โครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์ จำนวน 921 ยูนิต เป็นอาคารสูง 8 ชั้น อยู่บนที่พิ้น Senior Complex เป็นที่พักอาศัยที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณอายุที่มีรายได้ปานกลาง
มีการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพที่ดีสำหรับที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ และสอดคล้องกับโครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร และบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Zone) และพื้นที่ Nursing Home Zone ในอนาคต
เนื่องจากโครงการศูนย์เรียนรู้ฯ มีแนวคิดในการออกแบบที่ต้องการสร้างบรรยากาศของความอบอุ่น คุ้นเคยเหมือนอยู่ “บ้าน” เพื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและไม่กังวล ดังนั้นจึงออกแบบอาคารสูงเพียง 2-3 ชั้น ดังนั้น การออกแบบอาคารของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Home) จึงออกแบบให้อาคารมีการลดหลั่นความสูงเพื่อให้มีการเชื่อมโยงกัน
ทางกรมธนารักษ์ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU : Memorandum of Understanding) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน บมจ.ธนาคารกรุงไทย และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เพื่อดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ สป.623 (บางส่วน) ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 20-0-00 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ของประเทศไทย และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ราชพัสดุที่มีศักยภาพ
กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการเปิดจองสิทธิโครงการฯ ระหว่างวันที่ 9-30 พฤศจิกายน 2563 โดยมีราคาห้องพักเริ่มต้น 1.82-2.99 ล้านบาท (ราคารวมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า) โดยสามารถจองได้ 2 ช่องทางคือ
1. จองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยให้ผู้สูงอายุหรือตัวแทนแสดงความประสงค์และจัดส่งเอกสารผ่านเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ www.treasury.go.th หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ สมุทรปราการ samutprakan.treasury.go.th และเว็บไซต์เครือข่ายพันธมิตรโครงการฯ ได้แก่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล med.mahidol.ac.th และ ธพส www.dad.co.th
2. จองผ่านเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (Walk in) ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 58 ปี ณ วันที่จองสิทธิ และหรือมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ณ วันที่เข้าพักอาศัยจริง
2. มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือพึ่งพาตัวเองได้ดี ไม่มีโรคหรืออาการของโรคอันเป็นอุปสรรคในการเข้าพักอาศัยภายในโครงการฯ ตามความเห็นของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
3. สามารถยอมรับเงื่อนไขค่าใช้จ่ายตามที่โครงการฯ กำหนด หรือยอมรับเงื่อนไขการขอสินเชื่อจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ
สำหรับสิทธิประโยชน์และรายละเอียดโครงการฯ ผู้สูงอายุ หรือบุตรหลานที่สนใจรายละเอียดโครงการฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายตรงโครงการฯ เบอร์โทรศัพท์ 0-2142-2276, 0-2142-2283
]]>พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มายกเลิกและทดแทนภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิมที่ใช้กันมาหลายสิบปี เป้าหมายของกฎหมายภาษีที่ดินฯ คือการสังคายนาวิธีการจัดเก็บให้คิดในอัตราที่ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เก็บภาษีได้ครบครอบคลุม ไม่ลักลั่น และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ปูพื้นภาพรวมภาษีที่ดินฯ ฉบับนี้ จะมีการแยกเก็บภาษีออกเป็น 4 หมวด คือ 1.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า 2.ที่อยู่อาศัย 3.เกษตรกรรม 4.อื่นๆ กฎหมายตีความว่าเป็นที่ดินประเภทใดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น และแต่ละหมวดจะเสียภาษีในอัตราที่ไม่เท่ากัน (ดูตารางด้านล่าง) โดยเก็บในอัตราก้าวหน้า (แบบเดียวกับการเสียภาษีเงินได้) และมีผู้เก็บภาษีคือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ของที่ดินนั้นๆ เช่นเดียวกับภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนเดิม
สำหรับปีนี้มีการขยายเวลาชำระภาษีออกไปให้เป็น 31 ส.ค. 63 จากปกติจะต้องชำระไม่เกินวันที่ 30 เม.ย. เนื่องจากกฎหมายลูกที่จะใช้ในการตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ กำลังทยอยออกมาให้ครบ 18 ฉบับซึ่งคาดว่าจะครบภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้ โดยไทม์ไลน์การดำเนินการเฉพาะปี 2563 เป็นไปตามแผนภาพด้านล่าง
เพื่อตอบคำถามรายละเอียดทั้งแนวคิดและการปฏิบัติจากกฎหมายใหม่ครั้งนี้ เวทีสัมมนาได้รวบรวมผู้ให้ข้อมูลมาตอบข้อข้องใจ ได้แก่ “ชุมพล สุวรรณกิจบริหาร” เลขานุการกรมจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.), “วิลาวัลย์ วีระกุล” รองอธิบดี กรมธนารักษ์ และ “สันติธร ยิ้มละมัย” รองอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ติดตามอ่านได้ด้านล่างนี้!!
ชุมพล: การเก็บภาษีที่ดินฯ ครั้งนี้ใช้ฐานการคิดราคาทรัพย์สินจากราคาประเมินโดยกรมธนารักษ์ ซึ่งประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี ต่างจากกฎหมายบำรุงท้องที่เดิมอัปเดตราคาล่าสุดในปี 2524 ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน รวมถึงการคิดราคาสิ่งปลูกสร้างใช้ตารางบัญชีราคาโดยกรมธนารักษ์เช่นกัน และคิดเฉพาะตัวโครงสร้างอาคาร ไม่มีการประเมินส่วนควบ เช่น เครื่องจักร เสาวิทยุ ของอาคาร
รวมถึงการเสียภาษีโรงเรือนเดิมจะคิดอัตราภาษีจากรายได้การทำประโยชน์ เช่น อพาร์ตเมนต์ คิดตามค่าเช่ารายเดือน ซึ่งเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้ดุลยพินิจประเมินราคา แต่ภาษีใหม่คิดจากมูลค่าทรัพย์ทั้งหมด เราตัดสิ่งรุงรังพวกนี้ออกเพื่อตัดเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจหน้างานออก
ชุมพล: เมื่อก่อนเป็นระบบประชาชนมีหน้าที่ไปแจ้งเสียภาษีเอง แต่ระบบใหม่อปท.จะออกจดหมายแจ้งประชาชนให้มาชำระภาษี
อปท.ทำเช่นนี้ได้แล้ว เพราะกฎหมายใหม่เชื่อมโยงให้กรมที่ดินจะต้องส่งข้อมูลเจ้าของที่ดินไปให้อปท.แต่ละแห่ง และอปท.มีหน้าที่ไปประเมินการใช้ประโยชน์ทุกแปลง ดังนั้น การหลบเลี่ยงจ่ายภาษีทำได้น้อยลง
ชุมพล: กลุ่มที่อยู่อาศัยหลังหลักได้รับยกเว้นภาษีได้ถึงมูลค่า 50 ล้านบาท เจตนาเพื่อช่วยบุคคลที่ได้ที่ดินมรดกกลางเมือง บางท่านอยู่มาตั้งแต่ที่ดินยังไม่เจริญแต่ปัจจุบันเจริญไปมากแล้ว อย่างเช่นกรุงเทพฯ ที่ดินปัจจุบันแพงสุดถึงตารางวาละ 1 ล้านบาทแล้วตามราคาประเมิน หากลูกหลานได้รับที่ดินมรดกขนาด 50 ตร.ว. ในย่านนั้น ก็จะมีมูลค่าสูงถึง 50 ล้านบาท จึงปรับเพดานราคาบ้านหลังหลักให้สมเหตุสมผล
ส่วนข้อท้วงติงจากผู้ที่กล่าวว่า ตนมีที่อยู่อาศัยหลายหลังรวมกันมูลค่ายังไม่ถึง 50 ล้านบาท ทำไมจึงต้องเสียภาษีหลังที่ 2 เป็นต้นไป ประเด็นนี้เรามองว่าท่านมีความสามารถที่จะมีบ้านมากกว่า 1 หลัง ขณะที่คนไทยบางกลุ่มยังไม่สามารถมีบ้านหลังแรกได้ ให้พิจารณาในจุดนี้
ชุมพล: คอนเซ็ปต์หลักของการจ่ายภาษีคือ “เจ้าของทรัพย์สิน” ผู้มีชื่อสลักหลังโฉนดคือผู้ที่ต้องจ่ายภาษี
กรณี 1 เจ้าของผู้ให้เช่า vs ผู้เช่า : ผู้จ่ายภาษีคือเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ใช่ผู้เช่า หากจะมีการผลักภาระให้ผู้เช่า เป็นเรื่องที่ต้องตกลงกันเอง
กรณี 2 เจ้าของโฉนด vs เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน : ดูตามกรรมสิทธิ์ “เจ้าของ” ไม่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าบ้าน
กรณี 3 ที่ดินรัฐ : เป็นข้อยกเว้น เช่น ที่ดินราชพัสดุ ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดิน นส.3 ที่ดิน นส.3ก หรือแม้แต่การบุกรุกเข้าใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ใช้ประโยชน์บนที่ดินรัฐจะต้องเป็นผู้เสียภาษี
กรณี 4 ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างมีเจ้าของร่วมหลายราย : ผู้มีชื่อคนแรกในโฉนดเป็นผู้เสียภาษี ส่วนการจัดการแบ่งค่าใช้จ่ายในหมู่เจ้าของร่วม ต้องตกลงกันเอง
กรณี 5 ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างมรดกที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ : อปท.นั้นๆ จะเลือกทายาท 1 คนเพื่อรับภาระเสียภาษีในปีนั้น
ชุมพล: ดูตามเจตนาการใช้ประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรือนเพื่อเลี้ยงไก่ถือเป็นเกษตรกรรม และดูจากการใช้งานจริงบนที่ดิน ไม่ใช่อาชีพของเจ้าของทรัพย์ ดังนั้น หากทรัพย์มีไว้ทำเกษตรกรรมจะถือว่าเป็นที่ดินเกษตรกรรม หากเจ้าของไม่ใช่เกษตรกร ไม่ต้องไปลงทะเบียนเป็นเกษตรกร เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุให้ตรวจสอบจุดนี้
การดูเจตนาจากการใช้งานจริงทำให้ก้าวข้ามลักษณะอาคารด้วย เช่น หากตึกแถวสำหรับพักอาศัยถูกดัดแปลงไปใช้เป็นโรงงาน จะตกอยู่ในหมวด “อื่นๆ” ไม่ใช่หมวด “ที่อยู่อาศัย”
ชุมพล: ถ้าทรัพย์นั้นใช้ให้เช่าเพื่อการอยู่อาศัยให้ถือว่าเป็นที่อยู่อาศัย โดยต้องเป็นการพักอาศัยรายเดือนเท่านั้น ที่ไม่นับเป็นหมวดอื่นๆ (ซึ่งเสียภาษีสูงกว่า) เพราะเราต้องการดูแลไม่ให้มีการผลักภาระไปให้ผู้เช่าซึ่งมีความจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัย ส่วนที่พักรายวัน เช่น โรงแรม ห้องเช่ารายวัน ถือเป็นหมวดอื่นๆ
ชุมพล: ขณะนี้มีนิยามที่ดินเกษตรกรรมตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ แต่จะมีกฎหมายลูกประกาศภายในไม่กี่วันนี้ เพื่อให้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
ในกฎหมายฉบับดังกล่าวจะระบุเกณฑ์การวัดความเป็นที่ดินเกษตร 12 ประเภทใหญ่ เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดว่าต้องเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์มากน้อยแค่ไหนจึงจะถือว่าเป็นที่ดินเกษตรกรรม
ชุมพล: วัดตามการใช้งานจริง สมมติมีที่ดิน 1 ไร่ ทำนา 200 ตร.ว. อีก 200 ตร.ว.เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็จะคิดเป็นที่ดินเกษตรกรรมแค่ 200 ตร.ว. ที่เหลือเป็นที่ดินรกร้าง
ชุมพล: การตรวจสอบเกิดขึ้นทุกวันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี และการประเมินการใช้ประโยชน์นับจากวันที่เจ้าหน้าที่ประเมินสำรวจที่ดิน ดังนั้น กรณีมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันภายหลังวันที่ 1 ม.ค. ของปีนั้น เจ้าของเดิมยังต้องเป็นผู้ชำระภาษีที่ดินอยู่
ชุมพล: สามารถยื่นคัดค้านได้ 3 ครั้ง ครั้งแรกยื่นคำร้องภายใน 30 วันหลังจาก อปท. ส่งแบบประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษี หากยังไม่พอใจ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกครั้งภายใน 30 วัน และหากยังไม่พอใจในผลตอบรับ สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน
อย่างไรก็ตาม ระหว่างขั้นตอนทั้งหมด หากถึงกำหนดชำระภาษีแล้วต้องเสียภาษีเต็มจำนวนไปก่อน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าภาษีที่ต้องชำระในภายหลังและผู้เสียภาษีมีการชำระเกินไปก่อนแล้ว จะได้เงินส่วนต่างคืนพร้อมดอกเบี้ย 1%
วิลาวัลย์: ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมธนารักษ์ โดยที่ดินทุกแปลงทั่วไทยที่มีการใช้ประโยชน์สามารถทราบราคาประเมินได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ สำหรับรอบภาษีที่ดินฯ ปี 2563 จะยังใช้ราคาประเมินที่ดินรอบบัญชีปี 2559-62 ไปก่อน เนื่องจากราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ 2564-67 จะประกาศใช้วันที่ 1 ธ.ค. 63
สันติธร: ขณะนี้ยังไม่มี การยื่นคัดค้านจะต้องไปที่ อปท. ของที่ดินของท่าน ส่วนระบบชำระเงิน อยู่ระหว่างเจรจากับ ธ.กรุงไทย เพื่อเป็นช่องทางชำระเงิน
แต่ในอนาคต อยู่ระหว่างจัดทำงบประมาณเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ออนไลน์สำหรับยื่นคัดค้านหรืออุทธรณ์ผ่านออนไลน์ได้ทันที เพื่อความสะดวกของประชาชน
]]>นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ดร.นริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ ร่วมเปิดพร้อมเยี่ยมชม “ศูนย์เรียนรู้วิวัฒนาการการผลิตเหรียญกษาปณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์” อย่างเป็นทางการ แสดงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตเหรียญกษาปณ์ของภูมิภาคอาเซียน ต้อนรับไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม The Technical Meeting of Mints in ASEAN (TEMAN) ครั้งที่ ๑๖ โดยมีวัตถุประสงค์ให้คนไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการโรงกษาปณ์ไทย และการผลิตเหรียญกษาปณ์ไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก ณ สำนักกษาปณ์ รังสิต
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ร่วมงานกาชาด ประจำปี พ.ศ.2556 ฉลองครบรอบ 80 ปี กรมธนารักษ์ และ 120 ปีสภากาชาดไทย ร่วมใจสร้างสุขเพื่อปวงชน” อัญเชิญ “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ” เทพคู่บ้าน คู่เมืองในด้านทรัพย์สินเงินทองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เปิดให้ประชาชนสักการบูชา สร้างขวัญและกำลังใจด้านการเงิน โอกาสสุดท้ายจอง “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติลอยองค์” ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 6 เมษายนนี้
ดร.นริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการฉลองวาระใหญ่ในการร่วมงานกาชาด ซึ่งปี 2556 ถือเป็นวาระครบรอบ 120 ปีสภากาชาดไทย ภายใต้แนวคิดการจัดงาน “งานกาชาดประจำปี 2556 ฉลอง 120 ปี สภากาชาดไทย รวมใจสร้างสุขเพื่อปวงชน” ทั้งนี้ประจวบเหมาะกับโอกาสที่ปีนี้เป็นปีสถาปนากรมธนารักษ์ครบ 80 ปี ทางกรมฯจึงได้จัดสร้างพระวิมานจำลองที่ประทับ “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ” เทพคู่บ้าน คู่เมืองผู้ปกปักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและดูแลในด้านทรัพย์สินเงินทอง ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 จัดแสดงไว้ภายในศาลากระทรวงการคลังในงานกาชาด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานได้มีโอกาสที่จะเข้าสักการบูชาเนื่องจากโดยปกติมิได้มีการเปิดองค์ให้บุคคลทั่วไปได้เข้าสักการะ แต่ในครั้งนี้ถือเป็นวาระพิเศษเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจด้านการเงินและการค้าขายให้ประชาชนผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้
นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสุดท้ายของอำนวยความสะดวกต่อการสั่งจองบูชา “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติลอยองค์” ซึ่งกรมธนารักษ์ได้จัดสร้างขึ้นเป็นวาระพิเศษช่วงครบรอบสถาปนากรมฯ 80 ปี โดยมีกำหนดจะปิดรับการสั่งจองวันสุดท้ายในวันที่ 30 เมษายน 2556 นี้เท่านั้น ทั้งนี้ในการจัดสร้าง “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติลอยองค์” ได้จัดทำด้วยช่างฝีมือชั้นยอด ทำการปิดทองทีละองค์ โดยแต่ละองค์จัดสร้างตามการสั่งจองบูชาเท่านั้น นอกจากนี้ทุกองค์ที่จัดสร้างขึ้นจะมีหนังสือรับรอง
สำหรับ “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติลอยองค์” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ จัดสร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์เทวรูปพระคลังในพระคลังมหาสมบัติตามเทวลักษณะจริงทุกประการต่างเพียงความสูงขององค์ โดยจัดสร้าง 3 ประเภทคือ 1. พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ เนื้อทองคำ ขนาดความสูง 29 ซม. ราคาองค์ละ 9,999,999 บาท 2. พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ เนื้อเงิน จัดสร้างเพียง 99 องค์ ขนาดความสูง 29 ซม. ราคาองค์ละ 165,000 บาท และ 3. พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ โลหะผสม ปิดด้วยทองคำเปลว ขนาดความสูง 29 ซม. ราคาองค์ละ 16,500 บาท รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปปรับปรุงและขยายศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ เพื่อให้เป็นสถานที่จัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
กรมธนารักษ์จึงขอเชิญประชาชนทุกท่านร่วมเข้าชมร้านกาชาดของกระทรวงการคลัง ได้ภายในงานกาชาด ประจำปี พ.ศ.2556 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 6 เมษายน 2556 ณ บริเวณสวนอัมพร สำหรับประชาชนท่านใดที่สนใจสามารถสั่งจองบูชาพระคลังมหาสมบัติลอยองค์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Hotline 02-666-0588 (24 ชั่วโมง)
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษา ราชาแห่งแผ่นดิน กษาปณ์ศิลปไทย” เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปีนี้โดยร้อยเรียงเรื่องราวเทิดพระเกียรติผ่านเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสสำคัญๆ ตลอดจนเครื่องยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่หาชมได้ยากยิ่ง ภายใต้แนวความคิด “80 พรรษาราชาแห่งแผ่นดิน รู้ ร่วม รักษ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน” เพื่อให้ประชาชน รู้ ร่วม รักษ์ ทรัพย์สินมีค่าของชาติ
นอกจากนี้พบกับนิทรรศการเผยแพร่ประวัติความเป็นมาและความก้าวหน้าของกรมธนารักษ์ สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โรงกษาปณ์ และสมาคมเหรียญกษาปณ์แห่งประเทศไทย และพลาดไม่ได้กับกิจกรรมการตีเหรียญกษาปณ์ โดยคนและเครื่อง แฟนพันธุ์แท้เหรียญกษาปณ์ และการจำหน่าย จ่าย แลก เหรียญกษาปณ์ และเหรียญกษาปณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550
ทั้งนี้นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม 2550 ณ บริเวณ Hall A และห้อง Ballroom ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์