โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ รองเท้านักเรียน นันยาง

เอเยนซี่ : บริษัท ซินเซียลี่ยัวส์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด3

ลูกค้า : บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด

สินค้า : รองเท้านักเรียน นันยาง

กิจกรรม : ภาพยนตร์โฆษณา 30 วินาที

ความคิดสร้างสรรค์ : คุณไกรศร ลีลาชัยพิสิฐ (Creative Director)
คุณชัชวาล หุตะภิญโญ
คุณชวเลข จุลาเกตุโพธิชัย

บริษัทผู้ผลิต : 1688 Film

ผู้กำกับภาพยนตร์ : คุณไกรศร ลีลาชัยพิสิฐ (Film Director)

ที่มาของแนวคิด :

รองเท้านักเรียนนันยาง ยืนหยัดคู่เท้านักเรียนไทยมานานกว่า 57 ปี และครองความนิยม ไม่เสื่อมคลายมาทุกยุคสมัย ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของนันยาง ที่ผลิตสินค้าโดยยึดมั่นในคุณภาพ ความทนทาน รวมถึงเอกลักษณ์ต้นตำรับพื้นเขียว จนเรียกได้ว่า เป็นรองเท้าในดวงใจของนักเรียนไทยตลอดมา

การสร้างสรรค์โฆษณาของนันยางชิ้นล่าสุด นอกจากการได้เลือกวิธีตอกย้ำความชื่นชอบ และทัศนคติที่ดีของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์นันยาง ยังสะท้อนความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มเป้าหมายในวัยเรียนวัยรุ่น ผ่านกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์และต้องอาศัยความมานะตั้งใจฝึกผน จนมีทักษะขั้นสูง (อย่างที่ภาษาวัยรุ่นเรียนว่าขั้นเทพ) ซึ่งรองเท้านันยางก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบนั้นด้วย

แนวความคิดโฆษณา :

“ทำอะไร ทำจริง” สื่อความหมายถึง ความมุ่งมั่นในการที่จะกำกิจกรรมใด ๆ ผ่านความตั้งใจอย่างจริงจัง ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญประสบความสำเร็จ มีทักษะความสามารถทำได้จริงอย่างที่ต้องการ

รูปแบบการนำเสนอตัวภาพยนตร์โฆษณา ใช้มุมมองแบบ Inside-Out ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของภาพยนตร์โฆษณาทั่วๆ ไปซึ่งสะท้อนภาพพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นวัยเรียนจากมุมมองของผู้ใหญ่ที่มองหรือคาดหมายไปยังตัวเด็ก หากแต่ภาพยนตร์โฆษณารองเท้าผ้าใบนันยางชุดใหม่ในปี 2553 เป็นการนำเสนอภาพกิจกรรมการใช้เวลาที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์จากมุมของเด็กๆ เอง เป็นการใช้เวลาว่างในชีวิตจริงของกลุ่มเป้าหมาย ที่ทุ่มเทฝึกซ้อมทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบอย่างจริงจังในโรงเรียน เช่น ทักษะการทำเสียง Beat Box ที่ใช้เพียงปากเปล่า ทำเสียงเลียนเสียงดนตรี อย่างเหนือชั้น ประกอบกับ การเต้น B-Boy ที่ผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จนความสามารถในการเต้นอยู่ใน “ขั้นเทพ” โดยนันยางก็เป็นองค์ประกอบส่วนร่วมกับความสามารถ ความสำเร็จในกิจกรรมที่พวกเขารัก

เนื้อเรื่อง :
นำเสนอในรูปแบบของคลิปการฝึกซ้อม ทักษะต่างๆ ล้วนเป็นความสามารถจริงๆ ของผู้แสดงซึ่งเป็นนักเรียนจริง ไม่มีการใช้เทคนิคด้านภาพหรือด้านเสียงมาช่วย หรือใช้ตัวแสดงแทน พร้อมกับคำพูดของโฆษกที่ว่า “ ทำอะไร ทำจริง …นันยาง” สะท้อนที่มาและแนวคิดดังระบุข้างต้น สร้างความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์ “นันยาง” กับตัวกลุ่มเป้าหมาย