงราว 25% เทียบกับปี 2547 ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยสำหรับผลิตภัณฑ์ DDR2 DRAM ลดลงประมาณ 40% การผลิตผลิตภัณฑ์เมมโมรี่ในปีงบการเงิน 2548 สูงกว่าปีงบการเงินก่อนราว 50% ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวขึ้นอย่างมากในด้านประสิทธิภาพด้านการผลิตทั่วพอร์ทการผลิตที่หลากหลายของบริษัท และการเพิ่มขึ้นของการผลิตเวฟอร์ 300mm ของบริษัท

ณ สิ้นปีงบการเงิน 2548 บริษัทมีการลงทุนระยะสั้นและเงินสด 1.3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาส 4 ปีงบการเงิน 2548 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 304 ล้านดอลลาร์ และได้ลงทุน 169 ล้านดอลลาร์ในการใช้จ่ายด้านทุน ในช่วงไตรมาส 4 ของปีงบการเงิน 2548 บริษัทได้มีการชำระล่วงหน้าสำหรับหนี้ค้างชำระมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ในตราสารหนี้ด้อยสิทธิของบริษัทที่จะครบกำหนดในเดือนก.ย.2548

บริษัทจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในวันนี้เวลา 15.30 น.ตามเวลา MDT เพื่อที่จะหารือเกี่ยวกับผลประกอบการทางการเงิน โดยจะมีการถ่ายทอดการประชุม, ออดิโอและสไลด์แบบออนไลน์ทาง www.micron.com และจะมีการแสดงทาง Webcast ในเว็บไซท์ของบริษัทไปจนถึงวันที่ 29 ก.ย.2549 ส่วนการถ่ายทอดเทปเสียงของการประชุมดังกล่าวจะมีที่ 973-341-3080 (รหัสยืนยัน: 6496152) ซึ่งจะเริ่มในเวลา 17.30 น.ตามเวลา MDT ในวันนี้ และจะสามารถรับชมได้ต่อเนื่องไปจนถึง 17.30 น.ตามเวลา MDT ของวันที่ 6 ต.ค.2548

ไมครอน เทคโนโลยี อิงค์ เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลกในการจัดหาโซลูชั่นด้านเซมิคอนดัคเตอร์ที่ก้าวล้ำ โดยไมครอนซึ่งมีสำนักงานทั่วโลกนั้น ทำการผลิตและทำตลาด DRAMs, แฟลช เมมโมรี่ NAND, ระบบเซ็นเซอร์ภาพ CMOS, ส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ และส่วนประกอบหน่วยความจำสำหรับใช้ในระบบประมวลผลชั้นนำ, ผู้บริโภค, เครือข่าย และผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่ โดยหุ้นสามัญของไมครอนมีการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) ภายใต้สัญลักษณ์ MU หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมครอน เทคโนโลยี อิงค์ ดูที่เว็บไซท์ www.micron.com

ไมครอน เทคโนโลยี อิงค์
รายงานสรุปทางการเงินรวม
(หน่วยเป็นล้าน ยกเว้นข้อมูลต่อหุ้น)

ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ของปีที่สิ้นสุด ณ
1 ก.ย., 2 มิ.ย., 2 ก.ย., 1 ก.ย., 2 ก.ย.,
2548 2548 2547 2548 2547
——— ——— ——— ——— ———
ยอดขายสุทธิ $1,257.8 $1,054.2 $1,189.2 $4,880.2 $4,404.2
ต้นทุนของสินค้าที่มีการจำหน่าย
975.6 967.6 796.6 3,734.4 3,089.5
——— ——— ——— ——— ———
ผลกำไรเบื้องต้น 282.2 86.6 392.6 1,145.8 1,314.7

การขาย,ทั่วไปและบริหาร 88.0 88.6 74.7 348.3 332.0
การวิจัยและพัฒนา 150.5 153.4 199.2 603.7 754.9
การปรับโครงสร้าง (1) — — (0.6) (1.4) (22.5)
ค่าใช้จ่าย (รายได้) ด้านการดำเนินงานอื่น (2)
(2.6) (25.3) (6.1) (22.3) 0.6
——— ——— ——— ——— ———
รายได้จากการดำเนินงาน (ขาดทุน)
46.3 (130.1) 125.4 217.5 249.7

ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย,สุทธิ
(2.1) (3.8) (5.0) (15.4) (20.8)
รายได้อื่นที่ใช่การดำเนินงาน (ค่าใช้จ่าย)
(1.0) (1.3) 0.9 (3.5) 3.1
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ (กันสำรอง) (3)
(0.1) 7.3 (27.8) (10.6) (74.8)
——— ——— ——— ——— ———
รายได้สุทธิ (ขาดทุน) $ 43.1 $ (127.9) $ 93.5 $ 188.0 $ 157.2
========= ========= ========= ========= =========
ผลประกอบการ (ขาดทุน) ต่อหุ้น:
พื้นฐาน $ 0.07 $ (0.20) $ 0.14 $ 0.29 $ 0.24
มีการปรับลด 0.07 (0.20) 0.14 0.29 0.24

จำนวนหุ้นที่ใช้ในการคำนวณต่อหุ้น:
พื้นฐาน 649.4 648.2 645.1 647.7 641.5
มีการปรับลด 650.0 648.2 701.4 702.0 645.7

รายงานสรุปทางการเงินรวม (ต่อ)

ณ วันที่
1 ก.ย., 2 มิ.ย., 2 ก.ย.,
2548 2548 2547
——– ———- ———
เงินสดและการลงทุนระยะสั้น $1,290.4 $ 1,295.6 $ 1,231.0
จำนวนเงินค้างรับ 794.4 735.4 773.7
สินค้าคงคลัง 771.5 826.7 578.1
สินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด 2,925.6 2,920.4 2,638.7
อสังหาริมทรัพย์,โรงงานและอุปกรณ์,สุทธิ 4,683.8 4,770.9 4,712.7
เงินสดวงจำกัด 50.2 50.4 27.6
สินทรัพย์ทั้งหมด 8,006.4 8,086.2 7,760.0

บัญชีชำระได้และค่าใช้จ่ายสะสม 752.5 733.5 796.2
สัดส่วนหมุนเวียนของหนี้สินระยะยาว (4) 147.0 248.8 70.6
หนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด 978.6 1,093.3 972.1
หนี้สินระยะยาว (4) 1,020.2 1,045.6 1,027.9
หุ้นของผู้ถือหุ้น 5,846.8 5,791.6 5,614.8

ปีที่สิ้นสุด ณ วันที่
1 ก.ย., 2 ก.ย.,
2548 2547
———- ———
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงาน $ 1,237.8 $ 1,158.8
เงินสดสุทธิที่ใช้สำหรับกิจกรรมการลงทุน (4)
(1,083.9 ) (1,312.7)
สินทรัพย์สุทธิจาก (ใช้สำหรับ) กิจกรรมด้านการเงิน
(115.5 ) 69.7

ค่าเสื่อมราคาและการชำระคืนหนี้ 1,264.5 1,217.5
ค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์,โรงงานและอุปกรณ์
(1,064.8 ) (1,080.7)
การชำระสัญญาการซื้ออุปกรณ์ (236.0 ) (343.7)

การซื้ออุปกรณ์ที่ไม่ใช้เงินสดจาก
สัญญาที่ชำระได้และการให้เช่าสินทรัพย์มูลค่าสูง 372.3 280.0

ปีงบการเงินของบริษัทคือ ช่วง 52 หรือ 53 สัปดาห์ ที่สิ้นสุดในวันพฤหัสบดีที่ใกล้เคียงกับวันที่ 31 ส.ค.มากที่สุด ปีงบการเงิน 2547 ของบริษัทมีจำนวน 53 สัปดาห์ และไตรมาสแรกของปีงบการเงิน 2547 มีจำนวน 14 สัปดาห์

(1) ในช่วงไตรมาส 2 ของปีงบการเงิน 2003 บริษัทเริ่มมีแนวคิดริเริ่มหลายประการในการลดค่าใช้จ่าย ดังนั้น บริษัทจึงมีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างในปีงบการเงิน 2546 ซึ่งรวมถึงการยุติการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนาด 200 มม. ในเวอร์จิเนีย และการระงับผลิตภัณฑ์เมมโมรีบางตัว ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ SRAM และ TCAM และการปลดพนักงานของบริษัทจำนวน 10 % ทั่วโลก ความน่าพอใจในการปรับโครงสร้างในปีงบการเงิน 2547 ส่วนใหญ่ได้สะท้อนถึงยอดขายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ 200mm ของบริษัทในเวอร์จิเนีย

(2) ค่าใช้จ่าย (รายได้) จากการดำเนินการอื่น ๆ สำหรับปีงบการเงิน 2548 จะรวมถึงการเพิ่มขึ้นสุทธิของการขาดทุนจากการหักค่าเสื่อมและการจัดการอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์มูลค่า 13 และ 12 ล้านดอลลาร์ในบัญชีรายรับจากรัฐบาลสหรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาษีต้านการทุ่มตลาด ค่าใช้จ่าย (รายได้) จากการดำเนินงานอื่น ๆ สำหรับไตรมาส 3 ของปีงบการเงิน 2548 จะรวมถึงการเพิ่มขึ้นสุทธิของการขาดทุนจากการหักค่าเสื่อมและการจัดการอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์มูลค่า 15 ล้านดอลลาร์ และรายได้สุทธิ 12 ล้านดอลลาร์จากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ค่าใช้จ่าย (รายได้) จากการดำเนินงานอื่น ๆ สำหรับปีงบการเงิน 2547 จะรวมถึงการขาดทุน 17 ล้านดอลลาร์จากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน และ 7 ล้านดอลลาร์จาก Commonwealth of Virginia สำหรับการปฏิบัติตามพันธะสัญญาด้านการลงทุนในการผลิตเวเฟอร์ แฟบในเวอร์จิเนีย

(3) ภาษีเงินได้สำหรับปีงบการเงิน 2548 และ 2547 ส่วนใหญ่จะสะท้อนถึงภาษีจากการดำเนินงานนอกสหรัฐของทางบริษัท คาดว่าผลการดำเนินงานในสหรัฐจะไม่สะท้อนถึงข้อกำหนดด้านภาษีเงินได้ จนถึงช่วงเวลาที่ทางบริษัทได้ประโยชน์จากสัดส่วนจำนวนมากของการรวมการขาดทุนจากการดำเนินงานสุทธิในสหรัฐของบริษัทและสินเชื่อภาษีที่ไม่มีการใช้ ขณะที่มาตรการดังกล่าวได้รับการชดเชยอย่างมากจากการปรับลดอย่างสอดคล้องกันในการลดหย่อนมูลค่าภาษีล่วงหน้า

(4) ในช่วงไตรมาส 4 ของปีงบการเงิน 2548 บริษัทได้มีการชำระล่วงหน้าสำหรับหนี้ค้างชำระมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ในตราสารหนี้ด้อยสิทธิของบริษัทที่จะครบกำหนดในเดือนก.ย.2548 ในช่วงไตรมาส 3 ของปีงยการเงิน 2548 บริษัทได้ทำข้อตกลงด้านการเงิน 2 ฉบับกับธนาคารต่าง ๆ เป็นมูลค่ารวม 2.35 หมื่นล้านเยน (221 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตราสารหนี้สกุลเงินเยนสามารถชำระได้ในงวดการชำระรอบครึ่งปีจนถึงปี 2553 และมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 1.2% ในช่วงปีงบการเงิน 2548 บริษัทมีรายได้ 161 ล้านดอลลาร์จากการทำธุรกรรมด้านการขาย-เช่ากลับ ซึ่งจะสามารถชำระได้เป็นงวด ๆ จนถึงเดือนม.ค.2552

ติดต่อ: ไมครอน เทคโนโลยี อิงค์
คิปป์ เอ. เบดาร์ด, 208-368-4400 (นักลงทุนสัมพันธ์)
kbedard@micron.com
ไมค์ เีรย์โนลด์สัน, 208-368-4400 (สื่อมวลชนสัมพันธ์)
mreynoldson@micron.com
http://www.micron.com