ในระหว่างวันที่ 30 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. ศกนี้ จะมีการนำเสนอไวน์โกตส์ดูวองตูซ์ (CÔtes du Ventoux)และโวกลูส(Vaucluse) AOC ในงานเทศกาลอาหารและโรงแรม Food and Hotel ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ไวน์ทั้งสองมาจากหุบเขาโรนน์ (Rhone) ในเขตกามาแรตต์(Camarette) การจัดงานครั้งนี้ยังมุ่งให้ผู้ร่วมงานได้พบปะกับผู้แทนจำหน่ายหรือผู้นำเข้าด้วยเช่นกัน
โดแมนกามาแรตต์เป็นธุรกิจไวน์ประจำตระกูล มีอาณาบริเวณพื้นที่ปลูกองุ่น 3 แห่งที่มีความแตกต่างของระดับความสูงและเนื้อดิน สามารถใช้ปลูกและโคลนองุ่นมากถึง 42 พันธุ์ และมีปริมาณการผลิตไวน์มากถึง 2,000 hl ตัวอย่างไวน์ที่ผลิตได้ อาทิ ไวน์ AOC โกตส์ดูวองตูซ์ “CÔtes du Ventoux” (1,200 hl) ซึ่งมีให้เลือก 2 ชนิด ได้แก่ ไวน์แดงและโรเซ
• อาร์โมเนีย(Armonia) : ไวน์รสผลไม้ชัดเจน น่าละเลียด รับรองคุณภาพอย่างแท้จริง
• แตร์รัวร์วีเยยวิญส์ (Terroir vieilles vignes) (มีเฉพาะไวน์แดง) ซึ่งได้รับการระบุไว้ในคู่มือแนะนำไวน์ Hachette Wine Guide 2005 เป็นไวน์ที่เหมาะสำหรับเก็บเก่าเพื่อให้ได้เนื้อไวน์ที่เข้มข้นอมกลิ่นแทนนิน
พันธ์องุ่นที่หลากหลายซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพ AOC และปลูกบนพื้นดินปนหินปูนในที่ลึก นำมาซึ่งคุณลักษณะพิเศษของน้ำไวน์ กล่าวคือ พันธุ์ Grenache เพิ่มปริมาณและให้กลิ่นหอมแบบผลไม้ พันธุ์ Carignan เพิ่มความเข้มข้น ส่วนพันธุ์ Mourvedre ให้สีสัน กลิ่นและรสเครื่องเทศ และพันธุ์ Cinsault ให้กลิ่นแบบผลไม้และความสดชื่น ท้ายสุดนี้ Syrah มอบความเข้มข้นของเนื้อไวน์และเหมาะสำหรับการเก็บเก่า
• ไวน์ขาวอาร์โมเนียโกตส์ดูวองตูซ์ (Armonia CÔtes du Ventoux, AOC) มอบกลิ่นหอมแบบดอกไม้สีขาวแซมด้วยรสผลไม้ฝาด นับว่าเป็นผลผลิตที่สมบูรณ์จากไร่องุ่นแห่งนี้ ไวน์อาร์โมเนียนี้เกิดจากพันธุ์องุ่น 4 ชนิดที่ได้รับการรับรองคุณภาพ นั่นก็คือ แกลแรตต์ เกรอนาชขาว บูร์บูเลนซ์ และรูซานน์ ไวน์พิเศษนี้ให้ความสดชื่นและสะดวกสำหรับมีไว้ดื่มทุกเวลา
อนึ่ง บริษัทกามาแรตต์ขอเสนอไวน์ขาวและแดงให้คุณเลือกจากพันธ์องุ่นในชุดโวกลูส (800 hl) ซึ่งแบ่งเป็น
ประเภทไวน์แดง:
• แมร์โลต์ (merlot) 100%: จัดจ้านด้วยรสแทนนินแต่กลมกล่อม แทรกกลิ่นเครื่องเทศและช็อกโกแลตดำ
• เทมพรานิลโล (tempranillo): 100% (องุ่นพันธุ์ดั้งเดิมจากสเปน): ออกรสแทนนินเบาๆ พร้อมกลิ่นเบอร์รี่แดงหวานๆ เหมาะสำหรับดื่มแบบเย็นเล็กน้อยในช่วงฤดูร้อน
ประเภทไวน์ขาว :
• วีโอนีเยร์ (viognier): 100%: แฝงกลิ่นหอมแบบแอพพริคอตและผลไม้ที่สดชื่น เหมาะสำหรับมีไว้ดื่มก่อนอาหาร
• ชาร์ดอนเนย์ (chardonnay) 100%: กลิ่นหอมคล้ายกล้วยผสมผลไม้ต่างถิ่น เหมาะสำหรับดื่มกับปลาและเนยแข็งสด
• เกรอนาชขาว (white Grenache) 100%: (ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญบรอนซ์ปี 2549) หอมกลิ่นดอกไม้ สดใส และน่าดื่ม
• มูสกาตเมล็ดเล็กแห้ง (Muscat Petit Grain) 100% : เหมาะสำหรับดื่มก่อนอาหาร ให้ความรู้สึกดั่งกำลังเคี้ยวเมล็ดองุ่น
องุ่นเหล่านี้ได้รับการเพาะปลูกบนดินแบบกรวดที่รับแสงอาทิตย์เต็มที่ในบริเวณลาฟีกูอีแยร์(La Figuière) หรือบนพื้นดินในบริเวณแซงต์แบลส(Sainte-Blaise)ที่ระดับความสูง 350 เมตร ที่ดินทั้งสองยังครอบครองโดยบริษัทกามาแรตต์ด้วยเช่นกัน
ผลิตภัณฑ์ไวน์จากบริษัทฯ ล้วนมีคุณภาพที่คุ้มกับราคาสูงสุด และยังรักษามาตรฐานตามนโยบายที่กำหนดไว้ในตอนต้น นั่นก็คือ เคารพธรรมเนียมปฏิบัติของการปลูกองุ่น (เลือกเฉพาะพันธุ์และผลองุ่นที่ทีคุณภาพ) ทั้งยังคำนึงถึงผู้บริโภค (ใช้ซัลไฟต์เพียงเล็กน้อย ไร้สารตกแต่ง และได้รับการบรรจุที่แหล่งผลิตโดยเฉพาะ และอื่นๆ)
ธุรกิจครอบครัวนี้มุ่งเพิ่มศักยภาพการส่งออกโดยผนึกกำลังกับบริษัทผลิตไวน์จากหุบเขาโรนน์ 2 แห่ง: โดแมนเดส์ปาสกิเยรส์(Domaine des Pasquiers)และโดแมนแซงต์โลรองต์ (Domaine Saint-Laurent) เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตไวน์
ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
SCEA LA CAMARETTE
Mlle Nancy Gontier
Joint-Manager
439 chemin des brunettes
84210 PERNES LES FONTAINES, FRANCE
โทร +33 (0)4 90 61 60 78
อีเมล [email protected]
เว็บ www.domaine-camarette.com
ความเป็นมาของบริษัทกามาแรตต์
ในศตวรรษที่ 17 เขตกามาแรตต์เคยเป็นฟาร์มเก่าแก่ของขุนนางตระกูลกามาแรตต์ จากนั้น ในราวทศวรรษที่ 60ตระกูลกงติเยร์ได้ซื้อต่อฟาร์มดังกล่าว เขตกามาแรตต์ตั้งอยู่ที่ปลายเขาวองตูซ์เป็นประตูไปสู่ดอดีตเมืองหลวงกงตาต์เวแนสแซงในแปรซ์เลส์ฟงแตนซ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เลื่องชื่อในหมู่นักท่องเที่ยวในเรื่องน้ำพุ 42 แห่งซึ่งส่วนหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างบูรณะ
ในศตวรรษที่ 19 เขตกามาแรตต์นี้เคยใช้เป็นฟาร์มเลี้ยงตัวไหมเพื่อใช้สำหรับทอผ้าไหม ต่อมากลายเป็นศูนย์กลางการโคลนพันธุ์องุ่นภายใต้การดูแลของคุณปีแอร์ กงตีเยร์ ซึ่งสร้างโรงผลิตไวน์ขึ้นในปี 2536
สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่สำนักงานข่าวเทคโนโลยีฝรั่งเศส ติดต่อคุณรัชนีกร เมฆฉาย
0 2267 5055, 0 2267 5097 แฟ็กซ์ : 0 2237 6163 อีเมล [email protected]
ท่านสามารถเยี่ยมชมข่าวผลิตภัณฑ์และบทความเทคโนโลยีอื่นๆ ของสำนักงานข่าวฯ ได้ที่ www.infotechfrance.com/ftpobangkok