เอ็มเอสดี (MSD) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำในการพัฒนาโซลูชั่นด้านการปฏิสนธินอกร่างกายหรือการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) เผยทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งจะทำให้ชีวิตของผู้เข้ารับการรักษาง่ายขึ้น
วิธีการรักษาใหม่นี้ช่วยให้ความหวังกับผู้หญิงจำนวนมากที่ประสบกับความเครียดทางอารมณ์และร่างกายจากภาวะมีบุตรยาก โดยการให้ฟอลลิเคิล สติมิวเลติง ฮอร์โมน (follicle stimulating hormone หรือ FSH) ชนิดออกฤทธิ์นาน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของวงการ ประโยชน์ที่สำคัญประการหนึ่งของการใช้วิธีรักษาการมีบุตรยากรูปแบบใหม่นี้ คือ มีขั้นตอนการรักษาน้อย ปัจจุบัน ผู้หญิงที่เลือกรับการรักษาด้วยวิธี IVF ต้องได้รับการฉีด FSH ใต้ผิวหนังทุกวันของ แต่ด้วยวิธีใหม่นี้ ผู้ป่วยต้องได้รับการฉีด FSH เพียงสัปดาห์ละครั้ง
การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิลชนิดออกฤทธิ์นาน (sustained release) ตัวแรก ด้วยความสามารถในการกระตุ้นและรักษาอัตราการเติบโตของรังไข่ (follicular growth) ในหลายระยะตลอดทั้งสัปดาห์ การฉีดฮอร์โมนในปริมาณที่แนะนำ 1 ครั้งอาจใช้แทนการฉีดฮอร์โมน FSH แบบเดิม ซึ่งฉีดใต้รูขุมขนเพื่อกระตุ้นรังไข่ภายใต้การควบคุม (controlled ovarian stimulation: COS) ทุกวัน ต่อเนื่อง 7 วันแรก
ปัจจุบัน มีคู่สามีภรรยาทั่วโลกที่ประสบปัญหามีบุตรยากถึงร้อยละ 15 ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงจาก เด็ก 4.9 คนต่อผู้หญิง 1 คน (1975) เป็น เด็ก 1.6 คนต่อผู้หญิง 1 คน (2013) ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับที่ยอมรับกันโดยทั่วไป คือ เด็ก 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คน เพื่อรักษาระดับจำนวนประชากรในปัจจุบัน ภาวะมีบุตรยาก (infertility) เป็นโรคที่บั่นทอนความสามารถของร่างกายในการทำหน้าที่พื้นฐานด้านการสืบพันธุ์ โดยเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการสร้างสเปิร์มหรือตกไข่ ปัญหาความผิดปกติของท่อรังไข่หรือมดลูก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) การแท้งลูกบ่อย ตลอดจนความผิดปกติของฮอร์โมนและโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune) ในทั้งชายและหญิง
มีวิธีการรักษาบางอย่างที่ใช้รักษาภาวการณ์มีบุตรยาก ซึ่งรวมถึงการผ่าตัด รักษาด้วยฮอร์โมน ผสมเทียมและการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) แต่วิธีการรักษาที่ผ่านมาใช้เวลานานและสร้างความเจ็บปวด วิธีการรักษาใหม่ของเอ็มเอสดีเป็นการรักษาที่มีประสิทธิผล สะดวก และมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ
นพ. สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในระบบสืบพันธุ์และภาวะมีบุตรยาก กล่าวว่า “วิธีการรักษาใหม่นี้ถือเป็นยุคใหม่ของความหวังสำหรับผู้ป่วยของเรา ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วโลกและในประเทศไทย และการรักษาที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าเช่นนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกและแพทย์ทำงานง่ายขึ้น โซลูชั่นดังกล่าวเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นในการลดภาระของผู้หญิงที่ประสบปัญหาในการตั้งครรภ์ที่ต้องฉีดฮอร์โมนทุกวัน”