ยกเครื่องสยามเซ็นเตอร์ สู้ศึกแฟชั่นรีเทล

เมื่อเข้าสู่ช่วงศึก “รีเทล” กำลังร้อนแรง ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นเก่าแก่อายุ 40 ปี อย่าง “สยามเซ็นเตอร์” ต้องทำตัวให้ล้ำสมัย เพื่อดึงดูดนักช้อปรุ่นใหม่มาเข้าห้างตลอดเวลา 

แม้ว่าก่อนหน้านี้สยามเซ็นเตอร์จะมีการ “รีโนเวต” มาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ ชฏาทิพ จูตระกูล แม่ทัพหญิง สยามพิวรรธน์ บอกว่า เป็นความท้าทายที่สุดเท่าที่เคยทำมา เพราะไม่ใช่แต่งหน้าทาปาก แต่เรียกว่าถึงขั้น “ปฏิวัติ” แบบยกเครื่องใหม่หมดจด โดยต้องใช้งบลงทุนถึง 1,700 ล้านบาท  

โจทย์ใหญ่ของสยามเซ็นเตอร์ครั้งนี้ เพื่อต้องการสร้างความ “แปลกและแตกต่าง” ชนิดที่ต้อง “หลุด” ไปจากความเป็นห้างสรรพสินค้าแบบเดิมๆ โดยไปได้แรงบันดาลใจมาจาก “เมืองโซโห” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แนวออกแบบจึงเป็นแนวอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรือ อินดัสเทรียลชิค ด้านนอกอาคารใช้สีดำ ส่วนภายในตกแต่งเหล็กและไม้เป็นหลัก ดีไซน์ระบบไฟในแต่ละชั้นให้อารมณ์ เหมือน “บูทีคโฮเต็ล” มากกว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า

เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ของห้าง ที่รวมทั้งแฟชั่น เทคโนโลยี และศิลปิน ไว้ด้วยกัน พื้นที่ส่วนหนึ่งมีไว้สำหรับจัดแสดงงานศิลปะและแฟชั่น ทั้งคนดังและคนรุ่นใหม่ ให้มาโชว์ผลงาน เช่นงานแสดงของ “แอนดี้ วอร์ฮอล” เจ้าพ่อป๊อปอาร์ตชื่อดัง และ รอย ลิซเทนชไตน์” 

ส่วนเทคโนโลยีก็ใช้วิธีลงทุนจอแอลซีดี ติดตั้งทั่วห้าง เพื่อให้ข้อมูลกับนักช้อป ด้วยลูกเล่นใหม่ๆ ให้นักช้อปลองเสื้อแบบไม่ต้องถอดเสื้อ และใช้สื่อโฆษณาให้กับร้านค้าในห้างฯ ที่จะเชื่อมโยงเป็นออนไลน์ มาร์เก็ตติ้งแบบครบวงจร โดยจะมีทั้งแอปพลิเคชั่นบนสมาร์โฟน และช่องรายการในทรูวิชั่นส์ 

ที่ต้องเน้นเทคโนโลยีขนาดนี้เพราะผลวิจัยพฤติกรรมนักช้อปรุ่นใหม่ยุคนี้ เป็นยุคไอที หากจะดึงนักช้อปมาที่ห้างฯ ได้ก็ต้องมีไอทีแบบครบเครื่อง  

อีกจุดขายที่จะมาเป็น “แม่เหล็ก” ให้คนมาช้อปที่สยามเซ็นเตอร์ คือ แอปโซลุท แอท สยามเซ็นเตอร์ โดยการให้ร้านค้า 300 ร้าน ช่วยกันตกแต่งร้าน และผลิตสินค้าวางขายที่ สยามเซ็นเตอร์ที่เดียว 

แรงกดดันที่สยามเซ็นเตอร์ต้องออก “อาวุธ” ขนาดนี้ เพราะผู้บริโภคยุคนี้เบื่อง่าย พฤติกรรมเปลี่ยนตลอด การแข่งขันสูง คู่แข่งที่ถัดไปไม่ไกลคือกลุ่มเซ็นทรัล ที่ยึดหัวมุมราชประสงค์และต่อเนื่องไปถึงหัวมุมชิดลม มีทั้งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลชิดลม และเซ็นทรัลแอมบาสซี่ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วนี้ และกำลังเปิดเกมรุกไปต่างประเทศ สร้างอำนาจต่อรองให้กับธุรกิจในประเทศในเรื่องการนำเข้าแบรนด์สินค้าหรู 

งานนี้ ห้างสยามเซ็นเตอร์ หวังว่า “ศิลปะ” แฟชั่น บวกเทคโนโลยี จะเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดลูกค้ามาห้าง และใช้เวลาอยู่กับห้างฯ นานขึ้น และรู้สึกแปลกใหม่ตลอดเวลา 

แนวคิดของการจัดพื้นที่ของห้างสรรพสินค้า ให้เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ มีงานแสดงของศิลปินดังมาเป็นจุดขาย ทั้งในฮ่องกง ญี่ปุ่น และอังกฤษ เพื่อเป็นจุดขาย ให้คนมาช้อปปิ้งได้ประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการช้อปปิ้ง  เช่นการได้แรงบันดาลใจในเรื่องการออกแบบ 

 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>10 เรื่อง สยามเซ็นเตอร์ที่ต้องรู้ จำนวนคนช้อป 200,000 คนต่อวัน
(ช่วงแรก) ระยะเวลาอยู่ในห้าง  2-3 ชั่วโมง วันเปิดห้างหลังรีโนเวต    ใช้งบประมาณ 200
ล้านบาท ต้องการให้เป็น Talk of the town แขกรับเชิญมีทั้งคนดังดารา
นักร้อง ไฮโซแถวหน้าของไทยและต่างประเทศ 300
ร้านค้า ทุกร้านต้องตกแต่งใหม่
และมีสินค้าที่ขายเฉพาะสยามเซ็นเตอร์เท่านั้น จัดอีเวนต์ ปีละ 6 ครั้ง 6 ธีม
เลิกจัดเป็นเทศกาลแบบเดิม แต่จัดให้สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ของห้างฯ
ที่เป็นเรื่องของไอเดีย ไร้กระดาษ ใช้จอมอนิเตอร์
เป็นสื่อโฆษณา ให้กับร้านค้าในห้าง พฤติกรรมนักช้อป มีการวิจัยพฤติกรรมความชอบของนักช้อป