กระแสโซเชียล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 23 Sep 2024 09:06:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรณีศึกษา: ‘คุ้มสึ vs ล่าเมียว’ เกาะกระแสอย่างไรให้ ‘ได้ใจ’ มากกว่า ‘ได้ทัวร์’ https://positioningmag.com/1491357 Mon, 23 Sep 2024 07:46:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491357 เรื่องราวต่อเนื่องจากการประกาศปิดตัว “Texas Chicken” มีสองแบรนด์ร้านอาหาร “คุ้มสึ” และ “ล่าเมียว” ที่รีบคว้าโอกาสนี้มาใช้โปรโมตตนเองด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน แม้จะเกาะกระแสเรื่องเดียวกันแต่ได้ผลตอบรับที่ต่างกันมาก

หลังจาก Texas Chicken ประกาศปิดตัวได้ 4 วัน มีโพสต์หนึ่งที่ไวรัลขึ้นมาในอินเทอร์เน็ตนั่นคือโพสต์ของร้าน “คุ้มสึ” ลงประกาศใจความว่า “คุ้มสึ พร้อมรับสมัครพนักงานจากเหตุการณ์ Texas Chicken ยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย” คุ้มสึยินดีต้อนรับพนักงานมาเป็นครอบครัวและร่วมงานกัน

ข้อมูลในโพสต์ของคุ้มสึเป็นการสื่อสารโดยนัยว่าพร้อมจะช่วยเหลือพนักงานที่อาจจะต้องตกงานเพราะร้าน Texas Chicken จะปิดให้บริการ พร้อมกับลงข้อมูลที่ทำให้คนรู้จักตัวเองมากขึ้นว่า คุ้มสึ เป็นร้านข้าวหน้าเนื้อพ่นไฟ

โพสต์นี้จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567 มีคนกดไลก์ไปแล้วกว่า 8,300 คน คอมเมนต์ 247 ครั้ง และแชร์กว่า 2,000 ครั้ง

ที่สำคัญคือในคอมเมนต์และการแชร์โพสต์ส่วนใหญ่เป็นความคิดเห็นชื่นชมว่าร้านน่ารักและมีน้ำใจที่จะรับพนักงานตกงาน หลายคนแสดงความเห็นว่าไม่เคยรู้จักร้านมาก่อน ไม่เคยรับประทาน เพิ่งจะได้รู้จักเมื่อโพสต์นี้เป็นไวรัล

โพสต์ของคุ้มสึสะท้อนความสำเร็จทางการตลาดจากการเกาะกระแสที่ทำให้ชื่อร้านรับรู้เป็นวงกว้างมากขึ้น แม้ไม่ได้แจ้งชัดเจนว่าจะรับพนักงานเพิ่มจำนวนเท่าไหร่ และลงสาขาไหน แต่การแสดงเจตนาในลักษณะนี้ ‘เนียน’ พอที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับแบรนด์

คุ้มสึ
ตัวอย่างคอมเมนต์จากโพสต์รับสมัครพนักงานของคุ้มสึ

ทั้งนี้ “คุ้มสึ” เป็นร้านข้าวหน้าเนื้อแบบไม่มีที่นั่ง เน้นขายเทกโฮมและเดลิเวอรี เปิดตัวในยุคโควิด-19 เมื่อปี 2563 สาขาแรกเปิดที่สุขุมวิท 31 ก่อนจะขยายในรูปแบบแฟรนไชส์จนปัจจุบันมี 54 สาขาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล, ขอนแก่น, นครราชสีมา, อุดรธานี, เชียงใหม่ และชลบุรี

 

ทัวร์ลงที่ “ล่าเมียว”

ถัดมา 1 วันหลังจากโพสต์ของคุ้มสึเป็นไวรัล มีอีกหนึ่งร้านอาหารที่ขอเกาะกระแสปิด Texas Chicken บ้างคือ “ล่าเมียว” (La Meow) ตั้งโพสต์ “เรียน ทีมงานดูแล Texas Chicken ทุกสาขา”

ใจความของโพสต์ระบุว่าล่าเมียว “จะขอเทกโอเวอร์พื้นที่ตั้งร้าน Texas Chicken บางสาขา รวมถึงอุปกรณ์ร้านและเครื่องครัวต่างๆ บางส่วน” โดยล่าเมียวเล็งเห็น “ทำเลศักยภาพหลายจุด” และ “มีความตั้งใจจะรับช่วงต่อเพื่อต่อยอดและนำสิ่งที่ Texas Chicken ได้สร้างไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป”

ล่าเมียวภายในโพสต์มีการแนะนำตนเองด้วยว่า ล่าเมียวเป็นร้านอาหารจีนสไตล์หูหนาน-เสฉวน ผู้นำเข้าบาร์หมาล่า DIY เจ้าแรกในไทย และเป็น “บริษัทสัญชาติไทย 100%”

โพสต์นี้จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567 มีคนกดไลก์แล้ว 8,800 คน คอมเมนต์ 479 ครั้ง และแชร์ 1,100 ครั้ง ถือว่าไวรัลไม่แพ้คุ้มสึ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างคือแม้ว่าคอมเมนต์มากมายจะมาชี้เป้าว่าอยากให้ล่าเมียวมาเปิดแทน Texas Chicken ที่ใดบ้าง เกิด engagement ในเชิงบวกว่ามีลูกค้ารอให้ร้านไปตั้งสาขาอยู่ แต่ก็มีอีกหลายคอมเมนต์ทั้งใต้โพสต์และแชร์ที่ออกไปในทางลบในลักษณะ ‘ทัวร์ลง’

ตัวอย่างคอมเมนต์ในใต้โพสต์และแชร์จากโพสต์ประกาศเทกโอเวอร์สาขาของล่าเมียว

ความคิดเห็นเชิงลบที่มีต่อโพสต์นี้ของล่าเมียว คือเห็นว่า การเทกโอเวอร์พื้นที่สาขาเป็นเรื่องธุรกิจต่อธุรกิจที่ควรจะติดต่อและขอเจรจากันส่วนตัวตามมารยาทที่ควรจะเป็น มากกว่าที่จะฉวยโอกาสที่ร้านอื่นปิดตัวมาสร้างกระแสและประโยชน์ให้ร้านของตนเอง

รวมถึงมีหลายความคิดเห็นที่เข้าใจผิดไปอีกทางเลยว่า ล่าเมียวกำลังจะเทกโอเวอร์แบรนด์ Texas Chicken มาบริหารต่อ เนื่องจากการประกาศที่คลุมเครือของทางร้าน

สำหรับร้าน “ล่าเมียว” ลักษณะร้านเป็นหมาล่าที่ลูกค้าสามารถเลือกผสมวัตถุดิบได้เอง และคิดราคาจากการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ ก่อนที่พนักงานจะนำไปปรุงสดมาเสิร์ฟให้ลูกค้า ร้านล่าเมียวเปิดตัวครั้งแรกที่เอสพลานาด รัชดาฯ เมื่อปี 2562 จนปัจจุบันมี 12 สาขา และกำลังจะเปิดสาขาที่ 13 ที่ จ.ขอนแก่น ในเดือนตุลาคมนี้

กรณีศึกษาการเกาะกระแสในครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการเลือกมุมเข้าไปจับกระแสเป็นเรื่องสำคัญมาก บางมุมก็อาจจะไม่ถูกใจผู้บริโภคทั่วไปและทำให้กระแสตีกลับได้ ในขณะที่อีกมุมกลายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคยอมรับและส่งผลดีแทน

 

อ่านบทความอื่นๆ ต่อ

]]>
1491357
กรณีศึกษา: ดูทรงก่อนตามกระแส “แอป AI เปลี่ยนภาพเป็นอนิเมะ” งานนี้ KFC – Sprinkle วินสุด! https://positioningmag.com/1441684 Mon, 21 Aug 2023 11:15:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441684 เป็นกระแสมาร่วมสัปดาห์สำหรับ “Loopsie” แอปฯ AI ที่ช่วยเปลี่ยนภาพปกติเป็นลายเส้นอนิเมะ ไม่ว่าจะบุคคลทั่วไปหรือหน้าเพจแบรนด์ต่างโพสต์ภาพอนิเมะฝีมือ AI ตามๆ กัน ขณะที่กลุ่ม “สายผลิต” หรือบรรดานักวาดออกมาโต้กลับว่า AI เหล่านี้อาจกำลังละเมิดลิขสิทธิ์พวกเขา ท่ามกลางการปะทะกันของกระแสสังคมกับนักวาด มีสองแบรนด์อย่าง “KFC” กับ “Sprinkle” ที่รอดูท่าทีก่อนเลือกเกาะกระแสในอีกรูปแบบหนึ่ง ดึงยอดเอนเกจเมนต์พุ่งเหนือใคร

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายคนน่าจะเจอไทม์ไลน์ Facebook ของตัวเองมีภาพแนวอนิเมะอยู่เต็มไปหมด ภาพเหล่านี้มาจากแอปพลิเคชัน “Loopsie” แอปฯ เทคโนโลยี AI ช่วยแปลงภาพถ่ายปกติเป็นภาพลายเส้นอนิเมะได้อัตโนมัติที่เป็นกระแสมากว่า 1 สัปดาห์

วันแรกๆ ที่เริ่มเป็นกระแสในกลุ่มคนทั่วไป หลายแบรนด์จึงรีบตามเทรนด์เหมือนกับทุกเทรนด์โซเชียลมีเดียที่เคยมีก่อนหน้านี้ เช่น MBK Center เปลี่ยนภาพศูนย์การค้าให้เหมือนออกมาจากการ์ตูน, ศุภาลัย (Supalai) ที่หยิบภาพโปรโมตโครงการบ้านมาเปลี่ยนเป็นภาพอนิเมะ หรือ The 1 ที่เปลี่ยนภาพในหนังโฆษณาให้เป็นอนิเมะภาพนิ่งหลายๆ ภาพ

AI อนิเมะ
ตัวอย่างภาพจริงแปลงเป็นภาพอนิเมะด้วย AI จาก MBK Center
ตัวอย่างภาพจริงแปลงเป็นภาพอนิเมะด้วย AI จากศุภาลัย

เสียงตอบรับต่อแบรนด์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก ต่างมองว่าภาพที่ออกมา ‘ว้าว’ ถ่ายทอดภาพจริงสู่ภาพอนิเมะได้อย่างมหัศจรรย์ สวย น่ารัก จนโพสต์เหล่านี้ได้ยอดไลก์-ยอดแชร์ที่ดีพอสมควร

AI อนิเมะ
ตัวอย่างภาพจริงแปลงเป็นภาพอนิเมะด้วย AI จาก The 1

 

“สายผลิต” เรียกร้องให้หยุดสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม หลังกระแสฮิตเกิดขึ้น 3-4 วัน เริ่มมีเสียงโต้กลับจากฝั่ง “สายผลิต” หรือ กลุ่มนักวาดการ์ตูน-อนิเมะออกมามากขึ้น โดยโพสต์ที่ถูกโจมตีมากที่สุดเกิดขึ้นกับเพจของ “คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” ซึ่งนำภาพบรรยากาศในคณะมาใช้ Loopsie แปลงเป็นภาพอนิเมะ และเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566

โพสต์ต้นทางดราม่าจากคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร

โพสต์นี้ปลุกกระแสโจมตีให้ลุกโชนขึ้นมา เพราะในกลุ่มนักวาด/ศิลปินทั้งหลายมีความเห็นเป็นปฏิปักษ์กับเทคโนโลยี AI หรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง เนื่องจากการเทรน AI ให้วาดภาพขึ้นมาได้นั้นต้องมีการป้อนข้อมูลภาพวาดเข้าไปจำนวนมาก และที่ผ่านมาแอปฯ ในลักษณะเดียวกันนี้มักจะดึงภาพที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตไปใช้ฝึก AI และนำไปเป็นส่วนประกอบสร้างภาพชิ้นใหม่ โดยไม่มีการขออนุญาตเจ้าของภาพ และไม่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ในการนำบางส่วนของภาพไปใช้

สุดท้ายเมื่อ AI เก่งกาจพอที่จะวาดภาพอัตโนมัติได้ เทคโนโลยีเหล่านี้จะมากลืนกินอาชีพของนักวาดไปโดยปริยาย เพราะสามารถทำงานให้ลูกค้าได้เร็วกว่า ถูกกว่า และไม่มีขีดจำกัดทางร่างกายเหมือนมนุษย์

โพสต์ของคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร จึงทำให้กลุ่มศิลปินโกรธเคืองที่สถาบันการศึกษาด้านศิลปะโดยเฉพาะไม่ช่วยปกป้องวงการ และกลายเป็นเรื่องกระเพื่อมในสังคมบางส่วน

อย่างไรก็ตาม 2 วันต่อมา ทาง ผศ.ดร.วิชญ มุกดามณี คณบดีคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร มีแถลงการณ์ถึงกรณีดราม่าที่เกิดขึ้นว่า ตนเป็นผู้อนุมัติโพสต์เอง และมองว่าวงการศิลปะไม่สามารถปฏิเสธ AI ได้ วงการน่าจะเรียนรู้ความเป็นไปได้ที่ศิลปะจะได้รับประโยชน์จาก AI (อ่านแถลงการณ์จากคณบดีคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากรได้ที่นี่)

 

KFC – Sprinkle เกาะกระแสแต่ขอพลิกมุม!

กลับมาที่วงการแบรนด์และการตลาดอีกครั้ง มีบางแบรนด์เหมือนกันที่เลือกเกาะกระแสแต่ไม่ใช่การเข้าร่วมโดยตรง หลังจากเกิดดราม่าในแวดวงสายผลิตขึ้น

หนึ่งในแบรนด์ที่ ‘วิน’ ที่สุดจากกระแสนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นแบรนด์ที่ตามเทรนด์รวดเร็วอยู่เสมออย่าง “KFC”

KFC AI อนิเมะ
โพสต์แหวกกระแสภาพอนิเมะเป๊ะๆ ด้วยภาพวาดน่องไก่จาก KFC

KFC โพสต์ภาพวาดน่องไก่ 1 ชิ้นแบบวาดขึ้นเอง และเป็นการ(จงใจ)วาดลวกๆ ให้ดูคล้ายผลงานจากคนวาดรูปไม่เก่ง พร้อมแคปชันว่า POV แอดที่อยากเล่นเทรนด์ AI แต่ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ ก็ขอวาดเองละกัน / แกว่าจะโดนมั้ยอะ เหมือนจัดเลยยย” ถือเป็นการแหวกกระแสที่เต็มไปด้วยภาพอนิเมะสุดเป๊ะจาก AI

ภาพน่องไก่ KFC นี้ได้รับการแชร์ไปมากกว่า 3,100 ครั้ง พร้อมด้วยความคิดเห็นเฮฮาแวะมาแซวภาพวาด และความเห็นชื่นชมที่ KFC ตระหนักถึงเรื่องลิขสิทธิ์เป็นสำคัญ

อนิเมะ AI Sprinkle
Sprinkle ได้โอกาสนำโฆษณาอนิเมชันที่ทำไว้ 2 ปีก่อนมาโปรโมตใหม่

ส่วนอีกแบรนด์ที่มาช้าแต่มาวิน คือ “น้ำดื่ม Sprinkle” ซึ่งเพิ่งจะตามกระแสเมื่อ 2 วันก่อน แต่มาด้วยการโพสต์ภาพจากหนังโฆษณาของแบรนด์ที่ทำขึ้นเมื่อปี 2564 ซึ่งเป็นโฆษณาอนิเมชัน พร้อมกับแคปชันว่า เห็นเพื่อน ๆ เปลี่ยนภาพต่าง ๆ เป็นแนวอนิเมะด้วย app กันเยอะ Sprinkle เองก็อยากมีส่วนร่วมบ้าง แต่เราไม่ได้ใช้ app หรือ ai นะครับ เป็นงานโฆษณา original ที่ใช้คนวาด ทำไว้เมื่อปี 2021 ถือโอกาสนี้ขอร่วมสนุกกับเพื่อน ๆ ไปด้วยกันเลยย”

เช่นเดียวกับโพสต์ของ KFC คือ ความคิดเห็นเป็นไปในทางชื่นชมที่แบรนด์สนับสนุนศิลปินตัวจริงในการสร้างผลงาน และทำให้โพสต์มียอดแชร์ไปกว่า 1,100 ครั้ง ส่วนโฆษณาอนิเมชันชุด “Refresh your life” ของ Sprinkle ที่ลงใน YouTube ไว้ตั้งแต่ 2 ปีก่อน ปัจจุบันมียอดเข้าชม 3.8 ล้านครั้ง

เห็นได้ว่าท่ามกลางกระแสที่ไหลตามกันในโลกโซเชียล บางครั้งการหยุดรอดูท่าทีของกระแสสังคมและเลือกมุมมองที่แตกต่างในการเกาะเทรนด์ อาจจะเป็นวิธีที่ทำให้แบรนด์โดดเด่นได้มากกว่าเหมือนกัน!

]]>
1441684
เท็กซัส ชิคเก้น เปิดศึก เคเอฟซี ใช้ “ไวรัล” เกาะกระแสโซเชียล ชิงแชร์ไก่ทอด https://positioningmag.com/1151190 Thu, 21 Dec 2017 04:00:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151190 บันเทิงกันใหญ่ สำหรับตลาด “ไก่ทอด” มูลค่า 14,000 ล้านบาท เมื่อเบอร์ อย่าง KFC และผู้ท้าชิงอย่าง “Texas Chicken” ต่างงัดไวรัล มาร์เก็ตติ้งมาสู้กันอย่างสนุกสนานรับ “เทศกาลปีใหม่” เพื่อเอาใจผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย “ครอบครัว” รวมไปถึงคนรุ่นใหม่เต็มขั้น

วิดีโอที่ปล่อยออกมา ต่างฝ่ายต่าง “เล่นคำ” ชิค ๆ เก๋ ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย เคเอฟซี บอกว่าเก่าไปไก่มา! เลยส่งไก่กรี๊ด..ติ้ง (Chicken’s Greetings) หวังให้เป็นของขวัญ สำหรับผู้บริโภคที่เบื่อ “กระเช้าปีใหม่” แล้ว

ฝั่ง เท็กซัส ชิคเก้น ปล่อยแคมเปญ “สวัสดีปีใหญ่” กับไก่ใหญ่เวร่อร์ และไก่ใหญ่มว๊าก มาจัดลง “กระเช้าปีใหม่” ซึ่งเจตนาของแบรนด์นำการกิจกรรมมอบกระเช้าของสินค้าแบรนด์ดังมาล้อเลียนในฉากต่าง ๆ แต่กลับกลายเป็นความบังเอิญทางการแข่งขันที่ “เหน็บกันเบา ๆ” ระหว่าง แบรนด์

จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเท็กซัสใช้กลยุทธ์ me too ท้าชนคู่แข่งเบอร์ 1 ในตลาด อย่างเคเอฟซีซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการตลาดออนไลน์ ใช้แอดมินเพจสร้างสีสันและความฮาจนรับรู้กันไปทั่ว งานนี้เมื่อเจอคู่แข่งหน้าใหม่ใช้อาวุธเดียวกันมีหรือที่เคเอฟซีจะยอม

เคเอฟซี เป็นแบรนด์ระดับโลกที่เพิ่งปิดดีลการให้สิทธิ์ขยายสาขาแก่แฟรนไชซี ราย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล ไทยเบฟ และเรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเมนท์ ส่วนยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จะทำหน้าที่ดูแลและบริหารแบรนด์ต่อไป เท่ากับว่า มีคู่ค้า 3 ราย ระดับบิ๊ก มาช่วยลงทุนขยายสาขา ส่วนเคเอฟซีก็ทำหน้าที่ควบคุมแบรนด์ ทำตลาดและออกเมนูใหม่ ๆ  ซึ่งจากนี้ไปยังต้องจับตาดูว่าจะเห็นอะไรใหม่ ๆ จากไก่ทอดเบอร์ แบรนด์นี้บ้าง

ขณะที่ผู้ท้าชิง “เท็กซัส ชิคเก้น” ธรรมดาซะที่ไหน เพราะตัวแทนแฟรนไชส์ (Master Franchise) คือบริษัทพลังงานแห่งชาติของไทยอย่าง “ปตท.” มีทั้งทุนหนา และเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน (ปั๊ม) เอื้อต่อการขยายสาขาและพร้อมซัพพอร์ตการแจ้งเกิดธุรกิจเต็มที่ และต้องการสปีดธุรกิจ “ไก่ทอด” ให้ขึ้นเบอร์ ของกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร จากปัจจุบันพอร์ตโฟลิโออาหารมีโดนัท แบรนด์ “แด๊ดดี้ โด” และ “ฮั่วเซ่งฮง”

ปตท.มีธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil) ที่เป็นหัวหอกในการทำรายได้เบอร์ คือ คาเฟ่อเมซอน ตามด้วยร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ และเท็กซัส ชิคเก้น มีร้านให้บริการ 12 สาขาในศูนย์การค้าและปั๊มน้ำมัน จำนวนสาขายังห่างชั้นเคเอฟซีอยู่มาก เพราะมีร้านกว่า 600 สาขาทั่วประเทศ

ข้อได้เปรียบ เท็กซัส ชิคเก้นในเรื่อง “ทำเล” โดยเฉพาะปั๊มน้ำมัน ปตท. มีสาขากว่า 1,530 แห่งทั่วประเทศ และยังขยายออกนอกปั๊มตามทำเลในเมือง แต่แต่คงต้องรอดูว่าโมเดลแฟรนไชส์ที่ ปตท.จะเคาะออกมาเป็นแบบไหน เพื่อสปีดการเปิดสาขาร้านไก่ทอดในปั๊ม เพราะปัจจุบันเคเอฟซีก็มีสาขาให้บริการในปั๊มของ ปตท.เช่นกัน

สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดของเท็กซัส ชิคเก้น เมนูอาหารมีให้เลือกระดับหนึ่งทั้งไก่ทอดชุดต่าง ๆ เฟรนช์ฟรายส์ เบอร์เกอร์ ไอศกรีม และเมนูท้องถิ่น (Local) รสชาติไทย ๆ คล้ายกับผู้นำ แต่ความหลากหลายยังน้อยกว่ามาก  แต่ใช้เรื่อง ขนาด และความคุ้มค่า และทำ โปรโมชั่นก็มีออกมาต่อเนื่อง ทุกเทศกาลสำคัญ แต่จะพิเศษมากขึ้นหน่อยสำหรับลูกค้าของ ปตท.ที่ถือบัตร PTT Blue Card จะได้รับสิทธิ์แลกซื้อสินค้าราคาพิเศษ เป็นการ “ซีนเนอร์ยี” เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ

ยุคนี้พลาดไม่ได้คือการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งรู้กันดีว่า “แอดมินเคเอฟซี” นั้นมีลีลาการสื่อสารกับผู้บริโภคบนโซเชียลชนิดหาตัวจับยาก ทำให้ เท็กซัส ชิคเก้น น้องใหม่ ที่หวังจะแจ้งเกิด โดยใช้วิธีเดียวกันปลุกแบรนด์สร้างสีสัน พาแบรนด์เข้าไปอยู่ใน “กระแส” เช่น ช้อปช่วยชาติ, หวยออก, วลีฮิตชุดใหญ่ไก่กะพริบ ปล่อยมุกมาสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคได้น่าสนใจทีเดียว

แต่ใช่ว่าการทำตลาดจะราบรื่น เพราะขึ้นชื่อว่า “ของกิน” นอกจากรสชาติต้องถูกปาก คุณภาพของอาหารเป็นสิ่งสำคัญ จะเห็นได้บนแฟนเฟจของแบรนด์ มีเสียงติติง “มาตรฐาน” ของไก่ทอดอยู่ และเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องนำไปปรับปรุงเพื่อลดปัญหา (Pain point) ที่เกิดขึ้นให้ได้

ปีของเท็กซัส ชิคเก้นในไทย ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ ขณะที่เคเอฟซีอยู่มา 30 ปี มีฐานผู้บริโภคแค่วัดจากแฟนเพจเฟซบุ๊กมากกว่า 48 ล้านคน การเป็นผู้ท้าชิงครั้งนี้ แบรนด์รองคงต้องใช้พละกำลังมากหน่อยเพื่อขยับเข้าใกล้ผู้นำมากยิ่งขึ้น

]]>
1151190