บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด มุ่งเน้นความสำคัญการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาระดับอาชีวะ ในสาขาวิชาชีพด้านช่างยนต์ ด้วยการสนับสนุนและร่วมกับหน่วยงานรัฐ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดโครงการเสริมสร้างทักษะความรู้ช่างในสายงานบริการรถจักรยานยนต์ แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะที่สอง โดยมุ่งเน้นความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ระบบหัวฉีดในรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อขยายความรู้ในด้านนี้ออกสู่วงกว้าง พร้อมมอบเทคโนโลยีล้ำสมัยใหม่ล่าสุด ทั้งรูปแบบรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์ผ่าที่ติดตั้งระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ให้กับสถาบันศึกษา เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน รวมทั้งยังคงเน้นการเพิ่มพูนความสามารถในเชิงปฏิบัติผ่านประสบการณ์ทำงานจริงหลังจากจบหลักสูตรการศึกษา โดยเข้ารับการฝึกงาน ณ ศูนย์บริการฮอนด้าที่มีครอบคลุมทั่วประเทศ
มร.เซนจิโร่ ซากุราอิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า จากการที่ทางฮอนด้าได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในการเสริมสร้างศักยภาพความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาระดับอาชีวะ ด้วยการจัดโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านบริการรถจักรยานยนต์เมื่อปีที่ผ่านมานั้น ในปีนี้ฮอนด้าได้สร้างความต่อเนื่องของโครงการ โดยเป็นการจัดโครงการระยะที่สอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการยกระดับความรู้และความสามารถของนักศึกษาให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น จากการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีรูปแบบใหม่อันได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดในรถจักรยานยนต์
ทั้งนี้ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านรถจักรยานยนต์ได้พัฒนาก้าวล้ำเข้าสู่ยุคใหม่ อันเป็นยุคของเครื่องยนต์แบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยกลไกอิเล็คทรอนิกส์ระบบหัวฉีด ดังนั้นโครงการต่อเนื่องในระยะที่สอง จึงเป็นการส่งเสริมและขยายการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยียุคใหม่ให้กับนักศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษามีทักษะและความรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันเป็นการขยายความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบหัวฉีดในรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยใหม่ล่าสุดออกสู่วงกว้าง และที่สำคัญโครงการระยะที่สองนี้ยังเป็นการสร้างฐานความรู้ให้กับนักศึกษาไทยสำหรับต่อยอดไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในขั้นที่สูงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาวิชาชีพทางด้านนี้
การดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านบริการรถจักรยานยนต์ในระยะที่สอง ทางฮอนด้าเริ่มต้นด้วยการสนับสนุนการฝึกอบรม และสัมมนาด้านเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ยุคใหม่แบบระบบหัวฉีด ให้กับคณาจารย์ประจำสถาบันศึกษาต่างๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อการนำความรู้ด้านนี้ถ่ายทอดไปสู่นักเรียนนักศึกษา พร้อมกันนั้นได้มอบอุปกรณ์ในหลากหลายรูปแบบแก่สถาบันศึกษา สำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่นใหม่ล่าสุด คือ รุ่น Click-i ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบ เอ.ที. (Automatic Transmission) หรือแบบเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกของประเทศไทยที่ติดตั้งเทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI (Programmed Fuel Injection) , เครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่น CZ-i 110
ในรูปแบบของเครื่องยนต์ผ่า ที่แสดงให้เห็นถึงระบบต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ ตลอดจนกลไกเทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI อย่างละเอียด , เครื่องมือช่างชุดพิเศษ , หนังสือคู่มือการฝึกอบรม และแผ่นดีวีดีเพื่อใช้ประกอบการสอน เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้นแล้ว เพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนความสามารถในเชิงปฏิบัติให้กับนักศึกษา ทางฮอนด้ายังจัดให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรการศึกษาแล้ว เข้ารับการฝึกงานที่ร้านผู้จำหน่ายและศูนย์บริการรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ซึ่งนับเป็นการเสริมสร้างทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริง
ในด้านการมอบอุปกรณ์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนให้กับสถาบันศึกษาต่างๆ นั้น ในช่วงเริ่มแรกของโครงการ ฮอนด้าได้จัดเตรียมอุปกรณ์สื่อการสอนทุกรูปแบบให้กับสถานศึกษาที่มีความพร้อมรวมทั้งสิ้น 30 แห่ง ขณะเดียวกันได้จัดเตรียมสื่อการสอนประเภทหนังสือคู่มือการฝึกสอน รวมถึงแผ่นดีวีดีประกอบการสอน ให้กับสถาบันศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั้งสิ้น 320 แห่งทั่วประเทศ
โดยสถาบันศึกษา 30 แห่ง ที่ได้รับอุปกรณ์สื่อการสอนทุกรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วยรถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่น Click-i จำนวน 1 คัน เครื่องยนต์ผ่าของรถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่น CZ-i 110 จำนวน 1 เครื่อง เครื่องมือช่างชุดพิเศษ หนังสือคู่มือการฝึกอบรม และแผ่นดีวีดีเพื่อใช้ประกอบการสอน มีรายละเอียดดังนี้ คือ
• สถาบันศึกษาในเขตภาคเหนือ 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ และวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
• สถาบันศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคยโสธร วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ-นครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม วิทยาลัยการอาชีพสว่างดินแดน-สกลนคร วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธ์ และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร
• สถาบันศึกษาในเขตภาคกลาง 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม-ราชบุรี และวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
• สถาบันศึกษาในเขตภาคใต้ 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคตรัง วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคนิคระนอง และวิทยาลัยเทคนิตยะลา
• สถาบันศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม และวิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม-ฉะเชิงเทรา
ส่วนร้านผู้จำหน่ายและศูนย์บริการฯ ที่ให้การสนับสนุนด้านการฝึกงานให้กับนักศึกษานั้น มีรายละเอียดดังนี้ คือเขตภาคเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย ได้แก่ หจก.กรีนวิงมาร์เก็ตติ้ง(1987) หจก.จักรวาลเทรดดิ้ง 2000 หจก.ย่งเฮงเชียงราย และบริษัท เชียงรายสินธานี จำกัด จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ หจก.พิษณุโลกศรีไทยเจริญมอเตอร์ บริษัท เทียนวา เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และบริษัท นิธิภัทร เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ บริษัท ที.เค.ซี.มอเตอร์ไบค์ จำกัด และ หจก.นรินทร์กลการ กำแพงเพชร จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ บริษัท พูมศิลป์ เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด หจก.ศรีสยามหล่มสัก และบริษัท สหหล่ม เพชรบูรณ์ จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ บริษัท นครสวรรค์มาตุลียานยนต์ จำกัด หจก.โค้วโต๊ะฮุย นครสวรรค์ มอเตอร์เซลส์ บริษัท สารคุณ จำกัด หจก.พ.สหายยนต์ (1987) และ บริษัทสุพศินฮอนด้า (2002) จำกัด
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ บริษัท ไทยมอเตอร์ไบค์ ขอนแก่น จำกัด และบริษัท เมืองพล มอเตอร์ไบค์ จำกัด จังหวัดยโสธร ได้แก่ หจก.สามมิตรยนต์ ยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ บริษัท บุรีรัมย์ยนตรการ จำกัด จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หจก.วรรณเทพยนต์ บริษัท คุณเฮงยานยนต์ สุรินทร์ (1999) จำกัด บริษัท ซินฮวดเฮงจั่น (1993) จำกัด และหจก.เอกสุรินทร์ยานยนต์ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ หจก.เอส.เอส.เจริญยนต์ จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ หจก.อีฮงมอเตอร์ มหาสารคาม จังหวัดสกลนคร ได้แก่ บริษัท ชาญยนต์ 2005 จำกัด และบริษัท รุ่งเรืองอินเตอร์สว่างแดนดิน จำกัด จังหวัดกาฬสินธ์ ได้แก่ หจก.สงวนวงศ์ กาฬสินธ์ จังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ บริษัท พรประเสริฐ มุกดาหาร จำกัด
ในเขตภาคกลาง 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสระบุรี ได้แก่ บริษัท วัชรธุรกิจเซ็นเตอร์ จำกัด จังหวัดนครนายก ได้แก่ หจก.เดชากลการ บ้านนา และบริษัท ปรารถนาดี มอเตอร์ไบค์ จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ หจก.ประสิทธิ์มอเตอร์ ปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ หจก.ฮอนด้าประสิทธิ์มอเตอร์ สระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ บริษัท สุพรรณมอเตอร์ เซลส์ จำกัด และบริษัท โฆสิต ฮอนด้า ไบค์ จำกัด จังหวัดราชบุรี ได้แก่ บริษัท เตชอัมพร พาณิชย์ จำกัด และบริษัท ว.มิตรธรรม จำกัด จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่บริษัท พรนุภาพ มอเตอร์ไบค์ จำกัด
ในเขตภาคใต้ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตรัง ได้แก่ บริษัท ตั้งใจยนตรการ จำกัด บริษัท สิงคโปร์ ตรัง (1992) จำกัด และ บริษัท ยืนยงมอเตอร์ (2527) จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ หจก.ฮอนด้านครศรีฯ และ หจก.ไทยสุนเซ่ง จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ บริษัท ซิ่นฮ่องซุ่ย จำกัด และบริษัท ภูเก็ตนำแสง จำกัด จังหวัดระนอง ได้แก่ บริษัท ตันปุ้น เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และหจก.อันดามัน กรุ๊ป ออโตเซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จังหวัดยะลา ได้แก่ บริษัท พิธานพาณิชย์ (ยะลา) จำกัด
ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ ได้แก่ บริษัท กิจรุ่งเรืองธนบุรีพานิช จำกัด และ บริษัท ยศเจริญ ฮอนด้า กิ่งแก้ว จำกัด จังหวัดนครปฐม ได้แก่ บริษัท เค.พี.ฮอนด้า จำกัด และจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ หจก.สุทธิยนต์ (1995)
สำหรับโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านบริการรถจักรยานยนต์ เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ การสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพความรู้และการสอนด้านเทคโนโลยีให้กับสถาบันศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ สาขารถจักรยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาชีพนี้ ได้เรียนรู้พัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยี พร้อมทั้งมีทักษะและประสบการณ์สำหรับการนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปีที่แล้วเป็นต้นมา