ฟูจิตสึซื้อลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย MMP Portfolio

คูเปอร์ติโน่, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์) — ฟูจิตสึ ร่วมเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ได้แก่ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และคาสิโอ คอมพิวเตอร์ ที่ซื้อลิขสิทธิ์ในเทคโนโลยีที่แพร่หลายของ MMP Portfolio

Alliacense ประกาศในวันนี้ว่า ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด ได้ซื้อลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย Moore Microprocessor Patent(TM) (MMP) Portfolio ฟูจิตสึจะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตระบบระดับโลก ซึ่งรวมถึง ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และคาสิโอ คอมพิวเตอร์ ที่เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ MMP Portfolio ทั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงของลิขสิทธิ์ดังกล่าว

แมค เลคโครน (Mac Leckrone) ประธานของ Alliacense กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ดิจิตอลต่างๆที่อาศัยประโยชน์จากเทคนิคในการออกแบบของ MMP นั้น มีราคาแพงมาก เขาระบุด้วยว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ กล้องดิจิตอล และเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และแม้แต่ระบบอิเล็คทรอนิคส์ของรถยนต์ ต่างก็ได้รับการออกแบบด้วยอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่หลากหลายที่ใช้เทคโนโลยี MMP Portfolio

“โครงการลิขสิทธ์ของเราตอบแทนผู้เคลื่อนไหวกลุ่มแรกในภาคอุตสาหกรรมของพวกเขา ด้วยการลดราคาลงอย่างมาก” นายเลคโรนกล่าว “ด้วยการออกแบบ โครงสร้างลิขสิทธิ์ของเราจะช่วยให้ผู้ผลิตระบบที่มีความคล่องตัวและมองการณ์ไกลได้เปรียบคู่แข่งของพวกเขา”

นายเลคโครนยืนยันว่า Alliacense ได้ติดต่อกับผู้ผลิตระบบหลายร้อยรายทั่วโลก และยืนยันว่าการแข่งขันด้านลิขสิทธิ์ในหลายภาคการตลาดกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น

“เมื่อผู้ค้าฮาร์ดแวร์ดิจิตอลตระหนักถึงการพึ่งพาอย่างแพร่หลายในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย MMP Portfolio พวกเขาจะรู้ซึ้งถึงความจำเป็นอย่างมากในการเข้าถึงเทคโนโลยี MMP พื้นฐานได้อย่างต่อเนื่อง”

“มันมีความจำเป็นที่จะต้องคงอิสรภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงปัญหาด้านซัพพลายเชน” นายเลคโครนกล่าว พร้อมกับระบุว่า Alliacense ยังได้นำเสนอลิขสิทธิ์ที่เรียบง่ายและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแก่ผู้ประกอบการในภาคเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกอีกด้วย

เกี่ยวกับ MMP(TM) Portfolio
Moore Microprocessor Patent(TM) Portfolio ซึ่งตั้งชื่อตามนักลงทุนผู้เป็นตำนาน ชาร์ลส “ชัค” มัวร์ (Charles “Chuck” Moore) ประกอบด้วยสิทธิบัตรสหรัฐฯ 7 ฉบับ รวมถึงของยุโรปและญี่ปุ่น สิทธิบัตรเหล่านี้ ซึ่งได้รับการคุ้มครองไปจนถึงปี 2558 นั้น จะคุ้มครองเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตัวประมวลสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal Processor : DSPs) โปรเซสเซอร์แบบฝังตัว และ System-on-Chip (SoC)

หลังจากที่ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง อินเทล และ เอเอ็มดี ได้พิสูจน์ความคุ้มค่าของ MMP Portfolio เมื่อปี 2548 ขณะนี้ การมอบลิขสิทธิ์ MMP กำลังมุ่งเน้นไปที่ผู้ผลิตระบบทั่วโลก

เกี่ยวกับ Alliacense

Alliacense เป็นบริษัทในเครือ TPL Group Enterprise ซึ่งให้บริการด้านการออกใบอนุญาตและการดำเนินการทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การออกใบอนุญาต IP การพัฒนาธุรกิจ และผู้บริหารโครงการ Alliacense ให้ความสำคัญกับการเพิ่มความตระหนักถึงทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม TPL โดยกลุ่ม TPL เป็นบริษัทพัฒนาและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2532 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.alliacense.com

Alliacense, Moore Microprocessor Patent และ MMP เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท Technology Properties Limited (TPL)

เครื่องหมายการค้าอื่นๆทั้งหมดเป็นของเจ้าของที่เกี่ยวข้องแต่ละราย