ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 48 ประเทศชิ้นล่าสุดจากนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ที่ระดับเดิมจากการสำรวจ เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ กว่าครึ่งยังคงรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับโอกาสในด้านการงาน และเกือบครึ่งวิตกกับสถานะทางการเงินของตนเองในปีหน้า ส่งผลให้ชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
จากผลการสำรวจของนีลเส็นพบว่าค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากระดับ 99 จากการสำรวจในรอบเดือนพฤศจิกายนในปี 2549 มาที่ระดับ 97 ในรอบการสำรวจในเดือนพฤษภาคมปี 2550 และลดลงอีกครั้งที่ระดับ 94 ในการสำรวจครั้งล่าสุดในรอบเดือนพฤศจิกายนในปี 2550 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคทั่วโลกจำนวนยี่สิบแปดเปอร์เซ็นต์คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ ส่งผลให้ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 21 ประเทศ จาก 48 ประเทศที่นีลเส็นทำการสำรวจลดลง ผู้บริโภคชาวไทยติดลำดับแรกของโลกด้วยจำนวนคนห้าสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ คาดว่าว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ รองลงมาคือไต้หวัน (47%) และอิตาลี่ (45%) ตามลำดับ( ตารางที่1 และ ตารางที่ 2 ) ประเทศนอร์เวย์ติดอันดับแรกของโลกที่พบผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดด้วยคะแนน 135 รองลำดับสองได้แก่ อินเดีย (133) และลำดับสามได้แก่ เดนมาร์ก (124) ( ตารางที่1.1)
นอกจากอินเดีย ประเทศในกลุ่มเอเชีย แปซิฟิค อาทิ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฮ่องกง เวียดนาม นิวซีแลนด์และ สิงคโปร์ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นติดในสิบลำดับแรกของโลก โดยพบระดับความเชื่อมั่นของอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ทวีปเอเชีย แปซิฟิคเป็นทวีปที่มีความเชื่อมั่นสูงสุดในโลก
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ นีลเส็น กล่าวว่า ” ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2549 ภายใต้ปัจจัยที่บ่งขี้ในทางลบเกี่ยวกับเศรษฐกิจหลายประการ เช่น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัว ราคาน้ำมันขึ้น และภาวะวิกฤตในตลาดสินเชื่อซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นนั้น ในฐานะผู้นำเศรษฐกิจของโลกของสหรัฐฯ สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ไม่ดีนี้ได้ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในส่วนต่างๆของโลกและมีผลต่อความรู้สึกในเชิงลบของผู้บริโภคทุกๆแห่ง รวมทั้งประเทศไทย”
พบผู้บริโภคชาวไทยยังคงกังวลเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงานและเกือบครึ่งไม่เชื่อมั่นในสถานภาพทางด้านการเงิน
เมื่อสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้บริโภคชาวไทยเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และสถานะทางการเงินของตนในอีกสิบสองเดือนข้างหน้า ผู้บริโภคชาวไทยยังคงแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวในระดับใกล้เคียงจากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมาว่า พบผู้บริโภคชาวไทย (64%) ยังคงรู้สึกว่าโอกาสในด้านการงาน “ไม่ค่อยดี” และ “ไม่ดี” นอกจากนี้ยังพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (44%) มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า
ผู้บริโภคชาวไทยยังคงมุ่งเน้นการออม
ผู้บริโภคชาวไทย (66%) เชื่อว่าขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการในอีก 12 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยยังคงติดในลำดับที่สามของโลกที่มีจำนวนนักออมมากถึง 64% ที่มีความประสงค์จะเก็บเงินในส่วนที่เหลือเพื่อเก็บออมหลังจากใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต หลังจากที่เคยครองแชมป์อันดับที่หนึ่งของโลกต่อเนื่องกันถึงสามครั้งในการสำรวจที่ผ่านมา โดยการสำรวจครั้งนี้พบชาวอินโดนีนีเซีย และสิงคโปร์ (65% เท่ากัน) ถูกจัดลำดับแรกและอันดับสองของโลก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคชาวไทยเพียง 6% กล่าวว่าพวกเขาไม่มีเงินเหลือเก็บเลย (ตารางที่ 3)
นอกจากความตั้งใจที่จะออมเงินแล้ว การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมในการใช้จ่าย (50%) มาก รองลงมาคือ สินค้าทางด้านเทคโนโลยี่ (38%) และความต้องการซื้อเสื้อผ้าใหม่ (30%) ตามลำดับ
นางจันทิรา ลือสกุล กล่าวเสริมว่า “ผู้บริโภคทั่วโลกรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย โดยจะเห็นได้จากความพร้อมในการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลงของผู้บริโภคใน 26 ประเทศ จาก 48 ประเทศที่เราทำการสำรวจ เมื่อเทียบจากผลสำรวจเมื่อหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญต่อกลุ่มผู้ค้าปลีก ที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการดึงดูดผู้บริโภคให้จับจ่ายใช้สอยในปีนี้ ”
ผู้บริโภคชาวไทยวิตกปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด
ผู้บริโภคชาวไทยติดอยู่ในห้าประเทศแรกของโลกเมื่อพิจารณาถึงความวิตกกังวลทางด้านเศรษฐกิจในอีกหกเดือนข้างหน้า โดยพบผู้บริโภคจำนวน 68% กังวลกับปัญหาในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นจาก 59% จากการสำรวจในรอบที่ผ่านมา และปัจจัยที่กังวลมากที่สุดในสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำก็คือ ความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง ( 47%) ปัญหาการว่างงาน ( 43%) และภาวะเงินเฟ้อ (28%)
ไต้หวัน (74%) จัดอยู่ในอันแรกของโลกที่วิตกกังวลเรื่องเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือประเทศจีน (71%) โดยจะพบว่าเจ็ด ในสิบประเทศที่มีความกังวลต่อเรื่องดังกล่าวมากที่สุดคือประเทศในกลุ่มเอเชีย แปซิฟิค (ตารางที่4 )
ในทวีปเอเชีย แปซิฟิค ประเทศที่กังวลกับเรื่องสุขภาพมากที่สุดได้แก่ จีน (63%) ฮ่องกง (49%) และเวียดนาม (48%) และประเทศที่กังวลกับเรื่องโอกาสด้านการงานมากที่สุดได้แก่ เวียดนาม ( 58%) เกาหลีใต้ (54%) และฟิลิปปินส์ (47%)
ส่วนผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรป โดยมีประเทศในแถบเอเชีย แปซิฟิค ได้แก่ เกาลีใต้(54) ญี่ปุ่น(59) และไต้หวัน (69) ที่มีความเชื่อมั่นในระดับที่ต่ำ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในญี่ปุ่น และไต้หวัน ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง
เกี่ยวกับการสำรวจ
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นและความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกของเอซีนีลเส็น จัดทำขึ้นสองครั้งต่อปี โดยมีจุดมุ่งหมายในการสำรวจระดับความเชื่อมั่น, พฤติกรรม/แนวโน้มการใช้จ่าย ปัจจัยกังวลของผู้บริโภคทั่วโลก ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถูกประเมินจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับตลาดงาน สถานภาพทางการเงิน และความพร้อมในการใช้จ่าย การสำรวจครั้งล่าสุดถูกจัดทำขึ้นในเดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายนปี 2550 จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 26,312 คน ใน 48 ประเทศ จากทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิค อเมริกาเหนือ และ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
เกี่ยวกับนีลเส็น
บริษัทนีลเส็น จำกัด เป็นบริษัทเกี่ยวกับสื่อและข้อมูลทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยแบรนด์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในแวดวงการตลาดเป็นอย่างดีอาทิ “เอซีนีลเส็น” ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด , “นีลเส็นมีเดีย รีเสริช” ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางสื่อ “BASES” ให้บริการเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New product launch ) , สิ่งพิมพ์ทางธุรกิจอาทิ Billboard, The Hollywood Reporter และ Adweek รวมถึง Trade show และส่วนงานหนังสือพิมพ์ ( Scarborough ) โดยเป็นบริษัทเอกชนที่เปิดดำเนินการมากกว่า 100 ประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Haalem เนเธอร์แลนด์ และ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nielsen.com