"สยามทูยู ต้องการที่จะโตแบบก้าวกระโดด"

“หลังจากที่สยามทูยูเข้าจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ mai ทำให้บริษัทมีงานมากขึ้น ในขณะที่แบรนด์ของสยามทูยูก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น” คำยืนยันของ แสตลเบอร์ก นิคลาส จอห์น แอสซ่าร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน)

เขากล่าวว่า ก่อนที่สยามทูยูจะเข้าตลาด mai จะมุ่งเป้าหมายระยะสั้นและมุ่งเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อยกระดับของบริษัท ที่สำคัญการทำงานโดยมีเป้าหมายจะเป็นระยะยาวยาวมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตราการเติบโตของผลการดำเนินงาน

“เราอยากให้สยามทูยูเติบโตเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) นั่นหมายถึงต้องมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เราคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถึงวันนั้นเราก็จะมาดูอีกทีถึงความเหมาะสมในการย้ายตลาด”

ภาพหลังที่เข้า mai ทางนิคลาสได้มีการพูดคุยกับผู้จัดการ mai วิเชฐ ตันติวานิช และคณะผู้บริหารบริษัทรายอื่นที่จดทะเบียนใน mai ผ่าน “แฟนซีคลับ” มีความประทับใจ ในกระบวนความคิด วิธีการของบริษัทฯ

จุดแข็งสำหรับสยามทูยูที่มีต่อนักลงทุน คือ สยามทูยูดำเนินธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตที่สูง มีโอกาสดี ทั้งฐานลูกค้า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปัจจุบันภาพของสยามทูยูยังเล็กอยู่ ซึ่งปีที่แล้วกำไร 27 ล้าน ดังนั้นอัตราการเติบโตยังมีอีกมาก คนที่อยากจะลงทุนกับบริษัทที่ลงทุนแล้วหวังผลอัตราการเติบโต ก็น่าจะลองมองสยามทูยู

รายได้ของเราในปี 2002 มี 26 ล้าน ปี 2003 มี 85 ล้าน ปี 2004 มี 120 ล้าน ปี 2005 คาดว่า ที่ 177 ล้านบาท ราคาหุ้น IPO 7 บาท แต่ปัจจุบันเคลื่อนไหวในระดับราคา 4-5 บาท ตรงนี้นิคลาสมองว่า เพราะได้รับอิทธิพลจากภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง

ประการที่สองคือในระยะใกล้ๆ ที่ผ่านมานี้ หุ้นในกลุ่มสื่อสารไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากอุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่สูง ก็สะท้อนมายังเราด้วย ทั้งที่จริงเราก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องอะไร ประการที่สาม ราคาหุ้นของสยามทูยูในปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะค่า P/E ratio ของหุ้นสยามทูยูอยู่เพียงแค่ 6.8 เท่า

“เราคิดว่าในอีก 1-3 ปี ราคาหุ้นสยามทูยูจะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีกมากตามผลประกอบการของบริษัทที่จะเพิ่มขึ้น”

เป้าหมาย 3 ปี ของสยามทูยู ต้องการที่จะโตแบบก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องของผลประกอบการ

มุมมองเรื่องเกี่ยวกับตลาด mai ซึ่งดูจะได้รับความสนใจน้อยจากนักลงทุนนั้น นิคลาสมองว่า ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะหุ้น mai ตามความหมายของคนหรือนักลงทุน คือเป็นบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงกว่าใน SET แต่เรื่องเหล่านี้กำลังจะถูกแก้ไข เพราะในความเป็นจริงบริษัทที่จดทะเบียนใน mai มีผลประกอบการที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง

ภายหลังจากการที่เราเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ทำให้เรามีงานเข้ามามากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทได้รับพนักงานเข้ามาใหม่อีก 50% ขณะเดียวกันภายหลังบริษัทได้มีการวางตัวผู้บริหารระดับสูงในสายงานต่างๆ ขึ้นมาใหม่ แบ่งเป็น 6 ทีม เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งก่อนหน้านี้ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมีไม่มาก

ภาพลักษณ์ ตราสินค้าของบริษัทเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าองค์กร คือ อินดัสทีฟ โชลูชั่น แต่ถามว่า การแข่งขันธุรกิจการให้บริการเสริม มองว่า ปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูงกว่าอดีต เนื่องจากมีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทจะต้องปรับตัว สร้างสรรค์ และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อรับมือกับการแข่งขัน

สิ่งที่สุปรัชญ์ฝากถึงบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ ที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก นิคลาส บอกว่า “เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเข้าตลาดฯ คุณก็ต้องมีการจัดสรรเวลา และไม่ลืมทำงานเพื่อสร้างผลประกอบการที่ดี ซึ่งจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนมองเห็น ซึ่งจะต้องดี”

กับเรื่องการประชาสัมพันธ์นั้น การเลือกบริษัทประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ

ประวัติหุ้น สยาม ทู ยู

บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ตามหนังสือชี้ชวนระบุว่า ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อไร้สาย จดทะเบียนก่อตั้งกิจการเมื่อวันที่ 21 กรฎาคม 2542 โดย สุปรัชญ์ ศรีผดุง และ แสตลเบอร์ก นิคลาส จอห์น แอสซ่าร์ มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการข้อมูลสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ปัจจุบัน สุปรัชญ์ ศรีผดุง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ในขณะที่แสตลเบอร์ก นิคลาส จอห์น แอสซ่าร์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2546 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 40.93 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 30.70 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 30.70 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้แก่ กลุ่มตระกูลศรีผดุง ถือหุ้นร้อยละ 54.31 ของทุนชำระแล้ว ทรานส์แพค นอมินีส์ พีทีอี ลิมิเต็ด ถือหุ้นร้อยละ 19.84 และแบงก์บอสตัน อินเวสเมนท์ สหรัฐอเมริกา ถือหุ้นร้อยละ 13.22 บริษัทดำเนินธุรกิจสามประเภทได้แก่

– ธุรกิจบริการเสริมสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wireless Value Added Service : VAS)
– ธุรกิจบริการคำปรึกษาและพัฒนาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อไร้สาย (Interactive Solutions)
– ธุรกิจสื่อดิจิตอล (Digital Media)

บริษัทเปิดเว็บไซต์ www.siam2you.com เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และลงโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของลูกค้า และเว็บไซต์ wap.siam2you.com สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่อมาบริษัทได้เล็งเห็นถึงโอกาสจากการเพิ่มจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย จึงได้ขยายการดำเนินธุรกิจ โดยเปิดให้บริการเสริมสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 เป็นต้นมา โดยร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) และบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (ORANGE) ปัจจุบันบริการเสริมสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ที่สร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 83.92 ของรายได้จากการให้บริการรวมในปี 2546 และร้อยละ 87.82 ของรายได้จากการให้บริการรวมในปี 2547

บริการเสริมดังกล่าว ประกอบด้วย การให้บริการส่งข้อมูลบริการเสริมแบบพื้นฐาน (Basic Content) ข้อความ เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโมโนโฟนิค และรูปขาวดำ

การให้บริการส่งข้อมูลบริการเสริมแบบพิเศษ (Premium Content) เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพลีโฟนิค รูปภาพสี และเกมแอพพลิเคชั่น

นอกจากนี้บริษัทให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อไร้สายให้กับลูกค้าทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อสร้างช่องทางให้กับลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อไร้สายได้อีกทางหนึ่ง เช่นการนำเสนอรายละเอียดของสินค้า และบริการที่ลูกค้าจำหน่าย การจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น

ข้อมูลหุ้น

ชื่อบริษัท บริษัท สยาม ทู ยู จำกัด (มหาชน)
ชื่อย่อในการซื้อขาย S2Y
หมวดอุตสาหกรรม mai
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 13,688,900
มูลค่าที่ตราไว้ 1.00
ที่ปรึกษาทางการเงิน บจก. เซจ แคปปิตอล
วันจองซื้อ 20-22 เม.ย. 2548
ราคาเสนอขาย 7.00
วันเริ่มซื้อขายในตลาด 4 พ.ค. 2548