บรีส พาชม “ศูนย์กลางการเรียนรู้กลางหุบเขา”

บรีส ย้ำความมุ่งมั่นในการ “เติมพลังให้แก่ชีวิต” ของเด็กไทย ด้วยการพาสื่อมวลชนเยี่ยมชม “ศูนย์กลางการเรียนรู้กลางหุบเขา” ซึ่งถือกำเนิดขึ้นภายใต้แนวคิดของครูและนักเรียนที่บูรณาการ “การเล่น” และ “การเรียนรู้” เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนใน “ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้” ที่โรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายอภิชาติ ศาลิคุปต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า “สำหรับการสานต่อโครงการจัดสร้างลานเล่น บรีส เพิ่มพลังเรียนรู้ในปีนี้ บรีสมุ่งเน้นที่การยกมาตรฐานการทำกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมขึ้นไปอีกระดับ ด้วยการสร้างความรู้สึกรักและเป็นเจ้าของลานเล่นบรีสฯ ให้กับทุกๆ คนในชุมชน ตั้งแต่เด็กนักเรียน ครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้ โดยอาศัยการร่วมแรงร่วมใจจากพนักงานยูนิลีเวอร์ในทุกๆ ฝ่าย”

“ในวันนี้ เราพาทุกคนมาเยี่ยมชม “โครงการมหัศจรรย์แห่งลานเล่นบรีส” ที่โรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบ ซึ่งจุดประกายขึ้นจาก “ลานเล่นบรีส เพิ่มพลังเรียนรู้” ที่บรีสจัดสร้างให้กับทางโรงเรียนในปีที่แล้ว ความน่าสนใจของโครงการนี้ก็คือ นอกจากลานเล่นบรีสฯ จะเป็นสนามเด็กเล่นที่ได้มาตรฐานแห่งแรกของชุมชนแล้ว ครู และนักเรียนของโรงเรียนยังได้ใช้ประโยชน์จากลานเล่นฯ ในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง เริ่มต้นที่การส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ผ่านการใช้ลานเล่นฯ เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้วิชาต่างๆ โดยทางโรงเรียนได้จัดสร้าง “ศาลารักการอ่าน” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับเด็กนักเรียน และเด็กๆ อีกกว่า 4-5 หมู่บ้านในละแวกนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าลีซอ”

นอกจากการเป็นศูนย์กลางทางด้านการเรียนภาษาไทย ทางโรงเรียนยังใช้ลานเล่นฯ เป็น “ตลาดนัดการเรียนรู้” ให้ผู้คนในชุมชนใช้ลานเล่นฯ เป็นศูนย์กลางในการเข้ามาพูดคุยกัน อ่านหนังสือร่วมกัน ไปจนถึงเลือกเอาผลหมากรากไม้ที่ตนเองปลูกมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันภายในลานเล่นฯ ในระหว่างที่เด็กๆ สามารถเข้ามาเล่นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ภายในลานเล่นฯ ไปพร้อมกัน พิสูจน์ให้เห็นว่า ลานเล่นบรีสฯ สามารถเติมพลังการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ และเป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชนได้อย่างกลมกลืน

“แต่ที่พิเศษยิ่งกว่านั้นก็คือ เนื่องจากโรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบ เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าเขาไกลจากตัวเมือง แต่ความห่างไกลก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค เพราะคุณครูได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์อุปกรณ์การเรียนการสอนขึ้นใช้เองแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น “กล่องคำศัพท์มหาสนุก” ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากถุงปุ๋ยและกล่องกระดาษ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ช่วยกระตุ้นจินตนาการของเด็กๆ มากอยู่แล้ว แต่พอได้ลานเล่นบรีสฯ เข้ามาอยู่ในโรงเรียน ครูอาจารย์ของโรงเรียนก็ใช้ลานเล่นฯ ต่อยอดจินตนาการให้เด็กๆ ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรมที่สอดรับไปกับการเรียนการสอนในทุกวิชาได้อย่างน่าสนใจมาก อาทิ กิจกรรมตะลุยมหาสมบัติ ที่สร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ ทว่าสามารถทดสอบเพลย์ คิวของเด็กไปด้วยได้พร้อมกัน แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นได้แม้กระทั่งในลานเล่นฯกลางหุบเขาที่โรงเรียนบ้านกึ้ดสามสิบแห่งนี้เช่นกัน” นายอภิชาติ กล่าวสรุป