รูปแบบการสนับสนุน : เงินอุดหนุนในโครงการ “ร่วมลงทุนธุรกิจนวัตกรรม” จำนวน 20,000,000 บาท โดยมีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้น 400,000,000 บาท
ความเป็นนวัตกรรม
•นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ ในด้านผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวจากชานอ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติเหลือใช้จากการเกษตร โดยการเติมตัวเชื่อมประสาน (binder) ประเภทพอลิเมอร์ที่เหมาะสม ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงาม ยืดหยุ่นไม่แตกหักง่าย สามารถบรรจุของร้อน เช่น น้ำร้อน น้ำมันร้อน และของเย็นได้ สามารถใช้ในเตาไมโครเวฟ และที่สำคัญคือสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
•เป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตระดับประเทศ ทำให้สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ครั้งละหลายๆ ชิ้น โดยสามารถควบคุมปริมาณเยื่อชานอ้อยได้สม่ำเสมอ รวมถึงกระบวนการอบแห้งด้วยไอร้อน และการออกแบบแม่พิมพ์ให้เหมาะสม
ความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี
•เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในโครงการได้มีการวิจัยและพัฒนาในประเทศจีนมากกว่า 10 ปี ในด้านสูตรการผลิต ตัวเชื่อมประสาน การออกแบบเครื่องจักร กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และการออกแบบแม่พิมพ์
•ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในโรงงานต้นแบบได้ผ่านการทดสอบจาก SGS ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานโลก ในด้าน
•ความทนทานในอุณหภูมิต่ำ -10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
•ความทนทานในการบรรจุน้ำร้อน 95 ? 5 องศาเซลเซียส
•ความทนทานในการบรรจุน้ำมันร้อน 150 ? 5 องศาเซลเซียส
•การปลอดสารฆ่าแมลง สารตกค้าง โลหะหนัก ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ความเป็นไปได้ด้านธุรกิจ
•ประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติที่เหลือใช้จากการเกษตร (biomass) หลากหลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในโครงการได้
•บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพสูงกว่าคู่แข่งในตลาดปัจจุบัน ในขณะที่มีราคาใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีโอกาสแข่งขันในตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ
•เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
•มีการแบ่งส่วนทางการตลาด (segment) อย่างชัดเจนกับบริษัทร่วมทุนจากประเทศจีน โดยผู้เสนอโครงการเป็นผู้ดูแลตลาดทั้งหมดยกเว้นประเทศจีน
•ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในโรงงานต้นแบบได้รับรางวัลด้านผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้จากการแสดงสิ่งประดิษฐ์ในประเทศเกาหลีและฮ่องกง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนีย์ 2000
ประโยชน์และผลกระทบ
ด้านเศรษฐกิจ
•เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ (มูลค่าของตลาดบรรจุภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาด 3.8 แสนล้านบาทต่อปี)
•สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับชานอ้อย จากเดิมที่มักถูกนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง
•เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อชานอ้อย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร
•เป็นการริเริ่มให้เกิดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสประสบความสำเร็จด้านธุรกิจสูง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดธุรกิจในลักษณะเดียวกันมากขึ้นในประเทศ
•สามารถลดงบประมาณที่ใช้ในการกำจัดขยะมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มขยะบรรจุภัณฑ์จากโฟม
ด้านสังคม
•ลดปัญหาปริมาณขยะจากการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมและพลาสติก ซึ่งมีมากถึง 14.4 ล้านตันต่อปี (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2547)
•เป็นตัวอย่างโครงการที่สามารถเร่งให้เกิดการผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างรวดเร็ว
•ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า
•กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและปลุกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกกลุ่มของประชาชน