Non-voice ของดีแทค บริการต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว

ในปีที่ผ่านมา DTAC ไม่ค่อยพูดถึงบริการเสริมมากนัก แต่พูดถึงแพ็กเกจที่ให้บริการอย่าง my, Dmaximize, Happy Dprompt เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปี 48 DTAC จะลงตลาดลุยบริการเสริมอย่างเต็มตัว

DTAC เป็น operator เป็นด่านหน้าในการติดต่อกับลูกค้า จึงต้องให้บริการกับลูกค้าที่ดี โดยแนวคิดการให้บริการด้าน Non Voice ของ DTAC คือ ต้องใช้งานง่าย

ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Products and Services บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า Position บริการของ DTAC ที่วางไว้ คือ การเข้าถึงได้ง่าย หน้าที่หลักของ DTAC คือ ทำอย่างไรให้เข้าถึงบริการเหล่านั้นได้ง่าย แล้วนำ content ที่พันธมิตรทั้ง 300 รายสร้างขึ้นมานั้นมาผูกกันให้เป็นบริการไปหาลูกค้าได้ ซึ่งบริการใหม่ๆ ที่ออกมาจะเน้นในแง่ของการบริการที่ integrate สามารถเพิ่ม interaction กับลูกค้า และให้ลูกค้าสามารถ interaction กับผู้อื่นได้

บริการของ DTAC จะมารองรับลูกค้าในแต่ละ segment โดยได้จัดกลุ่มลูกค้าทั้งในส่วน prepaid และ postpaid ออกเป็น ลูกค้ารายบุคคล ลูกค้า SME และ ลูกค้า corporate ซึ่งบริการด้าน non-voice ที่ออกมาให้บริการจะถูกสร้างมาให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม

ลักษณะของบริการที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ใหม่จะเน้นใน 4 รูปแบบ คือ Business Solution ซึ่งจะเป็น mobile corporate solution ที่จะเน้นการทำ business solution กับกลุ่มลูกค้า corporate และ SME, Entertainment ได้แก่ บริการดาวน์โหลด ring tone, logo, wallpaper เป็นต้น, Communication บริการกลุ่มนี้จะทำให้เข้ากับ core business ของ DTAC เอง โดยจะมีบริการ non-voice ที่ช่วยในเรื่องของการสื่อสาร เช่น SMS, MMS เป็นต้น คอยให้บริการ และ Information เป็นการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูล ข่าวสารล้วน ๆ เช่น ข้อมูลข่าว, ข้อมูล lifestyle เป็นต้น

หลังจากที่ได้ไปซุ่มปรับหมวดหมู่ของบริการเสริมด้าน non-voice ให้มีความชัดเจน จนเหลือเพียงปรับเปลี่ยนโฉมหน้าเว็บไซต์ และ wap site ให้เป็นไปตาม 4 หมวดหมู่ใหม่ที่ได้จัดกลุ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบหลังบ้านครั้งใหญ่นี้ แน่นอนว่าเมื่อปรับหน้าตาเสร็จ DTAC จะมาพร้อมกับบริการเสริมใหม่ๆ มากมายที่เตรียมพร้อมให้บริการ

การทำตลาดในปี 48 จะเน้นใน 4 หมวดหมู่เท่าๆ กัน โดยบริการในส่วน Entertainment และ Communication จะออกมาให้บริการก่อน

DTAC มีรายได้จากบริการ non-voice ประมาณ 4-5% ของรายได้รวมในปี 47 โดยมีรายได้จากบริการในกลุ่ม Communication มากที่สุด และมีรายได้จากกลุ่ม Entertainment เป็นลำดับถัดมา ส่วนในปี 48 ตั้งเป้าทำรายได้จากบริการ non-voice ไว้ 7-8% แต่เป้าหมายนี้อาจจะไม่สำเร็จภายในปีเดียว เพราะต้องใช้เวลาเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคพอสมควร

บริการที่ช่วยให้ผู้บริโภคทำงาน หรือใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก สบายมากขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้บริการมากขึ้น เช่น การออกโปรแกรม bonus one ที่ทำให้ค่าบริการส่ง MMS และ SMS เหลือครั้งละ 1 บาท โดยเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า 30 บาท ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ไม่ต้องคิดมากเวลาส่ง SMS หรือ MMS ในแต่ละครั้ง

เมื่ออัตราค่าบริการลดลงจากครั้งละ 10 บาท สำหรับ MMS เหลือครั้งละ 1 บาท ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าน่าใช้บริการมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการด้าน non-voice มากขึ้น โดยกลยุทธ์ที่ DTAC ใช้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมจะต้องประกอบกันทั้งในด้านราคา, มีบริการใหม่ๆ ที่หลากหลาย, บริการมีความง่ายในการใช้ เข้าถึงผู้บริโภคได้ และมีราคาที่เหมาะสมกับตลาดเป็นหลัก

นอกจากจะพยายามดันให้เกิดการใช้ SMS, MMS มากขึ้นแล้ว ในส่วนการใช้ GPRS นั้น DTAC ก็พยายามดันให้มีผู้ใช้มากขึ้นเช่นกัน โดยคิดอัตราค่าบริการนาทีละ 1 บาท ซึ่งการที่ DTAC เลือกคิดค่าบริการ GPRS เป็นนาทีนั้นเพราะเชื่อว่าผู้บริโภคจะเข้าใจได้ง่ายกว่าการคิดเป็นกิโลไบต์ โดย DTAC มีเครือข่าย GPRS ที่พร้อมให้บริการทั่วประเทศ และเครือข่าย EDGE ที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ก่อนจากนั้นจึงค่อยๆ ขยายให้รองรับทั่วประเทศ

บริการที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นบริการที่ง่ายๆ แต่มีความจำเป็นกับผู้ใช้ เช่น การโอนสายไปยังหมายเลขที่ต้องการ เมื่อลูกค้า DTAC ลืมมือถือไว้ที่บ้าน หรือที่ไหนก็ตาม แจ้งผ่านศูนย์ให้ช่วยโอนสายให้ หรือผ่านเว็บไซต์ หรือการส่งข้อความไปยังลูกค้า DTAC เมื่อมาถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง โดย DTAC ได้ทดลองใช้ในงาน Comtech Commart 2004 ด้วยการส่งข้อความผ่าน SMS ไปยังลูกค้า DTAC ที่เข้ามาร่วมงานทันที ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าถ้า corporate อื่นนำไปใช้ จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการทำผลสำรวจจากลูกค้าภายในงานที่ได้รับข้อความ พบว่า 96% รู้สึกชอบที่ได้รับข้อความ มีเพียง 4% ที่รู้สึกว่าถูกรบกวน

DTAC พยายามปรับกลยุทธ์ของตัวเอง บริการบางอย่างที่ทำง่ายๆ 2 เดือนเสร็จออกมาในตลาดบ้าง แต่จะพยายามไม่ทำอย่างนั้นอีกต่อไป เพราะบริการที่ทำออกมาง่ายๆ ถ้าทำออกไปก็จะมีคนอื่นทำตามได้ง่ายเช่นกัน ซึ่ง DTAC จะเน้นในเรื่องการให้บริการที่ดีกับลูกค้า ให้ลูกค้ารู้สึกใช้ง่าย ไม่ไกลตัว บริการมีคุณภาพ เป็นกลยุทธ์หลักของการสร้างบริการ non-voice

นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มที่เลือก package การใช้บริการ เช่น กลุ่มผู้ใช้ my, Dmaximize, Happy Dprompt เป็นตัวบ่งบอกว่าคนกลุ่มเหล่านี้มีความชอบ มีความต้องการอย่างไร จากนั้นก็จะนำบริการเข้าไปเสริมให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้ใช้ พัฒนาให้เป็น user community เพราะ DTAC ก็ต้องสร้างกระแสการใช้ Value Added Services เช่นกัน

แม้ว่าแผนในเชิงการตลาดกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา เพราะต้องรอคนที่จะมาช่วยพัฒนาแผนซึ่งจะเข้ามาทำงานในต้นปี 48 แต่ DTAC มีนโยบาย มี theme ที่จะไปอย่างชัดเจน โดยยึดตามลักษณะบริการที่แบ่งไว้ 4 หมวดหมู่หลักตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เป็นแกนในการดำเนินงานบริการ non-voice อีกทั้ง core value ที่ต้องการสร้างบริการที่เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีการผสมผสานกันระหว่าง integrate และ interactive ทำให้บริการ DTAC แตกต่างจากรายอื่น โดยบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของ DTAC นั้น จะมาเป็นกลุ่ม ไม่ได้มาเพียงชิ้นเดียวอีกต่อไป

Website

www.dtac.co.th