ประชาธิปัตย์ Classic Brand

“พรรคประชาธิปัตย์” ผ่านเส้นทางการเมืองมายาวนานถึง 61 ปี มีเรื่องราวเข้มข้น ทั้งเคยเฟื่องฟู และตกต่ำ จนถือเป็นตำนานบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถ้าเปรียบเป็นสินค้า ก็ถือเป็นแบรนด์เก่าแก่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ผ่านมรสุมลูกแล้วลูกเล่า จนมาสู่การเริ่มรีแบรนด์อย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2548 และเวลานี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังเดินแผนต่ออีกครั้ง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และกระแสการยุบพรรค

นับเป็นความท้าทายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะทำอย่างไรให้พรรคย่างก้าวขึ้นสู่ปีที่ 62 เป็นแบรนด์พรรคการเมืองที่ทันยุคสมัย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบ เพราะไม่ว่าตุลาการรัฐธรรมนูญจะตัดสินอย่างไร “พรรคประชาธิปัตย์” จะอยู่เหมือนเดิม หรือมีนักการเมืองอื่นนำชื่อไปจดทะเบียนใหม่ “พรรคประชาธิปัตย์” ก็จำเป็นต้องรีแบรนด์ เพราะเพียงแค่คุณค่าแบรนด์ที่อยู่มานานไม่อาจเป็นจุดขายที่เพียงพออีกต่อไป ท่ามกลางกระแสที่บรรดาพรรคการเมืองต่างนำ “กลยุทธ์การตลาด” มาใช้กับงานการเมืองอย่างเห็นได้ชัด เพื่อนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง

อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับพรรคเกิดใหม่ ที่จะนำการตลาดมาใช้ เหมือนอย่างที่พรรคไทยรักไทย หรือแม้แต่พรรคพลังธรรมเคยทำมาแล้ว แต่สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ อาจเป็นเรื่องยาก ที่จะยอมรับได้ เพราะอุดมการณ์พรรค และภาพลักษณ์ที่เป็นอยู่ทำให้การทำตลาดของพรรคประชาธิปัตย์ต้องแนบเนียน ไม่ยัดเยียด แต่ก็หวังผลต้องทำยอดขายภายในวันเดียวคือวันเลือกตั้ง ให้ได้คะแนนเสียงสูงสุด

แต่ปี 2548 พรรคประชาธิปัตย์ก็เริ่มมิติ “การตลาด” ให้เห็น และในการเลือกตั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้น ก็พร้อมสานต่ออย่างไม่ลังเล

การนำวิธีการทางการตลาดมาประยุกต์ใช้กับงานทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชัดเจนเริ่มตั้งแต่ประมาณปี 2548

สำรวจ วิจัย ข้อมูล
การดำเนินการ
วิธีการ -การลงพื้นที่หาเสียง เยี่ยมเยียนประชาชน การร่วมงานพิธีการต่างๆ ของชาวบ้าน
-การสำรวจความเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) จัดสัมมนากลุ่มย่อยกับกลุ่มต่าง ๆ เช่นกลุ่มนักธุรกิจ
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสังคมด้านต่างๆ
-จัดงานพบปะระหว่างพรรคกับประชาชาชนในนาม “สมัชชาประชาชน”
-จัดทำแบบสอบถาม
เป้าหมาย
-สร้างสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด และได้สัมผัส กลุ่มเป้าหมายด้วยตัวเอง
-สร้างเครือข่ายกับกลุ่มต่างๆ ในสังคม และได้เห็นความต้องการกลุ่มต่างๆ ชัดเจน
-สร้างความชัดเจนในการประกาศแผนงานในนามของพรรคการเมืองไม่ใช่เฉพาะในนามตัวบุคคลของพรรค
-ได้ข้อมูลชัดเจนถึงจุดอ่อนจุดแข็งของพรรค และความต้องการ ความคาดหวังจากพรรค
ผลที่คาดว่าจะได้รับ การร่างนโยบายที่ตรงกับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายและสามารถเสนอตัวบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบได้มากที่สุด และหลากหลาย

กลยุทธ์การสื่อสารแบบครบวงจร (IMC)
การดำเนินการ
วิธีการ -จัดกิจกรรมทั้ง Below the line เช่น การลงตรวจเยี่ยมประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การนำสิ่งของ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
เป้าหมาย
-ดึงความสนใจจากประชาชน
-สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-ให้ความรู้สึกดีต่อพรรค
-ทำให้คนจำนวนมากรู้จักพรรคมากขึ้นการสื่อผ่านเว็บไซต์ยังทำให้เกิดการสื่อสาร 2 ทาง นำไปสู่ชุมชน หรือแฟนคลับของพรรค หรือสมาชิกพรรคได้ง่ายขึ้น

การโปรโมชั่น
การดำเนินการ
วิธีการ -การประกาศขอคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง 201 เสียงในการเลือกตั้งต้นปี 2548 หลังพบว่าจะได้คะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยอย่างแน่นอน
เป้าหมาย เพื่อวัดยอดคะแนนนิยมหรือยอดขายในการขายภายในวันเดียว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ -แม้จะได้ยอดขายไม่ตามเป้าคือได้คะแนนเสียงเพียง 97 เสียง แต่ทำให้พรรครู้จุดอ่อนและนำมาแก้ไขต่อไป

การปรับภาพลักษณ์ (Rebranding)
การดำเนินการ
วิธีการ -ปรับปรุงสินค้า คือนโยบายและการปรับตัวของสมาชิกปัจจุบัน และเพิ่มสมาชิกใหม่
เป้าหมาย
– ออกนโยบายให้จับต้อง แก้ไขปัญหาประชาชนได้
– สมาชิกพรรคต้องเสริมความรู้ และปรับยุทธวิธีการอภิปราย และการให้สัมภาษณ์ โดยเน้นข้อมูลมากกว่าใช้ถ้อยคำเสียดสีประชดประชัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ -เปลี่ยนภาพลักษณ์จากพรรคนักพูดเชี่ยวชาญความเป็นฝ่ายค้าน สู่ความเป็นพรรคการเมืองมืออาชีพ มีนักบริหารพร้อมเป็นรัฐบาล