คอนติเนนตอล ลงทุนกว่า 3 ล้านยูโร สร้างโรงงานใหม่ที่นูเร็มเบิร์ก

คอนติเนนตอล ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของโลก คือคนแรกที่เริ่มธุรกิจ ลิเทียมไอออน แบตเตอรี่ ซึ่งใช้สำหรับรถยนต์ไฮบริด โดยส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรนของคอนติเนนตอลได้ลงทุนมากกว่า 3 ล้านยูโรสร้างโรงงานใหม่ที่ นูเร็มเบิร์ก เพื่อผลิตลิเทียม ไอออน แบตเตอรี่โดยเฉพาะ “การลงทุนครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นว่าคอนติเนนตอลทำตามที่ได้ให้วาจาไว้ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยอดเยี่ยมเพื่อการประหยัดพลังงาน สำหรับรถประหยัดพลังงานในอนาคต ที่สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย” ดร.คาร์ล โธมัส นอยแมน ประธานเจ้าหน้าบริหารและหัวหน้าส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรนของคอนติเนนตอลกล่าว

แบตเตอรี่รุ่นนี้สามารถจุพลังงานไฟฟ้าได้สูง
เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ที่ใช้กันในเครื่องยนต์ไฮบริดในปัจจุบัน (นิกเกิล – เมทเทิล ไฮไดร์ด) ลิเทียม แบตเตอรี่ นวัตกรรมใหม่ในการประหยัดพลังงาน สามารถเก็บไฟฟ้าได้มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แบตเตอรี่ที่คอนติเนนตอลผลิตขึ้นนี้มีน้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม และต้องการปริมาตรในการกักเก็บพลังงานถึง 13 ลิตร ซึ่งทำให้มอเตอร์สามารถเผาไหม้ได้ถึง 19 กิโลวัตต์ ช่วยให้ประหยัดพลังงานขณะเร่งเครื่องหรือติดเครื่อง และแบตเตอรี่จะทำการชาร์จไฟเข้าเมื่อเวลาที่แตะเบรกหรือเบาเครื่อง หรือเมื่อล้อฟรีหมุนไปข้างหน้าเมื่อติดไฟแดง การที่ไฟชาร์จเมื่อแตะเบรกเป็นไปได้ก็ด้วยการควบคุมของเพาเวอร์อิเลคโทรนิกส์ เช่นเดียวกับปุ่มสตาร์ทหรือหยุดอิเลคโทรนิกส์ที่ทำให้รถยนต์ดับเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่อล้อหยุดหมุน และเมื่อเคลื่อนที่ใหม่สวิทช์ก็จะติดโดยอัตโนมัติ การ recuperate จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฮบริดโมดูล่าซึ่งรวมเอาเทคโนโลยีไฮบริดทั้งหมดว่าไว้ในชุดเดียว

ลิเทียม ไออนแบตเตอรี่ ที่ผลิตในนูเร็มเบิร์ก รวมทั้งเทคโนโลยีไฮบริดจะถูกนำไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถเมอร์ซิเดส เบนซ์ รุ่นใหม่ S400 Blue HYBRID และจะเริ่มออกสู่ตลาดในปี 2552 รถยนต์ขับเคลื่อนซีดานสุดหรูสมรรถนะ 6 สูบ จะกินน้ำมันซูเปอร์เพียง 7.9 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 190 กรัม ต่อกิโลเมตร

ต้องการความปลอดภัยอย่างยิ่งยวด รวมทั้งการประกอบที่ใช้วิศวกรรมขั้นสูง
การจะใช้เทคโนโลยี ลิเทียม ไอออน ในยานยนต์นับว่าเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย “เพราะต้องมีความปลอดภัยขณะใช้และต้องวางใจได้ตลอดอายุการขับขี่ของรถยนต์คันนั้นตามที่ผู้ผลิตกำหนดมาซึ่งก็คือสิบปีเป็นอย่างน้อย” จอร์ค โกรเทนดอร์ส หัวหน้าแผนกยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า ในส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรน กล่าว

แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออนใหม่นี้มีระบบการจัดการที่คอยตรวจสอบการทำงานของแบตเตอรี่เพื่อให้มันอยู่ในสภาพการใช้งานเต็มที่ กลไกอิเลกโทรนิกส์จะเปรียบเทียบสภาพแบตเตอรี่โดยรวม อุณหภูมิ และพลังงานที่กักเก็บไว้กับอายุของแบตเตอรี่ วงจรควบคุมเซลล์ (Cell Supervision Circuit CSC) จะคอยตรวจสอบเซลล์แต่ละเซลล์และควบคุมให้มันทำงานเต็มที่ ประหยัดพลังงาน และป้องกันพลังงานที่เก็บสะสมอยู่ไม่ให้มีความร้อนสูงจนเกินไป โดย CSC จะควบคุมระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีและคงทน CSC ยังช่วยรักษาความสมดุลของการเติมแบตเตอรี่ การันตีได้10 ปี หรือ 160,000 – 240,000 กิโลเมตร ได้มีการนำแบตเตอรี่ที่ผลิตเมื่อปีที่แล้วมาทดลองทำให้เก่าและใช้งานมามาก เพื่อจะดูว่าเมื่อมันใช้งานไปนานปีมันจะเป็นอย่างไร

นอกเหนือจากด้านความปลอดภัยที่กล่าวมาแล้ว การประกอบแบตเตอรี่เข้าด้วยกันยังเป็นความท้าทายอีกด้วย การที่กระแสไฟฟ้าไม่ได้วิ่งผ่านสายเคเบิ้ลแต่วิ่งไปตามรางทองแดง จึงทำให้ต้องมีกระบวนการประกอบและเชื่อมต่อรางทองแดงเหล่านี้เป็นพิเศษ ต้องใช้แรง (resistance) ในการเชื่อมที่ใช้ไฟถึง16000 แอมป์จึงจะเชื่อมรางทองแดงเพื่อให้กระแสไฟวิ่งผ่านรอยต่อของรางได้ โดยไม่สูญเสียกระแสไฟไป แบตเตอรี่ลิเทียม ไอออนถูกผนึกอย่างแน่นหนาในกล่องสเตนเลสที่เชื่อมปิดด้วยแสงเลเซอร์

แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ยังมีความท้าทายเมื่อเวลากำจัดทิ้งหลังใช้แล้ว และนำไปรีไซเคิลได้ ด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คอยคำนึงถึงการกำจัดของเสียต่าง ๆ คอนติเนนตอลได้ทำงานร่วมกับบริษัทกำจัดของเสีย โดยพัฒนาแนวคิดรีไซเคิลใหม่ๆ ที่ทำให้ 50 % ของตัวลิเทียมแบตเตอรี่สามารถนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

ขีดความสามารถในการผลิต 15, 000 ชิ้น
คอนติเนนตอล เริ่มการผลิตลิเทียม ไอออนแบตเตอรี่เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่กรุงเบอร์ลิน หลังจากนั้น 12 เดือน อุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกตระเตรียมและเก็บไว้ที่โรงงานนูเร็มเบิร์ก ด้วยการลงทุนประมาณ 3.3 ล้านยูโร สร้างงานให้คน 23 ตำแหน่งงานในส่วนการผลิตและส่วนที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละปีสามารถผลิต ลิเทียมแบตเตอรี่ 15000 ชิ้น ในเนื้อที่ 300 ตารางเมตรซึ่งจะสามารถขยายได้เท่าตัวเมื่อมีการแจ้งล่วงหน้า

กลุ่มคอนติเนนตอล คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งมอบชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำลำดับต้นๆ ของโลก และคาดว่ายอดขายในปี 2551 นี้จะมากกว่า 26.4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.32 ล้านล้านบาท (1,320 พันล้านบาท) ในฐานะที่กลุ่มคอนติเนนตอล เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบเบรก ระบบและชิ้นส่วนสำหรับระบบส่งกำลังและแชสซี หน้าปัดรถยนต์ อุปกรณ์เพิ่มความบันเทิงในรถยนต์ ระบบอิเลคโทรนิกส์ในยานยนต์ ยางรถยนต์และยางสังเคราะห์ เป็นต้น กลุ่มคอนติเนนตอล มุ่งมั่นพัฒนาระบบและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่สูงสุด อีกทั้งร่วมกันปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกด้วย นอกจากนี้ คอนติ –
เนนตอล ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้ในยานยนต์ ปัจจุบัน กลุ่มคอนติเนนตอล คอร์ปอเรชั่น มีพนักงานประมาณ 150,000 คน ในสำนักงานกว่า 200 แห่งใน 36 ประเทศทั่วโลก