ผลกระทบจากการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง

ผลการตัดสิน
ไม่ยุบ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
1. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีโอกาสผ่านประชามติโดยพรรคการเมืองสนับสนุนเต็มที่
2. มีโอกาสเกิดการเลือกตั้งขึ้นได้ตามกำหนด
3. วิกฤตทางการเมืองจะผ่อนคลายลง
4. คำถามเกิดขึ้นกับกระบวนการลงโทษ นักการเมืองที่ทำผิด

ยุบ (โดยกรรมการบริหารพรรคห้ามไปบริหารพรรคใหม่ แต่ยังลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.)
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
1. คณะกรรมการบริหารมีโอกาสเล่นการเมืองต่อ
2. สมาชิกอื่นของพรรคไปจดทะเบียนพรรคในชื่อเดิมได้
3. กกต. ในอนาคตต้องตีความคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. มากขึ้น

ยุบ (โดยห้ามคณะกรรมบริหารพรรคลงเลือกตั้ง 5 ปี ตามประกาศ คปค. ฉบับที27)
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
1. ขาดแกนนำของพรรค ที่ส่วนใหญ่เป็นกรรมการบริหารพรรค รวมกว่า100 คน ส่งผลถึงการขาดจุดขายของพรรคที่ถูกตั้งใหม่
2. เป็นโอกาสทำให้กลุ่มของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวกที่เป็นกรรมการบริหารเดิมของไทยรักไทยสูญพันธุ์ทางการเมืองอย่างน้อย 5 ปี
3. พรรคการเมืองอื่น เช่น ชาติไทย มหาชนประชาราษฎร์ ได้รับประโยชน์
4. เปิดโอกาสนักการเมืองหน้าใหม่
5. เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองจากม็อบกลุ่มต่างๆ
-การชุมนุมจากสมาชิกพรรคซึ่งมีอยู่เกือบ 20 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ไม่เห็นด้วยกับผลการตัดสินคดี
-นักการเมืองที่สูญเสียอำนาจอาศัยสถานการณ์ปลุกม็อบให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย
6. เกิดภาพความวุ่นวายจากนักการเมือง ที่ต้องการตีความว่าประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ว่ามีผลย้อนหลังได้หรือไม่

พรรคประชาธิปัตย์
จุดอ่อน จุดแข็ง วิกฤต และโอกาส
กรณีถูกยุบพรรค กรณีที่ 1*
จุดแข็ง ชื่อพรรคยังคงขายได้ โดยนำขุนพลรุ่นเก่า “ชวน หลีกภัย” กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค หรือดึงอดีตสมาชิกเข้าร่วมพรรค เพื่อดำรงฐานเสียงเดิมในพื้นที่ต่างจังหวัดโดยเฉพาะในภาคใต้
จุดอ่อน
– ภาพลักษณ์ของผู้บริหารชุดเดิมถูกมองเรื่องความเชื่องช้า ไม่ทันใจนักธุรกิจ
-ขาดนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ที่โดดเด่นลงเล่นการเมืองหากสมาชิกของพรรคถูกห้าม
โอกาส
– การมีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ต้องการของสังคมไทยเวลานี้
– มีคนรุ่นใหม่ จากอาชีพต่างๆ เข้ามา

กรณียุบพรรค กรณีที่ 2**
จุดแข็งยังคงมีกรรมการบริหารพรรคที่เป็นดาวเด่น เป็นจุดขายให้กับพรรคได้เหมือนเดิม
จุดอ่อน ขาดความชัดเจนในบทบาท ระหว่าง ส.ส. ที่เป็นจุดขายกับ ผู้บริหารพรรค อาจทำให้เกิด ภาพความขัดแย้งภายในพรรคจึงมีโอกาสทำให้ได้คะแนนเสียงน้อย
โอกาส -สังคมต้องการนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีความซื่อสัตย์ และมีความสามารถ

กรณีไม่ถูกยุบพรรค
จุดแข็ง ผู้บริหารชุดเดิมยังบริหารต่อโดยมี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นหัวหน้าพรรค และทีมผู้บริหารที่ผสมผสานระหว่างสมาชิกรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ทำให้ได้ทั้งคะแนนเสียงฐานเดิมกับฐานเสียงใหม่ที่ให้โอกาสนักการเมืองรุ่นใหม่
จุดอ่อน กรรมการบริหารพรรคหลายคน โดยเฉพาะ “อภิสิทธิ์”ถูกตั้งข้อสงสัยถึงความสามารถในการบริหารประเทศ
โอกาส
– แม้ว่า แรงต้านพรรคคู่แข่งหลักอย่างไทยรักไทยยังรุนแรง แต่พรรคอื่นยังไม่มีความโดดเด่นพอ
– ทำให้มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
-มีนักธุรกิจพร้อมสนับสนุนมากขึ้นกว่าในยุครัฐบาล
ทักษิณ

วิกฤต/อุปสรรค การขาดประสบการณ์ในด้านการบริหารองค์กร หรือความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความคาดหวังของสังคมที่ต้องการผู้นำที่มีประสบการณ์เหล่านี้มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศ

พรรคไทยรักไทย
จุดอ่อน จุดแข็ง วิกฤต และโอกาส
กรณีถูกยุบพรรค กรณีที่ 1*
จุดแข็ง มีเครือข่ายและจำนวนสมาชิกจำนวนมากกว่า พรรคประชาธิปัตย์ หากกรรมการบริหารพรรคถูกห้ามลงเล่นการเมือง ยังมีคนอื่นเป็นทางเลือกให้พรรคส่งลงสมัครแทนคนเดิมได้
จุดอ่อน ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นกรณีใดก็ตามใน 3 กรณี ยังคงทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคไทยรักไทยยังคงมีปัญหา เนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องจริยธรรมทางการเมืองของอดีตหัวหน้าพรรค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งเรื่องคอรัปชั่น การเลี่ยงภาษี และการเอื้อพวกพ้อง แม้จะมีผู้บริหารพรรคใหม่ จะไปตั้งพรรคใหม่ แต่สังคมก็ยังเชื่อว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ” ยังคงอยู่เบื้องหลัง
โอกาส สมาชิกออกตั้งพรรคใหม่ใช้ชื่อใหม่ เลิกใช้ชื่อพรรคไทยรักไทย เพื่อลบภาพลักษณ์เดิมที่ผูกติดกับพ.ต.ท.ทักษิณ

กรณียุบพรรค กรณีที่ 2**
จุดแข็ง แม้คณะกรรมการจะถูกห้ามลงเลือกตั้งแต่ยังคง มี ส.ส. ในสังกัดจำนวนมาก
จุดอ่อน ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นกรณีใดก็ตามใน 3 กรณี ยังคงทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคไทยรักไทยยังคงมีปัญหา เนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องจริยธรรมทางการเมืองของอดีตหัวหน้าพรรค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งเรื่องคอรัปชั่น การเลี่ยงภาษี และการเอื้อพวกพ้อง แม้จะมีผู้บริหารพรรคใหม่ จะไปตั้งพรรคใหม่ แต่สังคมก็ยังเชื่อว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ” ยังคงอยู่เบื้องหลัง
โอกาส หากกฎหมายร่างรัฐธรรมนูญผ่าน และเลือกตั้งได้เร็ว โอกาสที่ไทยรักไทยจะชนะเลือกตั้งยังคงมีสูง เพราะฐาน
คะแนนเดิมยังอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานและเหนือ

กรณีไม่ถูกยุบพรรค
จุดแข็ง
-มีเงินทุนสูง ยังมีกลุ่มทุนที่ยังเกื้อกูลไทยรักไทย
-มีฐานเสียงชาวชนบท ที่ชื่นชอบนโยบายประชานิยมทำให้มีโอกาสชนะเลือกตั้งได้อีก
จุดอ่อน ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นกรณีใดก็ตามใน 3 กรณี ยังคงทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคไทยรักไทยยังคงมีปัญหา เนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องจริยธรรมทางการเมืองของอดีตหัวหน้าพรรค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งเรื่องคอรัปชั่น การเลี่ยงภาษี และการเอื้อพวกพ้อง แม้จะมีผู้บริหารพรรคใหม่ จะไปตั้งพรรคใหม่ แต่สังคมก็ยังเชื่อว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ” ยังคงอยู่เบื้องหลัง
โอกาส

วิกฤต/อุปสรรค ผลการตัดสินทั้ง 3 กรณี ยังคงทำให้การดำเนินการทางการเมืองของไทยรักไทยต้องเผชิญอุปสรรค ดังนี้
-การดำเนินการของกลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ และพวกพ้อง ไม่ว่าจะในนามพรรคเดิมหรือพรรคใหม่จะมีต่อเนื่อง
เพื่อสกัดไม่ให้อดีตไทยรักไทยกลับมาในเส้นทางทางการเมือง
-การพัฒนาการของพรรคการเมืองคู่แข่ง ทั้งในแง่การนำเสนอนโยบาย และการปรับภาพลักษณ์ของพรรคต่างๆ ทำให้ “ไทยรักไทย” หรือ อดีต ส.ส. ของไทยรักไทยแข่งขันได้ยากขึ้น

*การยุบพรรคกรณีที่ 1 คณะกรรมการบริหารชุดเดิมทั้งหมดห้ามตั้งพรรคใหม่ และสมัคร ส.ส. ไม่ได้ 5 ปี ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 และมีการตั้งพรรคใหม่โดยบุคคลอื่น โดยใช้ชื่อเดิม

**การยุบพรรคกรณีที่ 2 คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ใช้ชื่อพรรคเดิม ส่วนกรรมการบริหารชุดเดิมยังลงสมัคร ส.ส. ได้

หากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยถูกตัดสินยุบพรรคตามกฎหมายพรรคการเมือง และต้องดำเนินการตามคำสั่งของ คปค. ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ด้วย จะทำให้กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดไม่มีสิทธิตั้งพรรคการเมืองใหม่ และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้ เป็นเวลา 5 ปี โดยคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีทั้งหมด 49 คน ส่วนพรรคไทยรักไทยมี 119 คน

ส่วนหนึ่งของกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
นายอลงกรณ์ พลบุตร
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
นายกรณ์ จาติกวณิช
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร
นายถาวร เสนเนียม
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

ส่วนหนึ่งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
นายพินิจ จารุสมบัติ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา
นายโภคิน พลกุล
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล